• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความครอบคลุมทางสังคม (Social Inclusion) ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร

by ทิพย์ปริญญ์ ปัญญามี

Title:

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความครอบคลุมทางสังคม (Social Inclusion) ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร

Other title(s):

Factors related to the social inclusion of people in Bangkok Metropolitan Administration

Author(s):

ทิพย์ปริญญ์ ปัญญามี

Advisor:

สุรสิทธิ์ วชิรขจร, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

การบริหารการพัฒนาสังคม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2012

Digital Object Identifier (DOI):

10.14457/NIDA.the.2012.48

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาครั้งนมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ความครอบคลุมทางสังคมของ ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาปัจจยที่มีความสัมพันธ์กับความครอบคลุมทางสังคม ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร วิธีการศึกษาในครั้งนี้เป็นวิธีการวิจัยเชิงปริมาณโดยแบบสอบถามคุณภาพทางสังคมของประชากรไทย . 2552 (Standard Questionnaire for Social Quality: SQSQ) ซึ่งมีข้อคำถามที่เกี่ยวของในมิติความครอบคลุมทางสังคม (Social Inclusion) การเลือกตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ทํา การเลือกจากประชากรอายุ 18 ปี ขึนไปที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครจำนวน 1,000 ตัวอย่าง จำนวน 6 เขตได้แก่เขตพญาไท เขตสวนหลวง เขตบางเขน เขตบึงกุ่ม เขตบางพลัดและเขตภาษีเจริญ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน(Multi-stage Random Sampling) ทั้งสิ้น 1,000 คน สถิติที่ใชในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) และการวเคราะห์ หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเพื่อทดสอบสมมตฐานใช้สถิติไคสแควร์ (Chi-square Test) ผลการศึกษาพบว่า 1) ข้อมูลพื้นฐานพบว่าประชาชนสวนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุ 60 ปี ขึ้นไป 30-39 ปี 40-49 ปี 18-29 ปีและ 50-59 ปีตามลำดับมีระดับการศึกษาโดยจบประถมศึกษาหรือต่ำกวํ่าประถมศึกษานับถือ ศาสนาพุทธสถานภาพสมรสแล้วสุขภาพดีมีภาวะความสุขในชีวิตมีความเต็มใจในการบริจาคเงิน ร้อยละ 10 ของรายได้และความคาดหวังในการได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลในระดับมาก 2) ข้อมูลด้านความครอบคลุมทางสังคม พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ไม่มีประสบการณ์การถูกแบ่งแยกทางสังคมในเรื่องสถานภาพทางสังคม ไม่เห็นด้วยในการให้สิทธิกับผู้อพยพให้มาเป็นผู้นําทางการเมืองหรือผู้บริหารประเทศและเห็นด้วยที่ควรให้โอกาสนักเรียนไทยก่อน นักเรียนอพยพในเรื่องการศึกษา รวมไปถึงมีความเห็นเฉย ๆ ที่ผู้ชายเป็นผู้นําทางการเมืองมากกว่า ผู้หญิงและประชาชนได้รับการยอมรับในการกู้เงินจากธนาคารหรือสถาบันทางการเงิน 3) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ (1) สิทธิพลเมือง ได้แก่ สถานภาพสมรส (2) การถูกแบ่งแยกทางสังคมในเรื่องสถานภาพทางสังคม ได้แก่ภาวะความสุขในชีวิต และความความคาดหวังในการได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาล (3) การขึ้นเป็นผู้นําทางการเมืองของผู้อพยพเข้าประเทศ ได้แก่ สถานภาพสมรส สุขภาพ ความเต็มใจในการบริจาคเงินร้อยละ 10 และความคาดหวังในการได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาล (4) การศึกษาของนักเรียนอพยพในประเทศไทยได้แก่ความเต็มใจในการบริจาคเงินร้อยละ 10 และความคาดหวังในการได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาล (5) การเป็นผู้นําทางการเมืองของเพศหญิงได้แก่ เพศศาสนาความเต็มใจในการบริจาคเงินร้อยละ 10 และความคาดหวงในการได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาล (6) การได้รับการยอมรับในการบริการจากธนาคารหรือ สถาบันทางการเงิน ได้แก่อายุสถานภาพสมรส สุขภาพ ภาวะความสุขในชีวิต ความเต็มใจในการบริจาค เงินร้อยละ 10 และความคาดหวังในการได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษา ภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ควรให้ความสำคัญกับระบบการศึกษา อาทิเรื่องการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่สมควรได้รับตามกฎหมาย ทั้งยังควรมีแนวทางในการสนับสนุน ส่งเสริม และปลูกฝังจิตสำนึกจากสถาบันครอบครัวเรื่องการรู้จัก หน้าที่ของตน และเคารพความเสมอภาคของบุคคลอื่นในสังคม ทั้งยังควรมีการบริหารจัดการในเรื่อง การใช้บริการสาธารณะประโยชน์ต่าง ๆ อาทิเช่น การกู้เงิน การขนส่งสาธารณะให้เกิดประสิทธิภาพ นอกจากนั้นควรมีการกำหนดนโยบายที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเพื่อใหเกิดความ มั่นคงในการพัฒนาประเทศสืบไป

Description:

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2012

Subject(s):

การวิเคราะห์ทางสังคม
การยอมรับทางสังคม
เครื่องชี้สภาวะสังคม

Keyword(s):

ความครอบคลุมทางสังคม

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

217 แผ่น ; 30 ซม.

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2098
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b179254.pdf ( 4,763.81 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [555]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×