• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ปัจจัยทางจิตสังคมที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ควบคู่คุณธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

by พระมหาจิรัตถกร อริโย (มะสุใส)

Title:

ปัจจัยทางจิตสังคมที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ควบคู่คุณธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

Other title(s):

Psychosocial factors that are related to the learning behavior coupled with morality of junior high school students in the Buddhist-style school program

Author(s):

พระมหาจิรัตถกร อริโย (มะสุใส)

Advisor:

สุวิชา เป้าอารีย์, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

พัฒนาสังคม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2011

Digital Object Identifier (DOI):

10.14457/NIDA.the.2011.40

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

เยาวชนถือได้ว่าเป็นกําลังสําคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า ทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของชาติในอนาคต เยาวชนที่มีคุณภาพ นอกจากจะต้องเป็นผู้ที่ มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีมีสติปัญญาดีแล้ว ยังต้องมีคุณธรรมจริยธรรมเป็นเครื่องยึด เหนียวจิตใจในการดําเนินชีวิตประจําวันด้วย ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้จึงมุ่งศึกษาปัจจัยทางจิตที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเรียนรู้ควบคู่คุณธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียน โครงการวิถีพุทธ โดยมีจุดมุ่งหมายในการศึกษาที่สําคัญ 2 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาว่านักเรียน ของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนวิถีพุทธจะมีพฤติกรรมการเรียนรู้ควบคู่คุณธรรมมากน้อย เพียงใด และอะไรคือปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมเหล่านั้น 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการพัฒนานักเรียนให้มีพฤติกรรมการเรียนรู้ควบคู่คุณธรรม การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม โดยมีตัว แปรอิสระ 3 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นกลุ่มจิตลักษณะเดิมมี 4 ตัวแปร คือแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ลักษณะ มุ่งอนาคตควบคุมตน ความเชื่ออํานาจในตน และทัศนคติที่ดีต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ควบคู่ คุณธรรม กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มสถานการณ์มี 3 ตัวแปร คือ การอบรมเลี้ยงดูแบบพุทธ การอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนและใช้เหตุผล และการเห็นแบบอย่างที่ดีจากเพื่อน และกลุ่ม สุดท้ายเป็นกลุ่มตัวแปรทางชีวสังคมภูมิหลังของนักเรียน ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตห้วยขวาง-ดินแดง ซึ่งได้แก่โรงเรียนประชาราษฎร์บําเพ็ญ โรงเรียนสามเสนนอก โรงเรียนวิชูทิศ และโรงเรียนอํานวย พิทยา จํานวน 480 คน ใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ลักษณะเบื้องต้นของกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย(Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)ส่วนสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ T-Test F-Test และ Pearson’s Product Moment Correlation ผลการศึกษาวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ด้านข้อมูลทั่วไป กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 57.3 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 13.9 ปีส่วนใหญ่ เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ร้อยละ 63.2 มีเกรดเฉลี่ยตั้งแต่ 3.00 ขึ้นไป 2. นักเรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้ควบคู่คุณธรรม อยู่ในระดับปานกลาง 3. ปัจจัยที่มีความแตกต่างกันต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ควบคู่คุณธรรมของนักเรียน ได้แก เพศ และเกรดเฉลี่ย 4. ปัจจัยที่ไม่มีความแตกต่างกันต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ควบคู่คุณธรรมของนักเรียน ได้แก่ อายุและระดับการศึกษา 5. ปัจจัยทางจิตทุกตัว คือแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน ความเชื่อ อํานาจในตน ทัศนคติที่ดีต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ควบคู่คุณธรรม การอบรมเลี้ยงดูแบบพุทธ การอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนและใช้เหตุผล และการเห็นแบบอย่างที่ดีจากเพื่อนมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการเรียนรู้ควบคู่คุณธรรมของนักเรียน

Description:

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (พัฒนาสังคม)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2011

Subject(s):

นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น -- พฤติกรรม
การเรียนรู้ทางสังคม

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

172 แผ่น ; 30 ซม.

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2122
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b171949.pdf ( 1.77 MB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [559]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×