Now showing items 36-55 of 119

  • Thumbnail

    การประเมินความเสี่ยงด้านนิเวศพิษวิทยาจากการตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ในระบบนิเวศนาข้าว จังหวัดชัยนาท : กรณีศึกษาเป็ดไล่ทุ่ง 

    ภัทราวดี วัฒนสุนทร; จินตนา อมรสงวนสิน (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    จากปัญหาการใช้สารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ที่มากเกินไปของเกษตรกรในปัจจุบันได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของเกษตรกร รวมถึง สุขภาพของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในระบบนิเวศนั้นๆ เป็นอย่างมาก ดังนั้นผู้เขียนจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหานี้ จึงได้ทำการศึกษาการประเมินความเสี่ยงจากการตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ในระบบนิเวศนาข้าว จังหวัดชัยนาท กรณีศึกษา เป็ดไล่ทุ่ง จึงมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาชนิดและปริมาณของการตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ในนาข้าวที่มีการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งของจังหวัดชัยนาท 2) เพื่อศึกษาเส้นทางการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ของ ...
  • Thumbnail

    การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรและแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างยั่งยืนของสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 

    พัชรี ศรีรอด; วิสาขา ภู่จินดา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)

    การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และเสนอแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างยั่งยืนของสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากรายงานการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกขององค์กรของสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 16 ภาค ในปีงบประมาณ 2559 (เดือนตุลาคม 2558 ถึงเดือนกันยายน 2559) แบบสอบถามข้อมูลและประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 7 (สระบุรี) ในปีงบประมาณ 2560-2561 ซึ่งมีการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์เป็นค่าคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2e) ที่เกิดจากกิจกรรม ...
  • Thumbnail

    การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์และแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบยั่งยืนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศีกษา สำนักงานเขตบางแค 

    นันทญา เขียวแสวง; จินตนา อมรสงวนสิน (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแหล่งกําเนิดปริมาณของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสํานักงานเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรตลอดจนวิเคราะห์หาแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของกิจกรรมในองค์กรโดยใช้หลักการพัฒนาแบบยั่งยืน สําหรับใช้ในสํานักงานเขตบางแค เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามตัวแทนหน่วยงานทั้งหมด 10 หน่วยงานและการสัมภาษณ์ บุคลากรของสํานักงานเขตบางแค จํานวน 643 คน โดยการคํานวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์เป็นค่าคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO 2 e) ที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ และก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งใช้แนวทางการป ...
  • Thumbnail

    การประเมินน้ำต้นทุนเเละความต้องการใช้น้ำเกษตรกรรมในพื้นที่ลุ่มน้ำยม 

    อนิรุจน์ คำนล; ฆริกา คันธา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)

    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความเพียงพอของน้ำในปัจจุบันจากสถานการณ์ปริมาณน้ำต้นทุนและความต้องการใช้น้ำด้านเกษตรกรรม และประเมินสถานการณ์ของน้ำต้นทุนและความต้องการใช้น้ำเพื่อการเกษตรกรรมในอนาคตจากปัจจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในปี พ.ศ. 2564 นำไปสู่จัดทำข้อเสนอแนะในด้านการบริหารจัดการน้ำต้นทุนให้เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำเพื่อการเกษตรกรรม ผลการศึกษาความเพียงพอของน้ำรายปีพบว่า ลุ่มน้ำควน แม่น้ำยมตอนบน น้ำปี้ และน้ำแม่มอกเป็นลุ่มน้ำที่มีน้ำต้นทุนมีเพียงพอ น้ำงาว น้ำแม่คำมี น้ำแม่ต้า ห้วยแม่สิน ...
  • Thumbnail

    การประเมินประสิทธิผลศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชนของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 

    รุจิรา ทนงกิจ; จำลอง โพธิ์บุญ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชน ของส่วนพลังงานชุมชน ฝ่ายกิจการเพื่อสังคม บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และ 2) ศึกษาปัจจัย ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานและผลสำเร็จศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชน ของส่วนพลังงานชุมชน ฝ่ายกิจการเพื่อสังคม บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) โดยใช้กรอบแนวการศึกษา ตามรูปแบบ CIPP Model กับรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับคณะกรรมการศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชนทั้ง 4 ภูมิภาค จำนวน 78 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา สถิติอนุมาน และพรรณาความ ผลการศึกษาจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ...
  • Thumbnail

    การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนตามอนุสัญญาว่าด้วยการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในบริบทข้ามพรมแดน ค.ศ. 1991 

    สิทธิ หลีกภัย; จำลอง โพธิ์บุญ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนตามอนุสัญญาว่าด้วยการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในบริบทข้ามพรมแดน ค.ศ. 1991 และ 2) ศึกษาแนวทางในการนำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนตามอนุสัญญาว่าด้วยการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในบริบทข้ามพรมแดน ค.ศ. 1991 ไปใช้ในทางปฏิบัติ ในการศึกษาได้ใช้วิธีการเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการพรรณนาตรรกะ (Logical Descriptive Analysis) โดยข้อมูลในการศึกษาชิ้นนี้คือข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) โดยศึกษาและเก็บข้อมูลจากตำรา บทความทางวิชาการ ...
  • Thumbnail

    การประเมินผลการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 

    ปัญญาทร หวังชูธรรม; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างยาวนานและมีประสิทธิภาพ จึงเป็นที่น่าสนใจว่า สถาบันฯ มีแนวทางในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงาน ประเมินผลการดำเนินงาน รวมถึงปัญหา และอุปสรรคที่มีผลต่อการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันฯ และเสนอแนะ แนวทางพัฒนาการดำเนินงานดังกล่าวงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้หลักการประเมินผลเชิง ดุลยภาพ (Balanced Scorecard) ในการศึกษา เก็บรวมรวมข้อมูลโดยกา ...
  • Thumbnail

    การประเมินผลการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา 

    ริญญาภัทร์ ภูวโรจน์พิบูล; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)

    งานวจิยัคร้ังน้ีเป็นงานวจิยัเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อประเมินประสิทธิผลและเสนอแนวทางในการ พัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา โดยเก็บรวบรวมข้อมูล จากการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโครงการ ประกอบด้วยประชาชนและ ผู้นำชุมชนในพื้นที่โครงการ หน่วยงานราชการส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น เจ้าของโครงการ บริษัทที่ปรึกษา นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม และองค์การพัฒนา ...
  • Thumbnail

    การประเมินผลการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการสะพานข้ามอ่างเก็บน้ำลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์ 

    รุจิกานต์ เสนาคง; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการพัฒนาประเทศเป็นสิ่งจําเป็นต่อการยกระดับ คุณภาพชวีตประชาชน อย่างไรก็ตามการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ จําเป็นต้องพิจารณา ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจจะเกิดขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลระบบ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ปัญหาและอุปสรรค รวมถึงเสนอแนวทาง การปรับปรุงระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาโครงการสะพานข้ามอ่างเก็บน้ำลําปาว จังหวัดกาฬสินธุ์โดยใช้ระเบียบวิธีวีจิยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษา พบว่า การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ มีการดำเนินก ...
  • Thumbnail

    การประเมินผลระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย กรณีศึกษาโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรองสายสีทอง 

    เขมณัฏฐ์ รัตนนิกรเจริญ; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อประเมินผลระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรองสายสีทอง ตลอดจนปัญหาอุปสรรคในการประเมินผล กระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการฯ รวมท้ังนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงระบบการประเมินผล กระทบสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิง คุณภาพ (Qualitative Research) ที่ได้ประยุกต์ใช้ตัวแบบการประเมินผล CIPP Model มาเป็นกรอบ แนวคิดในการศึกษาและโดยปรับรูปแบบให้เหมาะสมกับการประเมินผลระบบการประเมินผล กระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยมีองค์ประกอบที่นำมาพิจารณา 5 องค์ประกอบหลัก คือ ...
  • Thumbnail

    การประเมินศักยภาพสิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่ในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน : กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา 

    ศุภกร เทกมล; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2020)

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอพื้นที่และแนวทางการจัดการที่เหมาะสมในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในจังหวัดสงขลา  งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้กระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่ (Regional Environmental Assessment : REA) มีเกณฑ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี จากนั้นให้ค่าน้ำหนักด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (Analytic Hierarchy Process : AHP) ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) เพื่อรับฟังความคิดเห็น ผลจากการศึกษาพบว่า ตำบลสะบ้าย้อย อำเภอสะบ้าย้อย ...
  • Thumbnail

    การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) ของยุทธศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ : กรณีศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี 

    จิรนนท์ พุทธา; จำลอง โพธิ์บุญ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษายุทธศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษของจังหวัดกาญจนบุรี 2) เพื่อประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมจากทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางในการป้องกันและบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์ 3 ทางเลือก ได้แก่ 1) คือ ไม่นำยุทธศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษมาใช้ 2) คือ มีการนำยุทธศาสตร์บางยุทธศาสตร์มาใช้ และ 3) คือ นำยุทธศาสตร์ทั้งหมดมาใช้ การประเมินใช้กระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น (Analytical Hierarchy Process: AHP) โดยการเปรียบเทียบระหว่างทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์ทั้ง 3 ...
  • Thumbnail

    การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์: ทางเลือกในการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย 

    เฉลิมวุฒิ อุตโน; จำลอง โพธิ์บุญ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)

    การวิจัยนี้ศึกษายุทธศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย และกำหนดทางเลือกในการพัฒนาและประเมินผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จากทางเลือกในการพัฒนาดังกล่าว เพื่อเสนอทางเลือกในการพัฒ นาที่จะส่งผลด้านลบน้อยที่สุด แต่มีผลด้านบวกมากที่สุดต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการป้องกันและบรรเทาผล ด้านลบจากทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์ 3 ทางเลือก ได้แก่1) ไม่มีการนำยุทธศาสตร์การพัฒนาเขต เศรษฐกิจพิเศษมาใช้ 2) มีการนํายุทธศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษบางยุทธศาสตร์มาใช้ 3) มีการนำยุทธศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทั้งหมดมาใช ...
  • Thumbnail

    การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย 

    ดวงรัชนี เต็งสกุล; จำลอง โพธิ์บุญ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและประเมิบผลกระทบของแผบยุทธศาสตร์การพัฒณา เขตเศรษฐกิจพิเศษ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราช โดยใช้หลักการประเมินสิ่งแวคล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment: SEA) ประกอบการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเสนอแนวทางป้องกันหรือบรรเทาผลกระทบที่คาคว่จะเกิดขึ้น โดยการเปรียบเทียบทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์จาก 3 ทางเลือก ได้แก่ ทางเลือกที่ 1 ไม่นำยุทธศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษไปดำเนินการในพื้นที่ ทางเลือกที่ 2 นำยุทธศาสตร์ที่เสนอตามแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ 3 ยุทธศาสตร์มาดำเนินการ และทางเลือกที่ 3 ...
  • Thumbnail

    การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด 

    เมวิกา คำแสนราช; จำลอง โพธิ์บุญ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)

    งานศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทางเลือกระดับยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน อ.คลองใหญ่ จ.ตราด 2) ประเมินผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ของทางเลือกดังกล่าว รวมทั้งเสนอแนะทางเลือกระดับยุทธศาสตร์ที่เหมาะสม โดยได้เสนอทางเลือกระดับยุทธศาสตร์ในการพัฒนา 3 ทางเลือก ได้แก่ ทางเลือก 1 มีการดำเนินการตามแผนและยุทธศาสตร์ทุกด้าน ประกอบด้วย 4 กิจการเป้าหมาย ทางเลือก 2 มุ่งเน้นการดำเนินการตามแผนและยุทธศาสตร์บางด้าน ประกอบด้วย 3 กิจการเป้าหมาย และทางเลือก 3 มุ่งเน้นการดำเนินการตามแผนและยุทธศาสตร์บางด้าน ประกอบด้วย 2 ...
  • Thumbnail

    การปรับตัวต่อผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลแหลมฟ้าผ่าและชุมชน อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ 

    ฉัตรกนก บุญญภิญโญ; จำลอง โพธิ์บุญ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับ/ภาวะคุกคาม ความเสี่ยง และ ความอ่อนไหวต่อการกัดเซาะชายฝั่งและศึกษาผลของแผนงานและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหาร จัดการความเสี่ยงที่เกิดขึ้น เพื่อนำมาวิเคราะห์ความเปราะบางของพื้นที่และเสนอแนะแนวทางในการปรับตัวที่เหมาะสมขององค์การบริหารส่วนตำบลแหลมฟ้าผ่าและชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบล ผู้นำชุมชนและผูอ้ยู่อาศัยในชุมชนการเข้าร่วมการประชุมเพื่อวางแผนการดำ เนินการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ระหว่างองค์การบริหารส่วน ตำบลและชุมชน การสังเกตการณ์ในพื้นที่และการศึกษาเอกสารที ...
  • Thumbnail

    การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนในตำบลสิงหนาท อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 

    เมธาวี บุหงาเรือง; วิสาขา ภู่จินดา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)

    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชนและความต้องการของนักท่องเที่ยวในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ รวมทั้งการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนจากการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของตำบลสิงหนาท เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนสิงหนาท โดยทำการสัมภาษณ์หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลสิงหนาท คือ นายก ปลัด และผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม และประชาชนในพื้นที่ ได้แก่ ตัวแทนจากกลุ่มกิจกรรมทั้ง 5 กลุ่ม คือ กลุ่มล่องเรือ กลุ่มพิพิธภัณฑ์ กลุ่มเกษตรกรรม กลุ่มโซลาร์เซลล์ และกลุ่มปศุสัตว์ ...
  • Thumbnail

    การพัฒนาคุณภาพการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียของโรงงานเอทานอลโดยการผสมกากมันสำปะหลัง ผักตบชวา และน้ำเสียจากฟาร์มสุกร 

    ดำเนินทราย ทรัพย์ไพศาล; วิสาขา ภู่จินดา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    น้ำวีนัสเป็นน้ำ เสียจากการผลิตเอทานอลมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้น จากเป้าหมายการใช้เอทานอลที่สูงขึ้นตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ปี2558-2579 ดังนั้น งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ในการทำการทดลองหมักน้ำ วีนัส ด้วยของผสม 3 ชนิด คือ กากมันสำปะหลัง ผักตบชวา และน้ำเสียจากฟาร์มสุกร เพื่อศึกษาความเหมาะสมของชนิดของของผสม และอัตราส่วนของการผสมโดยทำการหมักของผสมในอัตราส่วนที่ร้อยละ10, 30 และ50 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ค่าความ เป็นกรดด่างเริ่มต้น ให้อยู่ในช่วง 6.5 – 7.5 และทำการหมักที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 40 วัน แล้วนำก๊าซที่เกิดขึ้นมาวิเคราะห์ปริมาณก๊าซมีเทน ...
  • Thumbnail

    การพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมในการจัดตั้งเตาเผาขยะเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า จังหวัดอุดรธานี 

    สุภาพร ศรีหริ่ง; วรางคณา ศรนิล (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014)

    การศึกษาการพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมในการจัดตั้งเตาเผาขยะเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า จังหวัดอุดรธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และอุปสรรค ของการกำจัดขยะมูลฝอยในจังหวัดอุดรธานี (2) ศึกษาความคิดเห็นและการยอมรับของประชาชนที่มีต่อการจัดตั้งเตาเผาขยะเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า จังหวัดอุดรธานี (3) ศึกษาความคุ้มค่าทางการเงินของผู้ลงทุนโครงการจัดตั้งเตาเผาขยะเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า จังหวัดอุดรธานี และ (4) เสนอแนะรูปแบบที่เหมาะสมในการจัดตั้งเตาเผาขยะเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าของจังหวัดอุดรธานี โดยตัวอย่างที่ทำการศึกษา คือ ประชากรที่อยู่อาศัยในเขตอำเภอเมือง ...
  • Thumbnail

    การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม : กรณีศึกษาชุมชนบ้านทุ่งศรี อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ 

    ลักษมี เกตุสกุล; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    ในอดีตประเทศไทยมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลัก ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ตามมา โดยเฉพาะการจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในระดับท้องถิ่น ที่ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างเหมาะสม ทำให้การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จและปัญหาหรืออุปสรรคของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชนบ้านทุ่งศรี จังหวัดแพร่ และเสนอแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม ...