คุณภาพชีวิตผู้อยู่อาศัยในชุมชนของการเคหะแห่งชาติในเขตกรุงเทพมหานคร : ศึกษากรณีโครงการเคหะชุมชนทุ่งสองห้องอาคารแฟลตเช่า
Publisher
Issued Date
2011
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
13, 152 แผ่น ; 30 ซม.
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
จักรพงษ์ เกเย็น (2011). คุณภาพชีวิตผู้อยู่อาศัยในชุมชนของการเคหะแห่งชาติในเขตกรุงเทพมหานคร : ศึกษากรณีโครงการเคหะชุมชนทุ่งสองห้องอาคารแฟลตเช่า. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2089.
Title
คุณภาพชีวิตผู้อยู่อาศัยในชุมชนของการเคหะแห่งชาติในเขตกรุงเทพมหานคร : ศึกษากรณีโครงการเคหะชุมชนทุ่งสองห้องอาคารแฟลตเช่า
Alternative Title(s)
Quality of life of people in community of National Housing Authority in Bangkok : a case study of Tong Song Hong Housing Community Project, Flat for Rent
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตและศึกษาปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในชุมชนของการเคหะแห่งชาติ โดยใช้วิธีการศึกษา ตามแนวทางวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้อยู่อาศัยในโครงการเคหะชุมชนทุ่งสองห้อง อาคารแฟลตเช่า จํานวน 310 หน่วย (ครัวเรือน) ผลการศึกษา พบว่า ผู้อยู่อาศัยในโครงการเคหะชุมชนทุ่งสองห้อง อาคารแฟลตเช่า มี คุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.11) สําหรับผลการศึกษาคุณภาพ ชีวิตรายด้าน พบว่า คุณภาพชีวิตใน 3 ด้าน ได้แก่ คุณภาพชีวิตด้านร่างกาย คุณภาพชีวิตด้าน จิตใจ และคุณภาพชีวิตด้านความสัมพันธ์ทางสังคม อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.65, 3.47, 3.14 ตามลําดับ) มีเพียงคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อมเพียงด้านเดียวที่อยู่ในระดับ ไม่ดี (ค่าเฉลียเท่ากับ 2.31) สําหรับการศึกษาตัวแปรอิสระที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัย ด้านข้อมูลพื้นฐาน ปัจจัยด้านสัมพันธภาพในครอบครัว และปัจจัยด้านการสนับสนุนทางสังคม โดยมีตัวแปรอิสระทั้งหมด 19 ตัวแปร พบว่า มีตัวแปรอิสระ 9 ตัวแปรมีความสัมพันธ์กับ คุณภาพชีวิต ดังนี้ ระดับการศึกษาและการสนับสนุนทางสังคมจากสมาชิกครอบครัว มี ความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพชีวิตในระดับปานกลาง และส่วนของ รายได้รวมครัวเรือน การ มีกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว การมีความรัก ความเคารพ และนับถือต่อกัน การมีส่วนร่วมใน การปรึกษาหรือตัดสินใจเรื่องสําคัญของครอบครัว การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขและแก้ปญหาขัดแย้งด้วยเหตุผล การสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อน/เพื่อนบ้าน และการสนับสนุนทางสังคม จากญาติ/พี่น้อง มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพชีวิตในระดับต่ำ สําหรับการอธิบายความผันแปรของคุณภาพชีวิตพบว่า การสนับสนุนทางสังคมจาก ครอบครัว ระดับการศึกษา และรายได้รวมครัวเรือนสามารถร่วมอธิบายความผันแปรของ คุณภาพชีวิตได้ร้อยละ 17.1
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2011