• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

รูปแบบการบริหารที่เหมาะสมในการจัดการของเสียอันตรายในบ้านเรือนประชาชนในเขตจังหวัดนครราชสีมา

by ชาญศักดิ์ สุภรโภคี

Title:

รูปแบบการบริหารที่เหมาะสมในการจัดการของเสียอันตรายในบ้านเรือนประชาชนในเขตจังหวัดนครราชสีมา

Other title(s):

Appropriate administrative model for managing household hazardous waste management in Nakhonratchasima Province

Author(s):

ชาญศักดิ์ สุภรโภคี

Advisor:

วิสาขา ภู่จินดา

Degree name:

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

การจัดการสิ่งแวดล้อม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2012

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ของเสียอันตรายในบ้านเรือนประชาชน ตลอดจนปัญหาอุปสรรคในการจัดการของเสียอันตรายในบ้านเรือนประชาชน และหารูปแบบการ บริหารที่เหมาะสมในการจัดการของเสียอันตรายในบ้านเรือนประชาชน โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไปในเขตจังหวัดนครราชสีมา ด้วยการแจกแบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์ จำนวน 480 ตัวอย่างและใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ( In-depth Interview ) ในกลุ่มผู้บริหารราชการ ส่วนท้องถิ่นและผู้นำชุมชนจำนวน 16 คน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การแจกแจงความถี่ และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ Chi-Square Test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า ในปี 2555 จังหวัดนครราชสีมา มีปริมาณของเสียอันตรายในปี 2554 รวมทั้งสิ้น 475 ตัน โดยของเสียอันตรายส่วนใหญ่เป็นถ่านไฟฉาย คิดเป็นร้อยละ 56.93 รองลงมา เป็นหลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซ้นต์ คิดเป็น ร้อยละ 28.61 และภาชนะใส่สารเคมีกำจัดศัตรูพืช คิดเป็ นร้อยละ 9.88 ส่วนที่เหลือเป็ นภาชนะใส่น้ำมันเครื่องรถยนต์ ภาชนะใส่น้ำมันเครื่องรถมอเตอร์ไซค์ กระป๋องสเปรย์ แบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ แบตเตอรี่รถยนต์และอื่นๆ ในด้านปัญหาอุปสรรคพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความตระหนัก ขาดการมีส่วนร่วมกับทางราชการ ขาดองค์ความรู้ด้านการจัดการของเสียอันตรายในบ้านเรือน นอกจากนี้ราชการส่วนท้องถิ่น(เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล) ยังไม่มีศักยภาพเพียงพอในการจัดการของเสียอันตรายในบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่ของตนเอง และขาดการสนับสนุนวิชาการจากหน่วยงานราชการส่วนกลางราชการส่วนภูมิภาคที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยด้านการบริหารจัดการของเสียอันตรายในบ้านเรือนประชาชน พบว่า เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่เป็นศูนย์กลางเป็นผู้บริหารจัดการของเสียอันตราย คิดเป็นร้อยละ 85 รองลงมาประชาชนบริหารจัดการเอง คิดเป็นร้อยละ 10 ส่วนที่เหลือองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาและโรงพยาบาลของรัฐเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการ จากการทดสอบสมมติฐาน เพศ อายุ รายได้ ระดับการศึกษา ของประชาชนที่แตกต่าง มีผลต่อการจัดการของเสียอันตรายในบ้านเรือนประชาชนที่แตกต่างกันในทุกๆด้าน ได้แก่ การคัดแยก การรวบรวม การขนส่ง การบำบัด และการกำจัด อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับนัยสำคัญ .05 สำหรับความรู้ความเข้าใจด้านการจัดการของเสียอันตรายในบ้านเรือนของประชาชนที่แตกต่างกัน มีผลต่อการจัดการของเสียอันตรายในบ้านเรือนที่แตกต่างกัน ในด้านการคัดแยก การบำบัด การ กำจัด ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ในด้านทัศนคติด้านการจัดการของเสียอันตรายในบ้านเรือนของ ประชาชนที่แตกต่างกัน จะมีการจัดการของเสียอันตรายในบ้านเรือนของประชาชนที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับนัยสำคัญ .05 ในด้านการบำบัดและกำจัดของเสียอันตรายในบ้านเรือน ประชาชนต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ประชาชนไม่สามารถ บริหารจัดการได้ด้วยตนเอง ดังนั้นรูปแบบการบริหารที่เหมาะสมในการจัดการของเสียอันตรายใน บ้านเรือนประชาชนในเขตจังหวัดนครราชสีมาก็คือ การบริหารจัดการโดยมีภาครัฐได้แก่ องค์การ บริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา หรือเทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบลหรือโรงพยาบาลของ รัฐเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการ
The objectives of this study were to study household hazardous waste’s situation in Nakhon Ratchasima province, to investigate obstacle and problems in household hazardous waste management and therefore to suggest appropriate administrative model for managing household hazardous waste management. Four hundred and eighty householders having age over 15 year in Nakhon Ratchasima province were samples of this study and they were selected by using quota and random sampling techniques. In addition, sixteen local government and community leaders were key informants of this study. Questionnaires and interview were use to collect data. Data was analyzed by using descriptive statistics including percentage, average and frequency. Inferential statistics i.e. Chi-Square was used to test hypotheses at 0.05 level of significance. The results showed that total amount of household hazardous waste in year 2012 were about 475 tons which were composed of a flash light battery of 56.93 percent, followed by a fluorescent light bulb of 28.61 percent and chemical and pesticides containers of 9.88 percent. The less of them were car-oil containers, motorcycle oil containers, spray, mobile phone battery and car batteries. The problems of household waste management involve lack of awareness, lack of participation of government sector, lack of knowledge on the management of household hazardous waste. In addition, local government (municipal and administrative district) have no potential in the management of household hazardous waste in their areas. They need a support from a central government and relevant provincial government units. It was found that the management of household hazardous waste. by municipal and sub-district administrative organization was found the most (85 percent), followed by community themselves (10 percent) and provincial administrative organization and hospitals, respectively. The results of the hypotheses test showed that people having different gender, age, income and education have different management of household hazardous waste in terms of waste segregation, waste collection, waste transportation, waste treatment and waste disposal at a significance level of .05. In addition, people having different knowledge on household hazardous waste have different management of household hazardous waste in terms of waste segregation, waste treatment and waste disposal at a significance level of .05 while people having different attitudes on household waste management have different management of household hazardous waste in terms of waste segregation, waste transportation, waste treatment and waste disposal at a significance level of .05. Suggestions of this study include three appropriate model of household hazardous waste management i.e. the management by 1) provincial administrative organization or 2) municipal and sub-district administrative organizations or 3) hospitals in areas near community.

Description:

วิทยานิพนธ์ (วท.ม.(การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2555.

Subject(s):

ของเสียอันตราย -- ไทย -- นครราชสีมา -- การจัดการ

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

12, 146 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2916
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b182826.pdf ( 1,306.79 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [559]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×