Browsing คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ by Title
Now showing items 53-72 of 180
-
การจัดการการสื่อสารเพื่อการจัดระเบียบชุมชนและสถานบันเทิงชุมชนคลองหก จังหวัดปทุมธานี
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014);
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะการสื่อสารของผู้ส่งสาร ศึกษาเนื้อหาสาร ศึกษาช่องทางการสื่อสารที่ใช้ในการจัดการการสื่อสารเพื่อการจัดระเบียบชุมชนและสถานบันเทิง ตลอดจนศึกษาทัศนคติของผู้รับสารที่มีต่อการจัดการการสื่อสารเพื่อการจัดระเบียบชุมชนและ สถานบันเทิงชุมชนคลองหก จังหวัดปทุมธานี -
การจัดการการสื่อสารเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมคลองแสนแสบกับการรับรู้ของประชาชนชุมชนมัสยิดกมาลุลอิสลาม
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014);
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการการสื่อสารเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมคลองแสนแสบ การรับรู้และทัศนคติของประชาชนชุมชนมัสยิด กมาลุลอิสลามต่อการจัดการการสื่อสารเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมคลองแสนแสบ รวมทั้งเปรียบเทียบและหาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการจัดการการสื่อสารเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมของคนในชุมชนที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกัน -
การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจในการแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับอาหารของกลุ่มพ่อบ้านและกลุ่มแม่บ้านบนสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016);
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับอาหารของกลุ่มพ่อบ้านและกลุ่มแม่บ้านบนสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ค โดยการประยุกต์ใช้แนวคิดและทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊คอายุระหว่าง 25 – 65 ปี ที่มีประสบการณ์แบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับอาหารในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา และเป็นสมาชิกกลุ่มสังคมบนสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊คเกี่ยวกับการทำอาหารในครัวเรือนที่มีจำนวนสมาชิกกลุ่มเกินหนึ่งหมื่นคนขึ้นไป ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2559 ผ่านแบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 414 คน ... -
การตลาดเชิงเนื้อหาของสำนักพิมพ์ที่มีผลต่อความพึงพอใจ การตัดสินใจซื้อ และความภักดีของผู้อ่าน : สำนักพิมพ์อะบุ๊กและสำนักพิมพ์แซลมอน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการตลาดเชิงเนื้อหาของสำนักพิมพ์ โดยวิเคราะห์เนื้อหาจากการตลาดเชิงเนื้อหาที่สำนักพิมพ์อะบุ๊กและสำนักพิมพ์แซลมอนใช้บนเว็บไซต์ และสื่อสังคมออนไลน์ประเภท Facebook ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2559 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2559 เพื่อศึกษาความพึงพอใจ การตัดสินใจซื้อ และความภักดีของผู้อ่าน และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจ การตัดสินใจซื้อ และความภักดีของผู้อ่าน โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เคยอ่านหนังสือของสำนักพิมพ์อะบุ๊กหรือสำนักพิมพ์แซลมอน ทั้งเพศชายและหญิง ช่วงอายุตั้งแต่ 15-54 ปี ซึ่งเข้าใช้งานแ ... -
การตลาดเชิงประสบการณ์กับความภักดีของผู้บริโภคในการชมการแสดงทอล์คโชว์
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016);
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาทัศนคติที่มีต่อการตลาดเชิงประสบการณ์ของผู้บริโภคที่เข้าชมการแสดงทอล์คโชว์ 2) เพื่อศึกษาความภักดีของผู้บริโภคที่เข้าชมการแสดงทอล์คโชว์และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และอำนาจในการพยากรณ์ระหว่างทัศนคติที่มีต่อการตลาดเชิงประสบการณ์กับความภักดีของผู้บริโภคที่เข้าชมการแสดงทอล์คโชว์ โดยมีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างผู้ที่มีประสบการณ์ในการเข้าร่วมชมการแสดงทอล์คโชว์ของนักแสดงท่านใดท่านหนึ่งอย่างน้อย 2 ครั้ง จำนวน 406 คน ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ผู้บริโภคที่เข้าชมการแสดงทอล์คโชว์ ... -
การตลาดเชิงประสบการณ์ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือน ต่อความตั้งใจซื้อคอนโดของผู้บริโภค
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018);
การศึกษาวิจัยเรื่อง การตลาดเชิงประสบการณ์ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือนต่อความตั้งใจซื้อคอนโดของผู้บริโภค มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้การตลาดเชิงประสบการณ์ผ่านการใช้กิจกรรมสอดแทรกด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือน (Virtual Reality) และ 2) เพื่อศึกษาความตั้งใจซื้อสินค้าประเภทคอนโดมิเนียมผ่านการทดลองด้วยกิจกรรมสอดแทรก วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยรูปแบบวิจัยเชิงปริมาณ โดยการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น ขอบเขตของการศึกษาได้แก่ กลุ่มผู้เข้าร่วมการวิจัย จำนวนท 40 คน อายุ 26 ปี มีฐานรายได้ต่อเดือน 20,000 บาท โดยมีลักษณะอาชีพทำงานด้านค ... -
การตอบสนองของผู้บริโภคต่อสื่อแฝงในบรรยากาศ
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014);
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับรู้และทัศนคติ ที่มีต่อสื่อแฝงในบรรยากาศ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการรับรู้และทัศนคติที่มี ต่อสื่อแฝงในบรรยากาศ และ 3) เพื่อศึกษารูปแบบการนา เสนอของสื่อแฝงในบรรยากาศทั้งในไทย และต่างประเทศ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม ซึ่งได้ผสมผสานวิธีการเก็บข้อมูลและการศึกษา ผลการวิจัย 2 วิธี ทั้งแบบเชิงคุณภาพ ในการศึกษารูปแบบการนา เสนอของสื่อแฝงในบรรยากาศใน เขตกรุงเทพมหานครที่ปรากฎในช่วงเวลาที่กาหนด และเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็น เครื่องมือวิจัยในการเก็บรวบรวมข้อมูล ... -
การตอบสนองของผู้บริโภคที่มีต่อการตลาดแบบไวรัล เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ส เจเนอเรชั่นเอ็กซ์ และเจเนอเรชั่นวาย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014);
การวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาการตอบสนองของผู้บริโภคที่มีต่อการตลาดแบบไวรัส (Viral Marketing) โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาดังต่อไปนี้ 1. เพื่อศึกษาการเปิ ดรับสื่อ Viral Marketing ของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ส เจเนอเรชั่นเอ็กซ์ และเจเนอเรชั่นวาย 2. เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ส เจเนอเรชั่นเอ็กซ์ และเจเนอเรชั่นวายที่มีต่อ Viral Marketing 3. เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ส เจเนอเรชั่นเอ็กซ์ และเจเนอเรชั่นวายที่มีต่อ Viral Marketing 4. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิ ดรับสื่อ ทัศนคติ ... -
การประกอบสร้างชุดสัญญะแห่งการเรียนรู้เพื่อสร้างทัศนคติเชิงบวกต่อบุคคลพิการทางสายตาของนิทรรศการบทเรียนในความมืด
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016);
- -
การประกอบสร้างตัวละครชายรักชายในซีรีส์วาย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2020);
การวิจัยเชิงคุณภาพเรื่อง “การประกอบสร้างตัวละครชายรักชายในซีรีส์วาย” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการประกอบสร้างตัวละครชายรักชายในซีรีส์วาย 2) ศึกษาคุณลักษณะของตัวละครชายรักชายในซีรีส์วาย 3) ศึกษาทัศนคติของผู้ชมที่เป็นกลุ่มชายรักชายที่มีต่อตัวละครชายรักชายในซีรีส์วาย โดยผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ตัวบทผ่านตัวละครชายรักชายจำนวน 20 ตัวละคร จากซีรีส์วาย 10 เรื่องที่ออกอากาศระหว่างปี 2558 – 2562 และทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ชมทางสังคมที่เป็นกลุ่มชายรักชายจำนวน 15 คน ผลการศึกษา พบว่า ตัวละครชายรักชายในซีรีส์วายมีลักษณะที่แตกต่างจากกลุ่มชายรักชาย ... -
การยอมรับสื่อหลอมรวมและการตอบสนองต่อโฆษณา
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ มุ่งศึกษาระดับ การยอมรับสื่อหลอมรวม, การรับรู้ประโยชน์ และการรับรู้ความง่ายในการใช้สื่อหลอมรวม ตลอดจนศีกษาถึง การตอบสนองของผู้บริโภคต่อ โฆษณาสื่อหลอมรวม โดยครอบคลุมสื่อหลักทั้งหมด 3 สื่อได้แก่ โทรทัศน์ วิทยุ และ หนังสือพิมพ์ที่มี การหลอมรวมเข้าสู่อินเตอร์เน็ตด้วยรูปแบบการออนไลน์ ทำการศึกษาโดยการ วิจัยเชิงสำรวจ จากกลุ่มผู้ที่มีการใช้สื่อหลอมรวม จำนวน 400 ตัวอย่าง -
การรังแกทางไซเบอร์ผ่านสื่อออนไลน์ สาเหตุ และแนวทางการจัดการปัญหา
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2020);
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เพื่อทราบสาเหตุการของการรังแกทางไซเบอร์ในสื่อออนไลน์ 2.เพื่อทราบรูปแบบการรังแกทางไซเบอร์ผ่านสื่อออนไลน์ 3.เพื่อทราบผลกระทบจากการกลั่นกลั่นแกล้งทางออนไลน์จากเนื้อหาของสื่อออนไลน์ 4.เพื่อทราบแนวทางในการป้องกันกลั่นแกล้งทางออนไลน์จากการนำเสนอเนื้อหาของสื่อออนไลน์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญ โดยมีขอบเขตการศึกษาเป็นกรณีศึกษาการรังแกทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นในปี 2561 กรณีบุคคลทั่วไป 1 กรณี คือ “เจ้าบ่าวหนีงานแต่ง” และกรณีศึกษาในบุคคลมีชื่อเสียง 3 กรณี คือ กรณี ... -
การรับรู้ของผู้อ่านและการจัดการองค์กรหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นภาคใต้โฟกัสในยุคดิจิทัล
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018);
งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม แบ่งรูปแบบการศึกษาวิจัยออกเป็น 2 ส่วน คือ (1) การวิจัยเชิงปริมาณ จากกลุ่มตัวอย่างที่เคยอ่านหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นภาคใต้โฟกัส จำนวน 400 คน มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์การเปิดรับสื่อกับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารขององค์กรหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นภาคใต้โฟกัส โดยใช้สถิติเชิงอนุมานทดสอบค่าเฉลี่ยโดยความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหความสัมพันธ์ของเพียร์สัน และ (2) การวิจัยเชิงคุณภาพ จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้อำนวยการและกองบรรณาธิการที่มีบทบาทต่อการกำหนดนโยบาย ... -
การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งผ่านสื่อสังคมออนไลน์กับทัศนคติและพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014);
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรของประชาชนในเขต กรุงเทพมหานคร และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งผ่านสื่อสังคมออนไลน์กับทัศนคติและพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้ คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม จานวน 400 ชุด การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมานเพื่อวิเคราะห์ค่าที (t - test) การวิเคราะห ... -
การรับรู้ข่าวสาร ทัศนคติและพฤติกรรมของกลุ่มแรงงานก่อสร้างต่อสื่อรณรงค์การเลิกสูบบุหรี่ในเขตกรุงเทพมหานคร
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
- -
การรับรู้ข่าวสารการตลาดและการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางของคนรุ่นใหม่เพศหญิงผ่านกูรูความงาม
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014);
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 6 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาเนื้อหาและรูปแบบการนำเสนอ เครื่องสำอางผ่านกูรูความงาม 2) เพื่อศึกษาการรับรู้ข่าวสารด้านการตลาดเกี่ยวกับเครื่องสำอางผ่าน กูรูความงาม 3) เพื่อศึกษาการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางผ่านกูรูความงาม 4) เพื่อศึกษาความแตกต่าง ระหว่างลักษณะประชากรกับการรับรู้ข่าวสารการตลาดเครื่องสำอางผ่านกูรูความงาม 5) เพื่อศึกษา ความแตกต่างระหว่างลักษณะประชากรกับการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางผ่านกูรูความงาม และ 6) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ข่าวสารการตลาดกับการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางผ่านกูรู ความงาม ... -
การรับรู้ข่าวสารทางการเมืองและทัศนคติของผู้บริโภคต่อ การนำเสนอข่าวสารของหนังสือพิมพ์ออนไลน์
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองของผู้บริโภค และเพื่อ ศึกษาทัศนคติของผู้บริโภคข่าวสารทางการเมืองผ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์ เป็นการศึกษาวิจัยเชิง ปริมาณ ( Quantitative Research) โดยมีรูปแบบการศึกษาเชิงสำรวจซึ่งใช้แบบสอบถามเป็น เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ร่วมกับการศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) เพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัย -
การรับรู้ข่าวสารและความพึงพอใจต่อการสื่อสารการตลาดของตราสินค้าแลคตาซอย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ1) ศึกษาการสื่อสารการตลาดของตราสินค้าแลคตาซอย 2) ศึกษาลักษณะทางประชากรกบัการรับรู้ข่าวสารการสื่อสารการตลาดของตราสินคา้แลคตาซอย 3) ศึกษาลักษณะทางประชากรกับความพึงพอใจต่อการสื่อสารการตลาดของตราสินค้าแลคตาซอย 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ข่าวสารและความพึงพอใจต่อการสื่อสารการตลาดของตราสินค้าแลคตาซอย -
การรับรู้ความน่าเชื่อถือของแหล่งสาร การรับรู้ความเสี่ยงในการสื่อสารแบบบอกต่อบนอินเทอร์เน็ตที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมประเภทวิตามิน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
งานวิจัยเรื่องการรับรู้ความน่าเชื่อของแหล่งสาร การรับรู้ความเสี่ยงในการสื่อสารแบบบอกต่อบนอินเทอร์เน็ตที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทวิตามินมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการรับรู้ความน่าเชื่อถือของการสื่อสารแบบบอกต่อบนอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทวิตามิน 2) เพื่อศึกษา การรับรู้ความเสี่ยงในการสื่อสารแบบบอกต่อบนอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทวิตามิน 3) เพื่อศึกษาความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทวิตามินของผู้บริโภค 4) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของลักษณะทางประชากรกับการรับรู้ความน่าเชื่อถือขอ ... -
การรับรู้ตราสินค้า ทัศนคติที่มีต่อตราสินค้า และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตราสินค้าเบียร์สิงห์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
(คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ, 2015);
การศึกษาในคร้ังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทัศนคติที่มีต่อตราสินค้า พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ตราสินค้าเบียร์สิงห์และการรับรู้ตราสินค้าผ่านสื่อโฆษณาของผู้บริโภคในเขต กรุงเทพมหานครโดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธีคือใช้วิธีเชิงปริมาณกับผู้บริโภคที่เคยซื้อเบียร์สิงห์ จำนวน 400คน และใชวิธีเชิงคุณภาพกับผู้ที่ชอบดื่มเบียร์สิงห์และเยาวชนที่อยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะดื่มเบียร์สิงห์ จำนวน 24 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการซื้อเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ของ ...