ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของครัวเรือน : ศึกษากรณีจังหวัดลพบุรี
by กานดา เต๊ะขันหมาก
Title: | ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของครัวเรือน : ศึกษากรณีจังหวัดลพบุรี |
Other title(s): | Factors related to behavior of leading life in line with the Philosophy of Sufficiency Economy by households : the case study of Lopburi Province |
Author(s): | กานดา เต๊ะขันหมาก |
Advisor: | แตงอ่อน มั่นใจตน, อาจารย์ที่ปรึกษา |
Degree name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | ปริญญาโท |
Degree discipline: | พัฒนาสังคม |
Degree department: | คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2009 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาปัจจยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ ครัวเรือน: ศึกษากรณีจังหวดลพบุรีมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 2 ประการคือ 1) เพื่อศึกษา พฤติกรรมการดำเนนชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของครัวเรือนในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพยง ต้นแบบจังหวัดลพบุรีและ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามปรัชญา เศรษฐกิจพอพียงของครัวเรือนในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบจังหวัดลพบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแหล่งข้อมูลในการศึกษาประกอบด้วยข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์การสังเกตการณ์และข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ แบบมีโครงสร้างการเลือกพื้นที่แบบเจาะจงโดยเลือกอำเภอและชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ ขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบงหวัดลพบุรีจาก 11 หมู่บ้านจาก 11 อำเภอสําหรับการเลือกหมู่บ้านเลือกแบบเจาะจงจากหมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการทั้ง 11 หมู่บ้านประชากรเป็นครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการหมู่บ้านละ 10 ครัวเรือนร่วมจำนวน 110 ครัวเรือนการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การสัมภาษณ์การสังเกตการณ์และการรวบรวมจากเอกสารสถิติที่ ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่คำนวนความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าสงสุดค่าต่ำสุดส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า . หัวหน้าครัวเรือนมีอายเฉลี่ย 50มีการศึกษาสูงสุดอยู่ในระดับประถมศึกษา ครัวเรือนมีสมาชิกเฉลี่ย 4คนครัวเรือนมีอาชีพหลักด้านเกษตรกรรมมีรายได้ประจำเฉลี่ยเดือนละ 46,000 บาทรายจ่ายรวมเฉลี่ยเดือนละ 22,575 บาทมีเงินออมรวมเฉลี่ย 65,837 บาทและมีภาวะหนี้สินรวมเฉลี่ย 199,081 บาท 2. สมาชิกของครัวเรือนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจากโทรทัศน์ ในรอบปีที่ผ่านมาได้รับฟังข้อมูล/ข่าวสารเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจากสื่อต่างๆ สัปดาห์ละ 3 ครั้งขึ้นไป เข้ารับการฝึกอบรม/การอบรมเชิงปฏิบัติการ 2 ครั้ง ศึกษาดูงาน 1 ครั้ง ร่วมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ 2 ครั้ง เผยแพร่ความรู้ 1 ครั้ง 3. ครัวเรือนได้รับการสนับสนุนให้ได้มีโอกาสในการเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง โดยการ ให้เข้ารับการฝึกอบรม/การอบรมเชิงปฏิบัติการ 2 ครั้ง ศึกษาดูงาน 1 ครั้ง ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 1 ครั้ง เผยแพร่ความรู้ 1 ครั้ง ได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ด้านการให้คําแนะนํา/ข้อเสนอแนะ 2 ครั้ง ด้านกําลังใจ/คํายกย่องชมเชย 1 ครั้ง การให้รวมกลุ่มกันภายในชุมชน 2 กลุ่ม และการให้เชื่อมโยง เป็นเครือข่ายกับครัวเรือนอื่นๆ ภายนอกชุมชน 4. ประชากรมีความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในระดับมาก โดยตอบคําถามได้ถูกต้อง ร้อยละ 83.6 ถึง 98.2 5. ประชากรมีเจตคติต่อปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับเห็นด้วย และไม่มีความเห็น เท่ากัน 6. สมาชิกในครัวเรือนมีการดําเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งในภาพรวมและ รายด้านทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับค่อนข้างสูง 7. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการดําเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของครัวเรือนใน หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบจังหวัดลพบุรีมีจํานวน 5 ปัจจัย คือ 1) แหล่งที่ได้รับข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสัมพันธ์เชิงปฏิฐานอยู่ในระดับต่ํา 2) การรับข้อมูล/ข่าวสาร เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสัมพันธ์เชิงปฏิฐานอยู่ในระดับต่ํา 3) การเข้ารับการ ฝึกอบรม/การอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสัมพันธ์เชิงปฏิฐานอยู่ใน ระดับต่ํา 4) การสนับสนุนให้เกิดการปฏิบัติด้านเศรษฐกิจพอเพียงด้านการให้คําแนะนํา/ข้อเสนอแนะ มีความสัมพันธ์เชิงปฏิฐานอยู่ในระดับต่ํา และ 5) การสนับสนุนให้เกิดการปฏิบัติด้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการให้รวมกลุ่มกันในชุมชนมีความสัมพันธ์เชิงปฏิฐานอยู่ในระดับต่ํา ข้อเสนอแนะ 1. ควรมีการส่งเสริมสนับสนุนให้สมาชิกในครัวเรือนได้รับการสนับสนุนให้รวมกลุ่มกัน ภายในชุมชนเพื่อปฏิบัติด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้มากขึ้น 2. ควรมีการส่งเสริมสนับสนุนให้สมาชิกในครัวเรือนได้รับการฝึกอบรม/การอบรมเชิง ปฏิบัติการเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้มากขึ้น 3. เจ้าหน้าที่ของรัฐควรให้การสนับสนุนแก่สมาชิกในครัวเรือนด้านการให้คําแนะนํา/ ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้มากขึ้น 4. ควรจัดให้มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสื่อ ต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะโทรทัศน์ |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2009 |
Subject(s): | เศรษฐกิจพอเพียง -- ไทย ลพบุรี
การดำเนินชีวิต |
Keyword(s): | ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 13, 205 แผ่น ; 30 ซม. |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2124 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|