Browsing GSTM: Theses by Title
Now showing items 7-26 of 129
-
กระบวนการการพัฒนาสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้ประสานงานในธุรกิจการจัดประชุม: กรณีศึกษา บริษัทจัดประชุมมืออาชีพในเขตกรุงเทพมหานคร
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018);
การศึกษาวิจัย “กระบวนการการพัฒนาสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้ประสานงานในธุรกิจการจัดประชุม: กรณีศึกษา บริษัทจัดประชุมมืออาชีพในเขตกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทและสถานการณ์ของงานและสมรรถนะที่เกี่ยวข้องกับการประสานงานของผู้ประสานงานการจัดประชุม 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบปัจจัยในระดับบุคคล ระดับกลุ่ม และระดับองค์กรในการพัฒนาสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้ประสานงานการจัดประชุม 3) เพื่อศึกษากระบวนการการพัฒนาสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้ประสานงานการจัดประชุมในบริษัทจัดประชุมมืออาชีพ โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สมรรถนะ พฤติกรรมในระดับบุคคล ... -
กลยุทธ์การจัดการการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018);
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาใช้บริการร้านอาหารท้องถิ่น 2) ประเมินศักยภาพการตลาดการท่องเที่ยวเชิงอาหารที่ส่งผลต่อกระบวนการการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ใช้บริการร้านอาหารท้องถิ่น และ 3) เสนอแนะกลยุทธ์การจัดการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 406 คน และเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งโครงสร้าง ... -
การจัดการพิพิธภัณฑ์สำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2020);
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการมาท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ของนักท่องเที่ยวกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการจัดการพิพิธภัณฑ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจมาท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ของนักท่องเที่ยวกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดการพิพิธภัณฑ์สำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย โดยการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามจากนักท่องเที่ยวชาวไทยกลุ่มเจเนอเรชั่นวายที่มีประสบการณ์ในการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ จำนวน 400 คน ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เพื่อหาค่าความถี่ ... -
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาวะด้านการพัฒนาการฟื้นฟูจิตวิญญาณ : ปัจจัยแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจและการตั้งใจกลับมาท่องเที่ยวซ้ำ กรณีศึกษา จังหวัดเชียงใหม่
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016);
การวิจยัคร้ังนี้มุ่งเน้นที่จะศึกษาเรื่องการท่องเที่ยวเชิงสุขภาวะด้านการพัฒนาการฟื้นฟูจิต วิญญาณ : ปัจจยัแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจและการตั้งใจกลับมาท่องเที่ยวซ้า กรณีศึกษา จังหวัดเชียงใหม่โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยผลัก ดันทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาวะที่ มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว 2) เพื่อศึกษาปัจจัยดึงดูดทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาวะ ที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนัก ท่องเที่ยวที่มีอิทธิพลต่อการตั้งใจกลับมาท่องเที่ยวซ้ำโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Approach) ... -
การพัฒนาการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกภายในและนอกเขตการบิน ณ ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2021);
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้โดยสารด้านสิ่งอำนวยความสะดวกภายในและนอกเขตการบินของท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา 2) เพื่อประเมินศักยภาพของการจัดการด้านสิ่งอำนวยความสะดวกภายในและนอกเขตการบินของท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดการด้านสิ่งอำนวยความสะดวกภายในและนอกเขตการบินของท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษา 2 ด้าน ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้โดยสารสัญชาติไทยที่เดินทางโดยสายการบินต้นทุนต่ำ ณ ท่าอากาศยานนนาชาติอู่ตะเภา ... -
การพัฒนาการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ในการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ย่านเมืองเก่าภูเก็ต
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2021);
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ได้แก่ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและแรงผลักดันเข้าร่วมที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน กลุ่ม Gen Y ณ ย่านเมืองเก่าภูเก็ต 2. เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนกลุ่ม Gen Y ในการจัดการการท่องเที่ยว ณ ย่านเมืองเก่าภูเก็ต 3. เพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจในแนวคิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของคนในชุมชนกลุ่ม Gen Y ณ ย่านเมืองเก่าภูเก็ต 4. เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนกลุ่ม Gen Y ในการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ณ ย่านเมืองเก่าภูเก็ต ศึกษาโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ... -
การพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในความหลากหลายของมนุษย์ที่มีต่อเด็กด้อยโอกาส
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014);
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตัถุประสงค์1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบที่มีผลต่อการเสริมสร้างความเข้าใจในความหลากหลายของมนุษย์ที่มีต่อเด็กด้อยโอกาส 2) เพื่อพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในความหลากหลายของมนุษย์ที่มีต่อเด็กด้อยโอกาสมีลักษณะเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วยบุคลากรจากองค์กรด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชน ด้านสิทธิมนุษยชน โรงเรียนระดับชั้นมธัยมศึกษาในจังหวัดกรุงเทพฯ และสถานสงเคราะห์เด็กในจังหวัดกรุงเทพฯ ร่วมกับการจัดสนทนากลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากองค์กร ... -
การพัฒนาคุณภาพการบริการเพื่อการตั้งใจกลับมาใช้บริการซ้ำของสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2020);
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อประเมินคุณภาพการบริการของสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย (2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านคุณภาพการบริการที่มีผลต่อความตั้งใจในการใช้บริการซ้ำของสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย ตัวแปรในการวิจัยประกอบด้วย ความเป็นรูปธรรมของการบริการ ความน่าเชื่อถือไว้วางใจ การตอบสนองผู้โดยสาร การให้ความมั่นใจแก่ผู้โดยสาร และความเห็นอกเห็นใจผู้โดยสาร ตัวอย่างของงานวิจัย คือ ผู้โดยสารชาวไทยที่ใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำมาแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2561 ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ... -
การพัฒนาตัวบ่งชี้ความเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
วิทยานิพนธ์เรื่อง การพัฒนาตัวบ่งชี้ความเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาตัวบ่งชี้ความเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 2) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ความเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์สำหรับประเทศไทย ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญตลอดจนผู้ที่มีความรู้ทางด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในประเทศไทย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญภาครัฐผู้เชี่ยวชาญภาคนักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญภาคประชาชน จำนวน 9 คน เป็นผู้ทำหน้าที่ในการคัดเลือกตัวบ่งชี้ความเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ด้วยเทคนิค EDFR ซึ่งในการเก็บรวบรวมข้อมูลรอบที่ ... -
การพัฒนาตัวบ่งชี้มูลค่าทรัพยากรท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ประเภทเกาะท่องเที่ยวทางทะเลของไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016);
การศึกษาการพัฒนาตัวบ่งชี้มูลค่าทรัพยากรท่องเที่ยวทางธรรมชาติประเภทเกาะท่องเที่ยวทาง ทะเลของไทย มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ที่สามารถนํามาประเมินมูลค่าทรัพยากร ท่องเที่ยวทางธรรมชาติประเภทเกาะท่องเที่ยวทางทะเลของไทย 2. เพื่อวิเคราะห์นํ้าหนัก ความสําคัญของตัวบ่งชี้สําหรับการประเมินมูลค่าทรัพยากรท่องเที่ยวทางธรรมชาติประเภทเกาะ ท่องเที่ยวทางทะเลของไทย ในการศึกษาใช้เครื่องมือในการวิจัยอนาคตด้วยเทคนิค EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) ซึ่งเป็นเทคนิคที่มุ่งแสวงหาผลสรุปจากความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องออกมาอย่างเป็นระบบ ข้อมูลที่ได้มา ... -
การพัฒนาภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวอาหารริมทางผ่านมุมมองของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ กรณีศึกษา ย่านเยาวราช กรุงเทพมหานคร
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2020);
การศึกษาครั้งนี้ ต้องการสำรวจภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวอาหารริมทางของย่านเยาวราช กรุงเทพมหานคร จากมุมมองของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติว่าเป็นอย่างไร โดยประกอบด้วยวัตถุประสงค์ 4 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวย่านเยาวราชผ่านมุมมองของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทางโครงสร้างและองค์ประกอบทางอารมณ์ของย่านเยาวราชผ่านมุมมองของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 3) เพื่อวิเคราะห์อัตลักษณ์ของย่านเยาวราชผ่านมุมมองของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และ 4) แนวทางในการพัฒนาภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวอาหารริมทางของย่านเยาวราช กรุงเทพมหานคร ... -
การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีจากมุมมองการรับรู้องค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวภาพลักษณ์การท่องเที่ยว ทัศนคติ และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2020);
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการรับรู้องค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยว ภาพลักษณ์ ทัศนคติ และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีผลต่อความจงรักภักดีต่อการท่องเที่ยวอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง 2) เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีจากมุมมองการรับรู้องค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยว ภาพลักษณ์ ทัศนคติ และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการท่องเที่ยวอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมภาพลักษณ์จากมุมมองการรับรู้ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีผลต่อความจงรักภักดีในพื ... -
การพัฒนาองค์กรพันธมิตรของธุรกิจสปาในจังหวัดภูเก็ต
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาถึงบริบทการพัฒนาองค์กรพันธมิตรของ ธุรกิจสปาในจังหวัดภูเก็ต และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาองค์กรพันธมิตรของ ธุรกิจสปาในจังหวัดภูเก็ต โดยประชากรกลุ่มเป้าหมาย คือ คือ ผู้ประกอบการหรือผู้บริหารของสถาน ประกอบการด้านสปาในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นสถานประกอบการที่ผ่านการรับรองมาตรฐานจาก กระทรวงสาธารณสุขในปี พ.ศ. 2556 จำนวนทั้งสิ้น 81 แห่ง ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือใน การเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ผลจากการวิเคราะห์ข ... -
การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโยคะอย่างมีประสิทธิภาพ กรณีศึกษาอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2021);
การวิจัยครั้งนี้มุ่งเน้นในการศึกษาเรื่องการพัฒนาการท่องเที่ยวโยคะอย่างมีประสิทธิภาพ กรณีศึกษา อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษา 5 ประการคือ 1) เพื่อทราบถึงคุณลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่มีต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวโยคะ 2) เพื่อทราบถึงองค์ประกอบของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโยคะ ด้านทรัพยากรหลักที่มีต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว 3) เพื่อทราบถึงองค์ประกอบของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโยคะ ด้านองค์ประกอบสนับสนุนที่มีต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว 4) เพื่อทราบถึงความพึงพอใจโดยรวมต่อการกลับมาท่องเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยวโยคะ ... -
การรับรู้ของประชากรศาสตร์ที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงศาสนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา : วัดสมานรัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016);
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการรับรู้ของชุมชนที่มีต่อผลกระทบจากการท่องเที่ยว เชิงศาสนาได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมวัฒนธรรม ตลอดจนด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อหาแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาวัดสมานรัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจากสมาชิกในชุมชน จำนวน 245 ราย ซึ่งจะนํามาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่า เบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Independent t-Test กับ One-Way ANOVA ผลการศึกษาพบว่า สมาชิกในชุมชนมีการรับรู้ผลกระทบจากการท่องเที่ยวเ ... -
การรับรู้สภาพแวดล้อมในการทำงานเพื่อเสริมสร้างความทุ่มเทมีใจของพนักงานส่วนหน้า (Employee engagement) ของอุตสาหกรรมโรงแรมในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016);
การศึกษาคร้ังนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานโรงแรมที่ส่งผลต่อการรับรู้สภาพแวดล้อมในการทำ งานในธุรกิจโรงแรมเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาการรับรู้ สภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีความสัมพันธ์กับความทุ่มเทมีใจของพนักงานโรงแรม (Employee Engagement) ในเขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาการรับรู้สภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีอิทธิพล ทำให้เกิดความทุ่มเทมีใจของพนักงานโรงแรม (Employee Engagement) ในเขตกรุงเทพมหานคร 4) เพื่อเสนอแนะแนวทางการเสริมสร้างความทุ่มเทมีใจของพนักงานโรงแรม (Employee Engagement) ใน เขตกรุงเทพมหานครโดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวจิยั ... -
การวิเคราะห์พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวจีนภายหลังวิกฤตการเมืองไทยในกรุงเทพมหานคร
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อศึกษาและหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทาง ประชากรศาสตร์พฤติกรรมการท่องเที่ยวและทัศนคติของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีต่อการเดินทาง ท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร ภายหลังวิกฤตการเมืองไทย 2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของ ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์กับทัศนคติของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีต่อการเดินทางท่องเที่ยวใน กรุงเทพมหานคร ภายหลังวิกฤตการเมืองไทย และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยด้านทัศนคติต่อ ความต้องการกลับมาเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยวชาวจีนโดยมีประชากรกลุ่มเป้าหมาย คือ นักท่องเที่ยวชาวจีน (Mainland) ที่เดินทางเข ... -
การวิเคราะห์พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยภายหลังเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วบริเวณอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016);
จากเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วบริเวณอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง จำนวน 50,000 ลิตร เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ปีพ.ศ. 2556 เกิดผลกระทบอย่างมากต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นทรัพยากรทางการท่องเที่ยวที่สำคัญรวมไปถึงภาพลักษณ์ทางการท่องเที่ยวผู้วิจัยถึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหากลุ่มปัจจัยต่อทัศนคติด้านต่าง ๆ โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) ไปสู่วิเคราะห์พฤติกรรมทางการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยภายหลังวิกฤติเพื่อเปรียบเทียบ ความแตกต่างของข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ในทัศนคติต่อปัจจัยที่ทำให้เกิดการตัดสินใจซื้อบริการทางการท่องเที่ยว ... -
การศึกษาพฤติกรรมของนักวิ่งระยะไกลกับการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงกีฬา: กรณีศึกษาประเทศไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018);
วิทยานิพนธ์เล่มนี้มุ่งเน้นที่จะทำการศึกษาเรื่อง การศึกษาพฤติกรรมของนักวิ่งระยะไกลกับการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงกีฬา: กรณีศึกษาประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยผลักดันที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการเข้าร่วมงานวิ่งระยะไกล เพื่อศึกษาถึงปัจจัยดึงดูดที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการเข้าร่วมงานวิ่งระยะไกล และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักวิ่งระยะไกลที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการเข้าร่วมงานวิ่ง ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างคือนักวิ่งที่เคยเข้าร่วมงานวิ่งระยะทางขั้นต่ำ 10.5 กิโลเมตรขึ้นไปอย่างน้อย 1 ครั้ง และเป็นงานว ... -
การศึกษาอิทธิพลของการได้รับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016);
การวิจยัเรื่องการศึกษาอิทธิพลของการได้รับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมต่อผลการ ดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยกำหนดวตัถุประสงค์ไว้ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาผล การดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานและการรับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยที่มีข้อมูลทั่วไปแตกต่างกัน 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการรับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย โดยการศึกษาในคร้ังนี้เป็นการวิจยัเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิอัตราส่วนทาง ...