Now showing items 1-17 of 17

  • Thumbnail

    กระบวนการนำเสนอรูปแบบสารคดีเชิงละครในรายการสารคดีเชิงช่าวเรื่องจริงผ่านจอ 

    อังกูร ตะวันวง; กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการนำ เสนอรูปแบบสารคดีเชิงละครใน รายการสารคดีเชิงข่าว เรื่องจริงผ่านจอ ที่ส่งผลให้ผู้รับชมรู้เท่าทันสื่อ การวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัย เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ดว้ย การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ผลิตรายการ จำนวน 3 คน การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จำนวน 100 เรื่อง จากเทปที่ออกอากาศ จำนวน 26 ตอน และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผู้ชมรายการ จำนวน 8 คน
  • Thumbnail

    กระบวนการสื่อสารและการสร้างคาแรกเตอร์ของผู้ดำเนินรายการเจาะข่าวตื้นและรายการวีอาร์โซ (VRZO) 

    บุษลักษณ์ บัตรมาก; กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    การวิจัยเรื่อง “กระบวนการสื่อสารและการสร้างคาแรกเตอร์ของผู้ดําเนินรายการเจาะข่าว ตื้นและรายการวีอาร์โซ (VRZO)” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 9) ศึกษาถึงกระบวนการสื่อสารของผู้ดําเนินรายการเจาะข่าวตื้นและรายการวีอาร์โซ (VRZO) ;) เพื่อศึกษาการสร้างคาแรกเตอร์ของผู้ดําเนินรายการเจาะข่าวตื้นและรายการวีอาร์โซ (VRZO) การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) กับผู้ดําเนินรายการเจาะข่าวตื้น และรายการวีอาร์โซ (VRZO) จํานวน 4 คน และการศึกษาโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ระยะเวลา 8 เดือน ...
  • Thumbnail

    กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดทางการเมืองผ่านสื่อสังคมของพรรคอนาคตใหม่ 

    ศุภสัณห์ พรประภา; กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2021)

    การศึกษากลยุทธ์การสื่อสารการตลาดทางเมืองผ่านสื่อสังคมของพรรคอนาคตใหม่ มุ่งศึกษาลักษณะเนื้อหา รูปแบบ และกลยุทธ์การสื่อสารทางการเมืองของพรรคอนาคตใหม่ผ่านสื่อสังคม ในช่วงตั้งแต่ก่อตั้งพรรคการเมือง จนกระทั่งถึงก่อนการเลือกตั้งในวันที่ 23 มีนาคม 2562 ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาจากสื่อสังคมของพรรคอนาคตใหม่ที่มีผู้ติดตามสูงสุด 3 อันดับแรกของสื่อสังคมทั้งหมดของพรรคและผู้มีบทบาททางการเมืองบนสื่อสังคมของพรรคอนาคตใหม่ ได้แก่ เฟซบุ๊กแฟนเพจของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ เฟซบุ๊กแฟนเพจอย่างเป็นทางการของพรรคอนาคตใหม่ และทวิตเตอร์ของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ตามลำดับ ...
  • Thumbnail

    การรับรู้ข่าวสาร ทัศนคติและพฤติกรรมของกลุ่มแรงงานก่อสร้างต่อสื่อรณรงค์การเลิกสูบบุหรี่ในเขตกรุงเทพมหานคร 

    ศิธาพิสุทธ์ พรหมสาขา ณ สกลนคร; กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    งานวิจัยเรื่อง การรับรู้ข่าวสาร ทัศนคติและพฤติกรรมของกลุ่มแรงงานก่อสร้างต่อสื่อ รณรงค์การเลิกสูบบุหรี่ในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา (1) เพื่อศึกษาการ รับรู้ข่าวสารผ่านสื่อของกลุ่มแรงงานก่อสร้างในกรุงเทพมหานครที่มีต่อการรณรงค์เลิกสูบบุหรี่ (2) เพื่อศึกษาทัศนคติของกลุ่มแรงงานก่อสร้างในกรุงเทพมหานครที่มีต่อการรณรงค์เลิกสูบบุหรี่ (3) เพื่อศึกษาทัศนคติมีผลต่อพฤติกรรมของกลุ่มแรงงานก่อสร้างในกรุงเทพมหานคร การ ศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ในรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ...
  • Thumbnail

    การรับรู้ข่าวสารทางการเมืองและทัศนคติของผู้บริโภคต่อ การนำเสนอข่าวสารของหนังสือพิมพ์ออนไลน์ 

    อนุสรณ์ ศิริชาติ; กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองของผู้บริโภค และเพื่อ ศึกษาทัศนคติของผู้บริโภคข่าวสารทางการเมืองผ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์ เป็นการศึกษาวิจัยเชิง ปริมาณ ( Quantitative Research) โดยมีรูปแบบการศึกษาเชิงสำรวจซึ่งใช้แบบสอบถามเป็น เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ร่วมกับการศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) เพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัย
  • Thumbnail

    การศึกษากระบวนการสื่อสารสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา โครงการป่าในเมืองโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) 

    ชญานิษฐ์ เข็มกลัด; กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสื่อสารของโครงการป่าในเมืองโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว). และบทบาทของภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วมกับโครงการ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)  จากการศึกษาข้อมูลเอกสาร (Documentary Analysis) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ประกอบด้วย คณะทำงานและภาคีเครือข่ายของโครงการ จำนวน 8 คน  ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการสื่อสารของโครงการป่าในเมืองมีเป้าหมายการสื่อสาร 2 ประการ คือ 1) เพื่อสร้างความเข้าใจและนำองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยไปใช้ประโยชน์สู่สังคมในวงกว้าง และ 2) ...
  • Thumbnail

    การศึกษาคุณลักษณะของสื่อประเพณีจองพารา และการนำไปใช้ในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดแม่ฮ่องสอน 

    กรกนก สนิทการ; กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)

    การศึกษาเรื่อง “การศึกษาคุณลักษณะของสื่อประเพณีจองพารา และการนําไปใช้ใน การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดแม่ฮ่องสอน” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก (In-depth Interview) กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูล (Keys Informent) สําคัญจํานวน 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มปราชญ์ชาวบ้าน และผู้นํากลุ่มชาวบ้านในการ จัดงานจํานวน 5 คน 2) กลุ่มหน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบงานคือสภาวัฒนธรรมบ้านเมืองปอน อําเภอขุนยวม และ นักวิชาการผู้ดูแลในส่วนงานด้านวัฒนธรรมขององค์การบริหารส่วน ตําบลบ้านเมืองปอน จํานวน 2 คน และการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม ...
  • Thumbnail

    การศึกษาพฤติกรรมการสื่อสารกับการส่งต่อข้อมูลผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ของผู้สูงอายุ 

    กิรณา สมวาทสรรค์; กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    งานวิจัยเรื่องการศึกษาพฤติกรรมการสื่อสารกับการส่งต่อข้อมูลผ่านแอพลิเคชั่นไลน์ของ ผู้สูงอายุมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสื่อสารผ่านแอพลิเคชั่นไลน์ของผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์และการส่งต่อข้อมูลในแอพลิเคชั่นไลน์ของผู้สูงอายุ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Method) ประกอบด้วยการวิจัยเชิง ปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการ สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 6 คน ได้แก่เพศชายจำนวน 1 คน เพศหญิงจำนวน 5 คน ใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอ ...
  • Thumbnail

    การศึกษารูปแบบ เนื้อหา และกลยุทธ์ในการสื่อสารการตลาดในสื่อสังคมของค่ายเพลงไทย 

    วาสิฏฐี ศรีติรัตน์; กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    การวิจัยเรื่องนี้จัดทำ ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบเนื้อหาและกลยุทธ์การใช้สื่อ สังคมเพื่อการสื่อสารการตลาดของค่ายเพลงไทย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีแนวคิดที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แนวคิดสื่อสังคมและกลยุทธ์การสื่อสารการตลาด แนวคิดชุมชนออนไลน์แนวคิด อุตสาหกรรมบันเทิง และเพลงไทยในปัจจุบัน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการวิเคราะห์เนื้อหา และแนวคำถามในการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารค่ายเพลง โดยศึกษาสื่อ สังคมของค่ายเพลง 2 ค่ายได้แก่ค่ายกามิกาเซ่ในเครือบริษัทอาร์เอส จำกัด (มหาชน) และค่ายจีนี่ เรคคอร์ด ในเครือบริษัทจีเอ็ม ...
  • Thumbnail

    การศึกษาแนวทางการผลิตรายการกระจายเสียงเพื่อเผยแพร่ผ่านรูปแบบรายการพอดแคสต์ในประเทศไทย 

    อาลี ปรียากร; กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการผลิตรายการพอดแคสต์ในบริบทของสังคมไทย โดยแบ่งวัตถุประสงค์การวิจัยเป็น 3 ข้อ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษากระบวนการเตรียมการผลิตรายการกระจายเสียงผ่านช่องทางพอดแคสต์ 2) เพื่อศึกษาการนำเสนอเนื้อหา การจัดการทางด้านเทคนิคขณะทำการผลิตรายการ 3) เพื่อศึกษาการจัดการเผยแพร่รายการ การติดตามประเมินผลหลังการเผยแพร่รายการ โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) ข้อมูลปฐมภูมิ จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้ผลิตรายการพอดแคสต์ กับผู้ฟังรายการพอดแคสต์ 2) ข้อมูลทุติยภูมิจากการใช้วิธีการวิ ...
  • Thumbnail

    การศึกษาแนวทางการผลิตรายการกระจายเสียงเพื่อเผยแพร่ผ่านรูปแบบรายการพอดแคสต์ในประเทศไทย 

    อาลี ปรียากร; กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการผลิตรายการพอดแคสต์ในบริบทของสังคมไทย โดยแบ่งวัตถุประสงค์การวิจัยเป็น 3 ข้อ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษากระบวนการเตรียมการผลิตรายการกระจาย เสียงผ่านช่องทางพอดแคสต์ 2) เพื่อศึกษาการนำเสนอเนื้อหา การจัดการทางด้านเทคนิคขณะทำการ ผลิตรายการ 3) เพื่อศึกษาการจัดการเผยแพร่รายการ การติดตามประเมินผลหลังการเผยแพร่รายการ โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) ข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์ เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้ผลิตรายการพอดแคสต์กับผู้ฟังรายการพอดแคสต์ 2) ข้อมูลทุติยภูมิจากการ ใช้วิธีการ ...
  • Thumbnail

    การสื่อสารขององค์กรเพื่อสร้างความผูกพันของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัท แพลน บี มีเดีย จำกัด (มหาชน) 

    ไพลิน เม้ยขันหมาก; กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการสื่อสาร และ 2) ศึกษาปัจจัยการ สื่อสารของ บริษัท แพลน บี มีเดีย จำกัด (มหาชน) เพื่อสร้างความผูกพันกับพนักงาน เป็นการ ศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) รูปแบบการสื่อสาร และปัจจัยการสื่อสารของพนักงานบริษัท แพลน บี มีเดีย จ ากัด (มหาชน) ผ่านการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับตัวแทนผู้บริหาร จำนวน 3 ท่าน และการสัมภาษณ์ แบบกลุ่ม (Focus Group) ผ่านตัวแทนพนักงานทุกระดับตำแหน่ง จำนวน 45 คน จาก 13 แผนก โดยเฉลี่ยตัวแทนพนักงานเข้าสัมภาษณ์จากจำนวนพนักงานทั้งหมด ...
  • Thumbnail

    การสื่อสารประเด็นสาธารณะของสังคมไทยผ่านนวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการรณรงค์ เว็บไซต์ Change.org 

    ปฏิภาณ ชัยช่วย; กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    การวิจัยเรื่อง “การสื่อสารประเด็นสาธารณะของสังคมไทยผ่านนวัตกรรมการสื่อสารเพื่อ การรณรงค์เว็บไซต์ Change.org เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยผู้วิจัย ใช้วิธีการศึกษา 2 วิธีได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth Interview) เพื่อศึกษาใน 3 ประเด็น 1) การสื่อสารประเด็นสาธารณะ 2) บทบาทการขับเคลื่อน สังคม และ 3) การมีส่วนร่วมต่อภาคพลเมืองของเว็บไซต์ Change.org ประเทศไทย ผลการวิจยพบว่า 1) เว็บไซต์ Change.org ประเทศไทย ได้ขับเคลื่อนทุกประเด็นสาธารณะ ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยยุคปัจจุบัน ...
  • Thumbnail

    ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้เฟซบุ๊ก (Facebook) ของวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร 

    ตฤณธวัช วงษ์ประเสริฐ; กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมการการใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook) และ 3) เพื่อศึกษาถึงผลกระทบจากการ ใช้งานเฟซบุ๊ก(Facebook) ของวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ วัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครที่มีอายุระหวา่ง 22 – 59 ปี จำนวน 400 คน ที่เคยใช้บริการงาน เฟซบุ๊ก (Facebook) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) วิเคราะห์การเปรียบเที ...
  • Thumbnail

    นวัตกรรมอินเทอร์เน็ตมีมในการสื่อสารทางการเมืองไทย: ศึกษากรณี การคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมในปี พ.ศ. 2556 

    คริษฐ์ ลิ้มตระกูล; กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014)

    การศึกษาเรื่อง นวัตกรรมอินเตอร์เน็ตมีมในการสื่อสารทางการเมืองไทย: ศึกษากรณีการคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ในปี พ.ศ. 2556 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบและประเภทของอินเทอร์เน็ตมีมที่ใช้ในการสื่อสารทางการเมืองเพื่อคัดค้านร่าง พระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ในปี พ.ศ. 2556 2) เพื่อศึกษาช่องทางการสื่อสารของอินเทอร์เน็ตมีมในสื่อสังคมออนไลน์ที่ใช้ในการสื่อสารทางการเมืองเพื่อคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมในปี พ.ศ.2556 และ 3) เพื่อศึกษาผลของนวัตกรรมอินเทอร์เน็ตมีมในสื่อสังคมออนไลน์ที่ใช้ในการสื่อสารทางการเมืองต่อการคัดค้าน ...
  • Thumbnail

    ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการแบ่งปันวิดิโอคลิปสำหรับการตลาดแบบไวรัล (Viral Marketing) โดยใช้สื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ 

    มาริสา อานิต้า ฟันเดอรวาวเดอะ; กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014)

    การวิจัยเรื่องปัจจัยที่ก่อให้เกิดการแบ่งปันวิดีโอคลิปสำหรับการตลาดแบบไวรัล (Viral Marketing)โดยใช้สื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ คือ 1) เพื่อศึกษาลักษณะเนื้อหาโฆษณาที่ได้ความนิยมใน การแบ่งปันวิดีโอออนไลน์ 2) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ก่อให้เกิดการแบ่งปันวิดีโอคลิปบนเครือข่ายสังคม ออนไลน์ การวิจัยครั้งใช้การวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Method) กล่าวคือ ส่วนที่ 1 การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) กับผู้เกี่ยวข้องด้านสื่อ ดิจิตอล (Digital Media) จำนวน 5 คน เพื่อศึกษาถึงแนวทางลักษณะเนื้อหาโฆษณาที่ใช้เผยแพร่ ...
  • Thumbnail

    เลิฟซิกเดอะซีรี่ส์ : การสร้างความผูกพันของกลุ่มแฟนผ่านเล่าเรื่องข้ามสื่อใบริบทชายรักชาย 

    ศักย์ศรณ์ ศรีประสงค์; กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    การวิจัยนี้มีวตัถุประสงค์เพื่อ(1) ศึกษารูปแบบการเล่าเรื่องข้ามสื่อ(2) ศึกษาสัมพันธบท ของการเล่าเรื่องข้ามสื่อ และ (3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างตัวบทในการเล่าเรื่องข้ามสื่อ เพื่อ สร้างความผูกพันของกลุ่มแฟนละครเลิฟซิกเดอะซีรี่ส์ในบริบทชายรักชาย โดยใช้วิธีวิจัยเชิง คุณภาพประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึกจาก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยผลการวิจยัพบว่า (1) รูปแบบการเล่าเรื่องข้ามสื่อเพื่อสร้างความผูกพันของกลุ่มแฟนละครเลิฟซิกเดอะซีรี่ส์ ในบริบทชายรักชาย แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่การเล่าเรื่องด้วยภาพประกอบข้อความ ...