• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ขั้นตอนการขับเคลื่อนความเป็นหนึ่งเดียวกัน : กรณีศึกษา ชุมชนธรณีคำ แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร

by อภิชาติ สุขแสง

Title:

ขั้นตอนการขับเคลื่อนความเป็นหนึ่งเดียวกัน : กรณีศึกษา ชุมชนธรณีคำ แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร

Other title(s):

Harmony driving steps : a case study of Thoranikham Community in Khok Fad Sub-District of Nong Chok District in Bangkok

Author(s):

อภิชาติ สุขแสง

Advisor:

สุพรรณี ไชยอำพร, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

การบริหารการพัฒนาสังคม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2012

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การวิจัยน้ีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความหมาย ลักษณะ/องค์ประกอบ ขั้นตอนการ ขับเคลื่อนความเป็นหนึ่งเดียวกนของชุมชน การสนับสนุนของภาคส่วนต่างๆ ปัญหาอุปสรรค รวมถึงข้อเสนอแนะที่จะเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนความเป็นหนึ่งเดียวกัน วิธีการวิจัยดำเนิน ตามแนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ ทําการรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก (Interview Guide) กับผู้ให้ข้อมูลที่สําคัญ ควบคู่ไปกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วม เนื่องจากอาศัยแนวการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผู้ศึกษาจึงทำการวิเคราะห์ ข้อมูลไปพร้อมกับการเก็บข้อมูล โดยนำข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก สัมภาษณ์อย่างไม่เป็น ทางการ และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม จากน้ันจึงนําข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ มาจำแนกเป็น หมวดหมู่ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้จากนั้นจึงนำมาวิเคราะห์ตามหลักตรรกะ (Logic) เทียบเคียง กับแนวคิด ทฤษฎีควบคู่บริบท (Context) ผลการศึกษา พบว่าความเป็นหนึ่งเดียวกันตามความเข้าใจของชุมชน หมายถึงการมีความ เชื่อร่วมกันปฏิบัติตามหลักของศาสนาอย่างเคร่งครัด ร่วมมือกัน ช่วยเหลือกันให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วม มีความเห็นพ้องไปในทิศทางเดียวกันเข้าใจกันเชื่อใจกันเอื้ออาทร เกื้อกูลต่อกัน มีความตระหนักในหน้าที่ทั้งของส่วนตน และส่วนรวม ลักษณะของความเป็นหนึ่งเดียวกันของชุมชนธรณีคําจะมีความโดดเด่นในเรื่องของความ เชื่อร่วมกันซึ่งก็คือความเชื่อทางศาสนา สมาชิกจะนำหลักการของศาสนามาใช้เป็นแนวทางในการ ดำเนินชีวิต ทั้งในระดับปัจเจกบุคคลระดับครอบครัว และระดับสังคม ยึดมั่นในขนบธรรมเนียม ประเพณีของชุมชนอย่างเคร่งครัด มีความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน พึ่งพาอาศัยกันให้ความสำคัญต่อการ มีส่วนร่วม มีศีลธรรมตามหลักของศาสนาอิสลาม ใช้หลักการประนีประนอมในการแก้ปัญหาและ มองว่าสมาชิกในชุมชนมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันด้านองค์ประกอบของความเป็นหนึ่งเดียวกัน พบว่าชุมชนธรณีคํา มีองค์ประกอบของความเป็นหนึ่งเดียวกันอยู่ 5 องค์ประกอบด้วยกันคือความคลายคลึงกันของสมาชิก มีเป้าหมาย ร่วมกันการทำหน้าที่อย่างมีจิตสํานึก มีการปฏิสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง และการมีส่วนร่วมของ สมาชิก ในส่วนของขั้นตอนการขับเคลื่อนความเป็นหนึ่งเดียวกัน ชุมชนจะใช้สถานศึกษาศาสนา ครอบครัวและชุมชน เขามาเป็นเครื่องมือในการขัดเกลาความคิด และความรู้สึกของสมาชิกให้เกิด ความต้องการที่จะเป็นหนึ่งเดียวกัน ได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมอย่างเสมอภาคในทุก ขั้นตอน และยังให้ความสําคญกับการศึกษา โดยการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชนขึ้นเพื่อให้สมาชิกได้ ร่วมคิด ร่วมทํา ร่วมเรียนรู้จนเกิดเป็นกลุ่มอาชีพเกิดขึ้น ซึ่งตรงจุดนี้ก็สามารถสร้างรายได้ให้ กับสมาชิก และยังเป็นประโยชน์กับสังคมอีกด้วย จากการที่สมาชิกได้ผ่านการเรียนรู้และได้รับ ประโยชน์จากการพัฒนาที่เกิดขึ้น จิตสำนึกร่วมของคนในชุมชนกันมากขึ้นตามไปด้วย ปัญหาหลักของการขับเคลื่อนความเป็นหนึ่งเดียวกัน มี 2 ด้านคือ ด้านบุคคลและ ด้านการ ดําเนินการโดยปัญหาในด้านบุคคลมี 3 ประเด็นย่อยคือ ปัญหาความขัดแย้งระหว่างบุคคล ปัญหา การเห็นแก่พวกพ้องและประโยชน์ส่วนตน และปัญหาการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนในชุมชน ส่วนปัญหาด้านการดำเนินการคือการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่เพียงพอขาดความ ต่อเนื่องและชุมชนไม่มีการรวมกลุ่มที่ถาวร สําหรับข้อเสนอแนะจากการศึกษา สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเด็น คือ ประเด็นแรกเป็นจะ เป็นข้อเสนอแนะเกี่ยวกับชุมชน ในเรื่องของการรับผิดชอบในบทบาทของตนเอง และ กำหนดแนวทางการพัฒนาชุมชนร่วมกันโดยที่ทุกคนควรเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน ประเด็นที่สอง เป็นขอเสนอแนะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเข้ามามีส่วนร่วมกับชุมชนมากขึ้น สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงานและชาวชุมชน รับทราบถึงปัญหา เป็นที่ปรึกษาให้ชุมชน เพื่อให้เกิดความร่วมมือที่ดีและตอบสนองความต้องการของชุมชนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

Description:

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2012

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

121 แผ่น ; 30 ซม.

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2086
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b178841.pdf ( 3,589.09 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [559]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×