ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับความฉลาดคบเพื่อนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
by วรรณลดา กันต์โฉม
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับความฉลาดคบเพื่อนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Psychosocial correlates of smart peer-choice of junior highschool students |
ผู้แต่ง: | วรรณลดา กันต์โฉม |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | ดุจเดือน พันธุมนาวิน |
ชื่อปริญญา: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Master's |
สาขาวิชา: | พัฒนาสังคม |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2553 |
ตัวระบุวัตถุจิจิทัล (ดีโอไอ): | 10.14457/NIDA.the.2010.36 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าจิตลักษณะและสถานการณ์มีความเกี่ยวข้องและ มีอิทธพลทางตรงและทางอ้อมต่อความฉลาดคบเพื่อนมากน้อยเพียงใด ในกลุ่มนักเรียนแต่ละ ประเภทและเพราะเหตุใด และเพื่อบ่งชี้นักเรียนที่มีความฉลาดคบเพื่อนน้อย รวมทั้งปัจจัยปกป้อง กรอบแนวคิดในการวิจัยมีพื้นฐานมาจากรูปแบบทฤษฎีปฏิสัมพันธ์นิยม ตลอดจนทฤษฎี และหลักการที่สําคัญทางจิตวิทยาทั้งในประเทศเช่นทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมและต่างประเทศเช่น ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญากลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จํานวน 684 จาก 3 โรงเรียนใน 3 จังหวัดแบ่งเป็นนักเรียนชาย 318 คน (46.5%) และนักเรียนหญิง 366 คน (53.5%) มีอายุเฉลี่ย 15 ปี และมีเกรดเฉลี่ย 3.01 ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งขั้นกำหนด โควต้า ตัวแปรในงานวิจัยนประกอบด้วย 1) ความฉลาดคบเพื่อน 2 ตัวแปรคือความชอบสี่ยง และการมีภูมิคุ้มกันการคบเพื่อน 2) จิตลักษณะตามสถานการณ์ 2 ตัวแปรได้แก่ทัศนคติที่ดีต่อ เพื่อนไม่ดี และความสามารถในการหลีกเลี่ยงเพื่อนที่ไม่ดี 3) จิตลักษณะเดิม 5 ตัวแปรได้แก่ สติปัญญาลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สุขภาพจิตดี และเอกลักษณ์แห่งอีโก้ 4) ลักษณะของสถานการณ์ 5 ตัวแปรได้แก่ การอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนและใช้เหตุผลการมี แบบอย่างที่ดีจากครอบครัวการอบรมุ่งสอนจากผู้ปกครองการมีแบบอย่างที่ดูจากสื่อและ ประสบการณ์ที่ไม่ดีเกี่ยวกับเพื่อนที่ไม่ดีและ5) ตัวแปรชั่วสังคมภูมิหลัง แบบวัดโดยส่วนใหญ่ในงานวิจัยนี้เป็นแบบวัดชนิดมาตรประเมินรวมค่าซึ่งมีการหา คุณภาพรายข้อของแบบวัดแต่ละชุดและทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันตลอดจนทำการหา ความเชื่อมั่นของแบบวัดแตละชุดซึ่งมีค่าระหว่าง .43 ถึง .87 ในงานวิจัยนี้มีสมุติฐานรวม 4 ข้อ ซึ่งข้อมูลถูกทดสอบด้วยสถิติหลายประเภททั้งในกลุ่มรวมและ 18 กลุ่มย่อย ผลการวิจัยที่สําคัญ 4 ประการได้แก ประการแรกนักเรียนที่มีลักษณะมุ่งอนาคตควบคุม ตนมากการอบรมเลี้ยงแบบรักสนับสนุนและใช้เหตุผลมากและความสามารถในการหลีกเลี่ยง เพื่อนที่ไม่ดีมาก เป็นผู้ที่มีความชอบเสี่ยงน้อยกว่านักเรียนที่มีลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนน้อย การอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนและใช้เหตุผลน้อยและความสามารถในการหลีกเลี่ยงเพื่อนที่ไม่ดีน้อยผลเช่นนี้พบในกลุ่มย่อยกลุ่มนักเรียนที่มีบิดามีการศึกษาน้อย ประการที่สอง ทำนายจิตลักษณะเดิม สถานการณ์และจิตลักษณะตามสถานการณ์ รวม 12 ตัวแปรสามารถทำนายในกลุ่มรวม 1) ความชอบเสียงน้อยได้ 29.8 % โดยมีตัวทำนายที่ สําคัญคือความสามารถในการหลีกเลี่ยงเพื่อนที่ไม่ดี ทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนที่ไม่ดี ลักษณะมุ่ง อนาคตควบคุมตน ประสบการณ์ที่ไม่ดีเกี่ยวกับเพื่อนที่ไม่ดี สุขภาพจิตดีและทำนายได้สูงสุดใน กลุ่มนักเรียนมีพี่น้องมาก 42.8% และ2) การมีภูมิคุ้มกันการคบเพื่อนได้ 47.5 % โดยมีตัวทำนายที่ สําคัญคือทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนที่ไม่ดี ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนสุขภาพจิตดี และการอบรมสั่ง สอนจากผู้ปกครองและทำนายได้สูงสดในกลุ่มนักเรียนมีพี่น้องมาก 53.0% ประการทสามจากผลการวิเคระห์อิทธพลเชิงเส้นปรากฏว่า ความชอบเสียงดีรับอทธพล ทางตรงจากตัวแปรเชิงเหตุคือ 1) ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน 2) สุขภาพจิตดีและ 3) ประสบการณ์ที่ไม่ดีเกี่ยวกับเพื่อนที่ไม่ดี (ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ.15,.11 และ.11 ตามลำดับ) โดยตัวแปรเชิงเหตุในโมเดลสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความชอบเสี่ยงได้ 28 % และการมีภูมิคุ้มกันการคบเพื่อนที่ไม่ดีได้รับอิทธิพลทางตรงจากตัวแปรเชิงเหตุคือ 1) ลักษณะมุ่ง อนาคตควบคุมตน 2) การอบรมสั่งสอนจากผู้ปกครองและ3) สุขภาพจิตดี (ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ.13, .09 และ -.07 ตามลำดับ) โดยตัวแปรเชิงเหตุในโมเดลสามารถร่วมกันอธิบายความ แปรปรวนของการมีภูมิคุ้มกันได้ 48 % ประการสุดทาย นักเรียนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเร่งด่วนที่ควรพัฒนาคือนักเรียนที่มีความฉลาด คบเพื่อนน้อยได้แก่นักเรียนหญิง และนักเรียนที่มีเกรดเฉลี่ยรวมมาก โดยกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ควร ได้รับการพัฒนาทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนที่ไม่ดีน้อยความสามารถในการหลีกเลี่ยงเพื่อนที่ไม่ดีลักษณะ มุ่งอนาคตควบคุมตนแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และสุขภาพจิต งานวิจัยในอนาคตควรมีการวิจัยเพื่อหาปัจจัยเชิงเหตุของความฉลาดคบเพื่อนที่ เฉพาะเจาะจงในนักเรียนหญิงและนักเรียนที่มีเกรดเฉลี่ยรวมมากตลอดจนอาจทำการวิจัยเชิง ทดลองเพื่อประเมินผลชุดฝึกอบรมเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีความฉลาดในการคบเพื่อนที่สร้างจาก ฐานในงานวิจัยนี้ |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2010 |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | จิตวิทยาสังคม |
คำสำคัญ: | จิตสังคม
การคบเพื่อน |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ความยาว: | 254 แผ่น |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2119 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|