• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวกับความฉลาดทางการเมืองของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรี

by ไพรินทร์ ขัดธิพงษ์

Title:

ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวกับความฉลาดทางการเมืองของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรี

Other title(s):

Psychosocial correlates of optimistic view of politics among university students

Author(s):

ไพรินทร์ ขัดธิพงษ์

Advisor:

ดุจเดือน พันธุมนาวิน

Degree name:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

พัฒนาสังคม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2010

Digital Object Identifier (DOI):

10.14457/NIDA.the.2010.31

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าจิตลักษณะและสถานการณ์มีความเกี่ยวข้อง และมีอิทธิพลต่อความฉลาดทางการเมืองของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรีมากน้อยเพียงใด เพราะ สาเหตุใดบ้าง กรอบแนวคิดในการวิจัยมีพื้นฐานมาจากรูปแบบทฤษฎีปฏิสัมพันธ์นิยม ตลอดจน ทฤษฎีและหลักการที่สําคัญทางจิตวิทยาทั้งในประเทศ เช่น ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม และ ต่างประเทศ เช่น หลักของแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การสนับสนุนทางสังคม และลักษณะชาตินิยม เป็นต้น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาในระดับปริญญาตรีปีที่ 3 จํานวน 474 คน แบ่งเป็นนักศึกษาชาย 172 คน (ร้อยละ 36.3) และนักศึกษาหญิง 302 คน (ร้อยละ 63.7) มีอายุเฉลี่ย 21 ปีจาก มหาวิทยาลัยในเขตภาคกลางและเขตภาคเหนือซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งขั้นกําหนดโควต้า ตัวแปรในงานวิจัยนี้ประกอบด้วย 1) กลุ่มความฉลาดทางการเมือง 3 ตัวแปร คือ การรู้ ปัญหาด้านการเมือง พฤติกรรมการเลือกตั้งอย่างมีจริยธรรม พฤติกรรมการสนับสนุนให้เพื่อน ฉลาดทางการเมือง 2) กลุ่มจิตลักษณะตามสถานการณ์ 3 ตัวแปร ได้แก่ การรับรู้ข่าวสารทาง การเมืองจากสื่อ การรับรู้คุณความดีของแผ่นดิน และลักษณะชาตินิยม 3) กลุ่มจิตลักษณะเดิม 6 ตัวแปร ได้แก่ ลักษณะมุ่งอนาคต การควบคุมตน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ สุขภาพจิตดีกลุ่มนิยม และ วัตถุนิยม 4) กลุ่มตัวแปรสถานการณ์ 3 ตัวแปร ได้แก่ ปริมาณการเรียนสังคมศาสตร์การเห็น แบบอย่างที่ดีจากครอบครัว และการรับรู้ปทัสถานจากสถานศึกษา และ 5) กลุ่มตัวแปรชีวสังคม ภูมิหลัง แบบวัดส่วนใหญ่เป็นแบบวัดชนิดมาตรประเมินรวมค่ามีค่าความเชื่อมกันระหว่าง .63 ถึง .92 มีการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐาน 6 ข้อ ทั้งในกลุ่มรวม และ 18 กลุ่มย่อย ผลการวิจัยที่สําคัญ มีดังนี้ ประการแรก ตัวทํานายทั้งหมดรวม 12 ตัวแปร สามารถทํานาย 1) การรู้ปัญหาด้านการเมือง ในกลุ่มรวมทํานายได้ 10.4% มีตัวทํานายที่สําคัญ คือ การควบคุม ตนลักษณะชาตินิยมและสุขภาพจิตและทำนายได้สูงสดในกลุ่มนักศึกษาทางด้าน วิทยาศาสตร์ 17.4% 2) พฤติกรรมการเลือกตั้งอย่างมีจริยธรรมในกลุ่มร่วมทำนายได้ 38.1% โดย มีตัวทานายที่สําคัญคือลักษณะชาตินิยมการรับรู้คุณความดีของแผ่นดินการเห็นแบบอย่างที่ดี จากครอบครัวการควบคุมตนการรับรู้ปทัสถานจากสถานศึกษาและลักษณะมุ่งอนาคตและ ทํานายได้สูงสดในกลุ่มนักศึกษาชาย 48.5% และ 3) พฤติกรรมการสนบัสนุนให้เพื่อนฉลาดทาง การเมืองในกลุ่มร่วมทำนายได้ 57.8% โดยมีตัวทำนายที่สําคัญคือการรับรู้ข่าวสารทางการเมือง จากสื่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธลักษณะชาตินิยมวัตถุนิยมและกลุ่มนิยมและทำนายได้สูงสดในกลุ่ม นักศึกษาที่พอมีการศึกษาน้อย 64.2% ประการทสองจากผลการวิเคราะห์อิทธิพลเชิงเส้นปรากฏว่า 1) การรู้ปัญหาด้านการเมือง ได้รับอิทธิพลทางมาจากการควบคมต้นสุขภาพจิตลักษณะชาตินิยมลักษณะมุ่งอนาคตการ รับรู้ปทัสถานจากสถานศึกษาและการรับรู้คุณความดีของแผ่นดิน (ค่าสมประสิทธิ์อิทธพลเท่ากับ .13,.13,.10,.07,.06, และ.06 ตามลำดับ) โดยอธิบายความแปรปรวนได้ 9% 2) พฤติกรรมการ เลือกตั้งอย่างมีจริยธรรมได้รับอิทธพลทางตรงจากลักษณะชาตินิยมการเห็นแบบอย่างที่ดีจาก ครอบครัว การรับรู้คุณความดัของแผ่นดินการรับรู้ปทัสถานจากสถานศึกษาการควบคุมตนลักษณะ มุ่งอนาคตและแรงจูงใจสัมฤทธิ์ (ค่าสมประสิทธิ์อิทธพลเท่ากับ .18,.16,.16,.14,.12,.11, และ .06 ตามลำดับ) โดยอธิบายความแปรปรวนได้ 37% และ 3) พฤติกรรมสนับสนุนให้เพื่อนฉลาดทาง การเมืองได้รับอิทธิพลทางตรงจากการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองจากสื่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์กลุ่มนิยมวัตถุนิยมลักษณะชาตินิยมลักษณะมุ่งอนาคตการรับรู้คุณความดีแผ่นดินและการควบคุมตน ค่า สัมประสทธิ์อิทธพลเท่ากับ .69,.12,.08,.08,.08,-.06,.06 และ .05ตามลาดับ) โดยอธิบายความ แปรปรวนได้ 57% ประการสุดท้ายนักศึกษาที่เป็นกลุ่มเสียงเร่งด่วนที่ควรได้รับการพัฒนาโดยกลุ่มที่สําคัญ คือ นักศึกษาที่แม่มีอาชีพรายได้มั่นคงน้อยนักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยน้อยนักศึกษาหญิงนักศึกษา ทางด้านวิทยาศาสตร์นักศึกษาทางด้านสังคมศาสตร์ที่แม่มีอาชีพรายได้มั่นคงมากนักศึกษาที่แม่ การศึกษามากที่พ่อมีอาชีพรายได้มั่นคงมากและนักศึกษาที่พ่อมีอาชีพรายได้มั่นคงน้อยที่แม่มี การศึกษาน้อยโดยควรได้รับการพัฒนาลักษณะชาตินิยมการควบคุมตนการรับรู้ข่าวสารทาง การเมืองจากสื่อและการรับรู้คุณความดูของแผ่นดินและงานวิจัยในอนาคตควรเพิ่มตัวแปรอื่น ที่อาจเกี่ยวข้องกับความฉลาดทางการเมืองของนักศึกษาเช่นเอกลักษณ์แห่งอีโก้และความเชื่อ อํานาจในตนด้านการเมืองเปนต้น

Description:

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2010

Subject(s):

จิตวิทยาสังคม
จิตวิทยาการเมือง

Keyword(s):

ความฉลาดทางการเมือง
จิตลักษณะ

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

254 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2118
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b168726.pdf ( 3.60 MB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [559]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×