ความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับชุมชน กรณีศึกษา วัดนามสมมุติกับ ชุมชน นามสมมุติ จังหวัดกาญจนบุรี
by ดำรงค์ศักดิ มีสุนทร
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับชุมชน กรณีศึกษา วัดนามสมมุติกับ ชุมชน นามสมมุติ จังหวัดกาญจนบุรี |
Other title(s): | Relationship between the temple and the community a case study to the temple wand the community in Kanchanaburi Province |
Author(s): | ดำรงค์ศักดิ มีสุนทร |
Advisor: | สุวิชา เป้าอารีย์ |
Degree name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | ปริญญาโท |
Degree discipline: | การบริหารการพัฒนาสังคม |
Degree department: | คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2013 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับชุมชน 2) เพื่อศึกษาเงื่อนไขความร่วมมือระหว่างวัดกับชุมชนในด้านการพัฒนาชุมชน 3) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทางในการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับชุนชน การศึกษางานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ชิ้นนี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ (Key Informant) โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) จากพระสงฆ์ 4 รูป ผู้นำชุมชน 2 คน ข้าราชการ 5 คน ชาวบ้าน 13 คน รวมทั้งสิ้น 24 คน โดยใช้แนวทางการสัมภาษณ์ แบบเจาะลึก (In-depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ (Key-Informant) และวิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation)
ผลการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับชุมชนโดยภาพรวมยังถือว่ายังมีความสัมพันธ์ที ดีต่อกัน ด้วยตัวชุมชนเองเป็นชุมชนชนบทขนาดเล็กที ยังไม่เข้าถึงต่อวัฒนธรรมเมืองมากนัก ชุมชนจึงมีระบบการพึ งพาอาศัยกันในรูปแบบเครือญาติค่อนข้างสูง รวมทั้งยังมีปัจจัยอื่นที่เข้ามาสนับสนุนให้ชุมชนเกิดความสามัคคีต่อกัน เช่น ระบบความเชื่อ ลักษณะนิสัยชุมชน, บทบาทของสงฆ์-วัด, นโยบายพัฒนาชุมชนของวัดและโรงเรียน ที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างวัดและชุมชน
เงื่อนไขความร่วมมือระหว่างวัดกับชุมชนในมิติการพัฒนา จากการศึกษาพบว่า พฤติกรรมเอื้อเฟื้อเผื่แแผ่ของชาวบ้านที่การยึดถือผ่านลักษณะนิสัยชุมชน ความเชื่อ และการคาดหวังผลประโยชน์ทางสังคม ได้หลอมรวมชุมชนเข้าด้วยกันให้มีน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ส่งผลให้ทำให้ชุมชนเกิดความร่วมมือได้ง่าย
ปัญหาอุปสรรคที่คาดว่าอาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต 2 สาเหตุ ได้แก่ (1) ผลพวงของการ พัฒนาชุมชน คาดว่าอนาคตทั้งชุมชนและวัดจะมีการพัฒนาที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น อาจทำให้บริบทและวิถีชีวิตของชุมชนต้องเปลี่ยนแปลงไป เหมือนดังที่เคยเกิดขึ้นมาในอดีต ซึ่งอาจจะส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับชุมชนจำต้องห่างเหินกันมากยิ่งขึ้น (2) บทบาทของพระสงฆ์ จากงานวิจัยมองว่า ถ้าชุมชนและวัดไม่เตรียมแผนการปรับตัวให้สอดคล้องกับบริบทชุมชนที่เปลี่ยนแปลงไป ความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับชุมชนอาจประสบกับปัญหาขึ้นซ้ำรอยเดิมดัง ในอดีต แนวทางส่งเสริมความสัมพันธ์ทีจะเกิดขึ้นในอนาคตสำหรับวัด จำต้องใช้หลักธรรมาภิบาล ขึ้นมาให้อยู่ภายใต้การบริหารจัดการทั้ง 6 องค์ประกอบ อันได้แก่ (1) หลักนิติธรรม (2) หลักคุณธรรม (3) หลักความโปร่งใส (4) หลักการมีส่วนร่วม (5) หลักความรับผิดชอบ (6) หลักความคุ้มค่า ซึ่งมันจะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งและภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่วัด การศึกษาครั้งนี้มองว่า ในอนาคตข้างหน้าวัดจะมีการพัฒนาสิ่งต่างๆ ให้เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น อาทิ อาคารสถานที่บุคลากร ของวัดที่เพิ่มขึ้น ถ้าทางวัดไม่ปรับแผนการบริหารองค์กรและบุคลากรให้สอดคล้องกับยุคสมัย วัดจะเกิดปัญหาต่อความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับชุมชนได้ในอนาคต |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2556. |
Subject(s): | วัดกับชุมชน -- ไทย -- กาญจนบุรี |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 11, 152 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2918 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|