• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการติดอินเทอร์เน็ตของวัยรุ่นตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร ศึกษากรณีมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

by นิติพงษ์ ศรีระพันธ์

Title:

ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการติดอินเทอร์เน็ตของวัยรุ่นตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร ศึกษากรณีมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

Other title(s):

Factors influencing the internet addiction behavior of late teenagers in Bangkok : a case study of Kasem Bundit University

Author(s):

นิติพงษ์ ศรีระพันธ์

Advisor:

วิชัย รูปขำดี, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

พัฒนาสังคม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2009

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาถึงระดับของพฤติกรรมการติดอินเทอร์เน็ต ของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 2) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการติด อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่นักศึกษาภาคปกติในมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต จํานวน 420 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน สถิติ Pearson Chi-square ผลการศึกษา พบว่า 1. นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่มีระดับของพฤติกรรมการใช้ตามปกติมีเพียง ส่วนน้อยราวร้อยละ 11.43 ที่มีพฤติกรรมในระดับติดอินเทอร์เน็ต โดยใช้อินเทอร์เน็ตที่บ้านหรือ หอพักเป็นส่วนมาก ในกลุ่มที่มีพฤติกรรมปกติใช้เวลากับอินเทอร์เน็ต วันธรรมดาเฉลี่ย 2 ชั่วโมง 14 นาที วันหยุด 3 ชั่วโมง 01 นาทีโดยใช้ในวัตถุประสงค์เพื่อความบันเทิง เช่น ดูหนัง ฟังเพลง หรือดาวน์โหลดข้อมูล เพื่อสนทนาติดต่อสัมพันธ์ทั่วไป และเพื่อเล่นเกมออนไลน์ และใช้ใน ช่วงเวลา 16.01-22.00 น. เป็นส่วนใหญ่ 2. จากการศึกษาพบว่านักศึกษาที่มีพฤติกรรมการติดอินเทอร์เน็ตมีการใช้เวลากับ อินเทอร์เน็ตโดยเฉลี่ยในวันธรรมดา 3 ชั่วโมง 28 นาทีซึ่งมากกว่ากลุ่มปกติ 1 ชั่วโมง 14 นาทีและ วันหยุด 4 ชั่วโมง 30 นาทีซึ่งมากกว่ากลุ่มปกติ 1 ชั่วโมง 29 นาที โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือการใช้เพื่อสนทนาติดต่อสัมพันธ์ทั่วไป และใช้ในช่วงเวลา 16.01-22.00 น. เป็นส่วนใหญ่เช่นเดียวกับ กลุ่มปกติโดยมีข้อสังเกตว่ากลุ่มนักศึกษาที่มีพฤติกรรมการติดอินเทอร์เน็ตนั้นก็ได้มีการใช้ใน วัตถุประสงค์เพื่อหาความรู้และเพื่อการศึกษาเล่าเรียนควบคู่กันไปด้วยเช่นกัน 3. ผลการทดสอบสมมติฐาน ปัจจัยที่มีความสัมพัน์กับระดับของพฤติกรรมการติด อินเทอร์เน็ตตามแต่ละวัตถุประสงค์ของการใช้อินเทอร์เน็ตด้วย Pearson Chi-square พบว่า เพศ ศาสนา ความสัมพันธ์กับครอบครัว ความสัมพันธ์กับเพื่อน การใช้เวลาว่าง / กิจกรรมในวัน ธรรมดา (จันทร-ศุกร์) ลักษณะในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต การรับรู้กฎระเบียบของ สังคมในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต มีความสัมพันธ์กับระดับของพฤติกรรมการติด อินเทอร์เน็ตอย่างมีนัยสําคัญทางสถิตที่่ 0.05 จากผลการศึกษาดังกล่าว มีข้อเสนอแนะดังนี้สถาบันครอบครัวและสถาบันการศึกษาควร ให้คําแนะนําที่ดีและเพียงพออย่างเอาใจใส่ในเรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตในทิศทางที่เกิดประโยชน์และเป็นการพัฒนาทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตได้เป็นอย่างดีสามารถนําไป ประยุกต์ใช้ต่อการทํางาน และการศึกษาภายในอนาคตได้ อีกทั้งการที่บคคลในครอบครัวได้เข้ามา มีส่วนร่วมต่อกิจกรรมในการใช้อินเทอร์เน็ตนั้นจะทําให้เกิดความสัมพันธ์ที่เพิ่มขึ้นระหว่างบุคคล ในครอบครัว และยังเป็นการป้องกันการใช้ในทางที่ไม่เหมาะสมและชักจูงให้สมาชิกได้รู้จักใช้ อินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์

Description:

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2009

Subject(s):

วัยรุ่น -- ไทย -- กรุงเทพฯ -- พฤติกรรม
ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต -- ไทย กรุงเทพฯ -- พฤติกรรม

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

16, 187 แผ่น ; 30 ซม.

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2123
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b162428.pdf ( 6,311.42 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [559]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×