Browsing GSCM: Theses by Author "พรพรรณ ประจักษ์เนตร"
Now showing items 1-20 of 35
-
กระบวนการสื่อสารเพื่อผลักดันพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560
อุรพี จุลิมาศาสตร์; พรพรรณ ประจักษ์เนตร (คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ, 2018)
การวิจัยเรื่อง “กระบวนการสื่อสารเพื่อผลักดันพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560” มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 3 ข้อ 1. เพื่อศึกษากระบวนการสื่อสารในการสนับสนุนพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 2. เพื่อศึกษากระบวนการสื่อสารในการคัดค้านพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 และ 3. เพื่อศึกษาผลกระทบของการผลักดันพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยใช้เครื่องมือในการวิจัย 3 รูปแบบ ประกอบด้วย การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพ (Qualitative Content Analysis) ที่ได้จาก การเก็บกฤตภา ... -
กระบวนการเปลี่ยนแปลงสื่อพื้นบ้านการฟ้อนเล็บฟ้อนเทียน
วลัญช์ภัทร จียังศุวัต; พรพรรณ ประจักษ์เนตร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
งานวิจัยเรื่อง “กระบวนการเปลี่ยนแปลงสื่อพื้นบ้านการฟ้อนเล็บฟ้อนเทียน” มี วัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางองค์ประกอบของสื่อพื้นบ้านการฟ้อนเล็บฟ้อนเทียน 2) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงบทบาทของสื่อพื้นบ้านการฟ้อนเล็บฟ้อนเทียน 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสื่อพื้นบ้านการฟ้อนเล็บฟ้อนเทียน งานวิจัยเรื่องนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการเก็บข้อมูล ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งหมด 16 ท่าน ได้แก่ กลุ่มอาจารย์ที่วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่จำนวน 3 ... -
กลยุทธ์การจัดการแฟนคลับที่ส่งผลต่อการรับรู้ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมกับบอยแบนด์ไทยของแฟนคลับ
ณัฏฐนิตย์ ปกป้อง; พรพรรณ ประจักษ์เนตร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)
งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษากลยุทธ์การสร้างแบรนด์บุคคลและการจัดการแฟนคลับของผู้ผลิตวงบอยแบนด์ไทย 2) ศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อ การรับรู้ ทัศนคติ การเพิ่มการรับรู้ตัวตน การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริง และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าที่เกี่ยวกับวงบอยแบนด์ไทยของแฟนคลับ และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการการเปิดรับสื่อ การรับรู้ ทัศนคติเกี่ยวกับวงบอยแบนด์ไทย การเพิ่มการรับรู้ตัวตน การปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริง และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าที่เกี่ยวกับวงบอยแบนด์ไทยของแฟนคลับ งานวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ... -
กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดและการรับรู้ภาพลักษณ์ของสำนักพิมพ์บนเครือข่ายสังคมออนไลน์
ชนาภา เลิศวุฒิวงศา; พรพรรณ ประจักษ์เนตร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014)
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารการตลาดของสานักพิมพ์บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เกี่ยวข้องจาก 3 สานักพิมพ์ Salmon Books สานักพิมพ์ A book และสานักพิมพ์ Happening และเพื่อศึกษาการรับรู้ข่าวสาร การรับรู้ภาพลักษณ์ด้านการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ และความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ข่าวสารและภาพลักษณ์ด้านการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ของสานักพิมพ์บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างที่เข้าใช้งานบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทเฟซบุ๊ก (Facebook) ของสานักพิมพ์ขนาดกลางผู้ผลิตเนื้อหาประเภทสารคดีเชิงสร้างสรรค์ ... -
การตลาดเชิงประสบการณ์ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือน ต่อความตั้งใจซื้อคอนโดของผู้บริโภค
ณัฐวรรธน์ คูณเอนกสิน; พรพรรณ ประจักษ์เนตร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)
การศึกษาวิจัยเรื่อง การตลาดเชิงประสบการณ์ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือนต่อความตั้งใจซื้อคอนโดของผู้บริโภค มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้การตลาดเชิงประสบการณ์ผ่านการใช้กิจกรรมสอดแทรกด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือน (Virtual Reality) และ 2) เพื่อศึกษาความตั้งใจซื้อสินค้าประเภทคอนโดมิเนียมผ่านการทดลองด้วยกิจกรรมสอดแทรก วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยรูปแบบวิจัยเชิงปริมาณ โดยการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น ขอบเขตของการศึกษาได้แก่ กลุ่มผู้เข้าร่วมการวิจัย จำนวนท 40 คน อายุ 26 ปี มีฐานรายได้ต่อเดือน 20,000 บาท โดยมีลักษณะอาชีพทำงานด้านค ... -
การประกอบสร้างตัวละครชายรักชายในซีรีส์วาย
กฤตพล สุธีภัทรกุล; พรพรรณ ประจักษ์เนตร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2020)
การวิจัยเชิงคุณภาพเรื่อง “การประกอบสร้างตัวละครชายรักชายในซีรีส์วาย” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการประกอบสร้างตัวละครชายรักชายในซีรีส์วาย 2) ศึกษาคุณลักษณะของตัวละครชายรักชายในซีรีส์วาย 3) ศึกษาทัศนคติของผู้ชมที่เป็นกลุ่มชายรักชายที่มีต่อตัวละครชายรักชายในซีรีส์วาย โดยผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ตัวบทผ่านตัวละครชายรักชายจำนวน 20 ตัวละคร จากซีรีส์วาย 10 เรื่องที่ออกอากาศระหว่างปี 2558 – 2562 และทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ชมทางสังคมที่เป็นกลุ่มชายรักชายจำนวน 15 คน ผลการศึกษา พบว่า ตัวละครชายรักชายในซีรีส์วายมีลักษณะที่แตกต่างจากกลุ่มชายรักชาย ... -
การรับรู้ความน่าเชื่อถือของแหล่งสาร การรับรู้ความเสี่ยงในการสื่อสารแบบบอกต่อบนอินเทอร์เน็ตที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมประเภทวิตามิน
มณีรัตน์ จันทร์เคน; พรพรรณ ประจักษ์เนตร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)
งานวิจัยเรื่องการรับรู้ความน่าเชื่อของแหล่งสาร การรับรู้ความเสี่ยงในการสื่อสารแบบบอกต่อบนอินเทอร์เน็ตที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทวิตามินมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการรับรู้ความน่าเชื่อถือของการสื่อสารแบบบอกต่อบนอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทวิตามิน 2) เพื่อศึกษา การรับรู้ความเสี่ยงในการสื่อสารแบบบอกต่อบนอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทวิตามิน 3) เพื่อศึกษาความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทวิตามินของผู้บริโภค 4) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของลักษณะทางประชากรกับการรับรู้ความน่าเชื่อถือขอ ... -
การรับรู้รูปแบบการสื่อสารองค์การ สื่อประชาสัมพันธ์ และการสื่อสารวัฒนธรรมองค์การ ที่พยากรณ์ผลการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร
ฉันทกร แก้วเกษ; พรพรรณ ประจักษ์เนตร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อศึกษา 1) การรับรู้ 2) ความสัมพันธ์และ 3) การ พยากรณ์ระหว่างรูปแบบการสื่อสารองค์การ สื่อประชาสัมพันธ์ การสื่อสารวัฒนธรรมองค์การ และผลการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร -
การวิเคราะห์การปลูกฝังการแสดงออกความรักและรูปแบบความรักผ่านละครโทรทัศน์เกาหลี
ศุจิกานท์ ทองอ่อน; พรพรรณ ประจักษ์เนตร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการปลูกฝังการสื่อสารรูปแบบความรักและ การแสดงออกทางความรักในตัวละครของละครโทรทัศน์เกาหลี (2) ศึกษาการแสดงออกทางความ รักของตัวละครหลักในแก่นเรื่องที่ปรากฏในละครโทรทัศน์เกาหลี (3) เปรียบเทียบการแสดงออก ทางความรักของตัวละครชายหลักและตัวละครหญิงหลักในละครโทรทัศน์เกาหลี และ (4) ศึกษา ทัศนะของผู้ชมที่มีต่อรูปแบบความรักและการแสดงออกของตัวละครหลักในละครโทรทัศน์เกาหลี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพจากละครโทรทัศน์ เกาหลีที่ได้รางวัลยอดเยี่ยม Korea Drama Award ตั้งแต่ปี พ.ศ. ... -
การวิเคราะห์องค์ประกอบการตลาดเชิงประสบการณ์ที่ใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมผ่านแคมเปญสื่อสารการตลาด
ชลิดา อู่ผลเจริญ; พรพรรณ ประจักษ์เนตร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)
การวิจัยคร้ังนี้มีวตัถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบการตลาดเชิงประสบการณ์ที่ใช้ เทคโนโลยีความจริงเสริมผ่านแคมเปญสื่อสารการตลาดและศึกษาแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีความ จริงเสริมในแคมเปญการสื่อสารการตลาดในอนาคต โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การ วิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพและการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิจัยนี้วิเคราะห์ผลงานที่นำเสนอใน แคมเปญโฆษณาจาก “Cannes Lions 2015” ที่ผสมผสานเทคโนโลยีความจริงเสริมกับการสื่อสาร การตลาด จำนวน 10 แคมเปญ โดยมุ่งเน้นการวิเคราะห์องค์ประกอบการตลาดเชิงประสบการณ์ และปัจจัยส่วนประสมการตลาด สำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึกใช้การสัมภ ... -
การวิเคราะห์เนื้อหาทางด้านเพศ การใช้ภาษา ความรุนแรง ภาพตัวแทนและการเปิดรับ และทัศนคติที่มีต่อการถ่ายทอดสดบนเฟซบุ๊ก
ณัฐธิดา แขวงสวัสดิ์; พรพรรณ ประจักษ์เนตร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและปริมาณของเนื้อหาในด้านเพศ การใช้ภาษา ความรุนแรง และภาพตัวแทน ที่ปรากฏในการถ่ายทอดสดบนเฟซบุ๊ก และศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของลักษณะประชากร ต่อการเปิดรับการถ่ายทอดสดบนเฟซบุ๊ก และทัศนคติที่มีต่อเนื้อหาด้านเพศ การใช้ภาษา ความรุนแรง ภาพตัวแทน พร้อมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับ และทัศนคติของผู้รับชมการถ่ายสดบนเฟซบุ๊กที่มีเนื้อหาด้านเพศ การใช้ภาษา ความรุนแรง และภาพตัวแทน โดยระเบียบวิธีวิจัยของงานวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยแบบผสมผสาน แบ่งเป็น 2 ส่วนได้แก่ ส่วนที่ 1 การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงปริมาณ ... -
การศึกษาบทบาทของเพลงร็อคในการปลูกฝังคุณค่าและการสร้างกำลังใจในการดำเนินชีวิตของเยาวชน
ณัชชา ตั้งตรงหฤทัย; พรพรรณ ประจักษ์เนตร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
งานวิจัยเรื่อง การศึกษาบทบาทของเพลงร็อคในการปลูกฝังคุณค่าและการสร้างกำลังใจใน การดำเนินชีวิตของเยาวชนมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของสารจากเพลงร็อคในยุค ปัจจุบัน ต่อการรับรู้ของเยาวชนที่มีต่อการสร้างกำลังใจในการดำเนินชีวิต 2) เพื่อศึกษาผลกระทบ ของเพลงร็อคในยุคปัจจุบันต่อการรับรู้ของเยาวชนที่มีต่อการสร้างกำลังใจในการดำ เนินชีวติ ผู้วิจัย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อ มูล2ขั้นตอน ได้แก่ 1)การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพ จากเพลงของศิลปินวงโปเตโต้บิ๊กแอสและบอดี้แสลม ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2548-2558 ที่มียอดผู้เข้าชม ในเวปไซต์ยูทูป ... -
การศึกษาเรื่องพัฒนาการในการสื่อสารของเพลงลูกทุ่งผ่านการเล่าเรื่องตามค่านิยมของสังคมไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน
ทัศน์วศิน ธูสรานนท์; พรพรรณ ประจักษ์เนตร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
งานวิจัยเรื่อง “การศึกษา เรื่อง พัฒนาการในการสื่อสารของเพลงลูกทุ่งผานการเล่าเรื่องตาม ค่านิยมของสังคมไทย จากอดีตสู่ปัจจุบัน” มีวัตถุประสงคหลักเพื่อศึกษาพัฒนาการในการสื่อสาร ของเพลงลูกทุ่งผ่านการเล่า เรื่องตามค่านิยมของสังคมไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน วัตถุประสงค์ที่สอง เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสรรคผลงานเพลงลูกทุ่งไทย และปัจจยที่เป็นตัวกำหนดการเล่าเรื่อง ของเพลงลูกทุ่งจากอดีตสู่ปัจจุบัน และวัตถุประสงค์ที่สามพื่อศึกษาประเด็นค่านิยมของสังคมไทย จากอดีตสู่ปัจจุบันที่ เสนอผ่านเพลงลูกทุ่งในบริบทช่วง พ.ศ. 2500-2558 ซึ่งข้อมูลค่านิยมทางสังคมมักเป็นผลส้ะทอนของว ... -
การสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความตระหนักรู้สิทธิขั้นพื้นฐาน ของแรงงานเด็กข้ามชาติในชุมชนจังหวัดสมุทรสาคร
กุลฤดี นุ่มทอง; พรพรรณ ประจักษ์เนตร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วม, เพื่อวิเคราะห์ ปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยอุปสรรค, เพื่อเสริมศักยภาพการสื่อสารชุมชนด้วยกลยุทธ์การสื่อสาร อย่างมีส่วนร่วม และเพื่อศึกษาผลที่เกิดจากการเสริมศักยภาพการสื่อสารชุมชนด้วยกลยุทธ์การ สื่อสารอย่างมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความตระหนักรู้สิทธิขั้นพื้น ฐานของแรงงานเด็กข้ามชาติในชุมชน จังหวัดสมุทรสาคร เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยสร้างช่องทางการสื่อสาร อย่างมีส่วนร่วมให้กับชุมชนแรงงานข้ามชาติ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มี จำนวนแรงงานข้า ... -
การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดน่าน
ทิพย์สุดา ปานเกษม; พรพรรณ ประจักษ์เนตร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริม การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดน่าน และเพื่อพัฒนาแนวทางการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมใน การจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้วยการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้การวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Research) การสังเกต (Observation) รวมถึงการ สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากกลุ่มเป้าหมายจำนวน 3 กลุ่มคือหน่วยงานรัฐบาล ภาคธุรกิจและชุมชน รวมทั้งสิ้น 19 คน ซึ่งสามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1) รูปแบบของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดน่านมีลัก ... -
การแสวงหาข่าวสารเพื่อลดความไม่แน่นอนในการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางจากร้านค้าออนไลน์
นัชชาพร พงศ์ศรีสมชัย; พรพรรณ ประจักษ์เนตร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)
งานวิจัยเรื่อง การแสวงหาข่าวสารเพื่อลดความไม่แน่นอนในการตัดสินใจซื้อเครื่องสําอาง จากร้านค้าออนไลน์ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการแสวงหาข่าวสาร ความน่าเชื่อถือของแหล่งสารด้านวัจนภาษาและอวัจนภาษา การปฏิสัมพันธ์กับเครือข่ายสังคม ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด กับการลดความไม่แน่นอนในการตัดสินใจซื้อเครื่องสําอางจากร้านค้า ออนไลน์ของผู้บริโภคเพศหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร และ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการลดความ ไม่แน่นอนในการตัดสินใจซื้อเครื่องสําอางออนไลน์ จํานวน 400 คน ด้วยแบบสอบถามออนไลน์ ผลการวิจัยพบว่า การแสวงหาข่าวสารเกี่ ... -
การแสวงหาข้อมูล ความไม่แน่นอน พฤติกรรมสอดส่องและความหึงหวงของผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก
ชริตา ปรมะธนวัฒน์; พรพรรณ ประจักษ์เนตร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างและทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการแสวงหาข้อมูล ความไม่แน่นอน พฤติกรรมสอดส่องเฟซบุ๊ก และความหึงหวง เพื่อหาตัวแปรที่มีประสิทธิภาพในการพยากรณ์หรือทำนายการเกิดความหึงหวงของผู้ใช้งานเฟซบุ๊กที่มีประสบการณ์ด้านความสัมพันธ์แบบคู่รัก งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้การแจกแบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ชายและหญิง อายุ 25 - 34 ปี ที่มีการใช้งานเฟซบุ๊กและกำลังอยู่ในความสัมพันธ์แบบคู่รักและศึกษาดูใจกัน ทั้งที่สมรสและยังไม่ได้สมรส จำนวน 400 คน โดยพบผลวิจัยดังนี้ (1) เพศหญิงมีพฤติกรรม ... -
การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ จากข่าวสารการลงทุนทางการเงินของผู้ลงทุนประเภทบุคคลในยุคสารสนเทศการสื่อสาร
ธนพร กุมภิรักษ์; พรพรรณ ประจักษ์เนตร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)
การศึกษาการใช้ประ โยชน์และความพึงพอใจ จากข่าวสารการลงทุนการเงินของผู้ลงทุน ประเภทบุคคลในยุคสารสนเทศการ สื่อสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่าง ระหว่างลักษณะทางประชากร กับการแสวงหารข่าวสารการลงทุนทางการเงิน การ ใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจข่าวสารการลงทุนทางการเงิน เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างการแสวงหา ข่าวสาร ในยุคสารสนเทศ กับการใช้ประ โยชน์และความพึงพอใจข่าวสารการลงทุนทางการเงิน การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักลงทุนประเภทบุคคล ผู้ใช้สื่อออนไลน์จำนวน 400 คน วิธีดำเนินการวิจัยได้อ ... -
การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจในการแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับอาหารของกลุ่มพ่อบ้านและกลุ่มแม่บ้านบนสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก
ศิรัส ปั้นเก่า; พรพรรณ ประจักษ์เนตร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับอาหารของกลุ่มพ่อบ้านและกลุ่มแม่บ้านบนสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ค โดยการประยุกต์ใช้แนวคิดและทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊คอายุระหว่าง 25 – 65 ปี ที่มีประสบการณ์แบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับอาหารในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา และเป็นสมาชิกกลุ่มสังคมบนสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊คเกี่ยวกับการทำอาหารในครัวเรือนที่มีจำนวนสมาชิกกลุ่มเกินหนึ่งหมื่นคนขึ้นไป ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2559 ผ่านแบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 414 คน ... -
ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณภาพเครือข่ายสังคมออนไลน์ในกลุ่มผู้ใช้เฟซบุ๊กแฟนเพจ การสื่อสารแบบมีส่วนร่วม ทัศนคติ และพฤติกรรมจิตอาสาต่อการช่วยเหลือสัตว์จากการเจ็บป่วย-อุบัติเหตุ
เบญญา คำนวณศิลป์; พรพรรณ ประจักษ์เนตร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณภาพเครือข่ายสังคมออนไลน์ในกลุ่มผู้ใช้เฟชบุ๊กแฟนเพจ การสื่อสารแบบมีส่วนร่วม ทัศนคติ และ พฤติกรรมจิตอาสาต่อการช่วยเหลือสัตว์จากการเจ็บป่วย - อุบัติเหตุ งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ซึ่งเป็นผู้ที่กดติดตามเฟชบุ๊กแฟนเพจอายุ 13 ปีขึ้นไป ที่มีประสบการณ์ในการเป็นสมาชิกแฟนเพจเกี่ยวกับการช่วยเหลือสัตว์จากการเจ็บป่วย - อุบัติเหตุในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา