Browsing คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม by Title
Now showing items 50-69 of 111
-
การพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมในการจัดตั้งเตาเผาขยะเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า จังหวัดอุดรธานี
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014);
การศึกษาการพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมในการจัดตั้งเตาเผาขยะเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า จังหวัดอุดรธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และอุปสรรค ของการกำจัดขยะมูลฝอยในจังหวัดอุดรธานี (2) ศึกษาความคิดเห็นและการยอมรับของประชาชนที่มีต่อการจัดตั้งเตาเผาขยะเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า จังหวัดอุดรธานี (3) ศึกษาความคุ้มค่าทางการเงินของผู้ลงทุนโครงการจัดตั้งเตาเผาขยะเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า จังหวัดอุดรธานี และ (4) เสนอแนะรูปแบบที่เหมาะสมในการจัดตั้งเตาเผาขยะเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าของจังหวัดอุดรธานี โดยตัวอย่างที่ทำการศึกษา คือ ประชากรที่อยู่อาศัยในเขตอำเภอเมือง ... -
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม : กรณีศึกษาชุมชนบ้านทุ่งศรี อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
ในอดีตประเทศไทยมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลัก ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ตามมา โดยเฉพาะการจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในระดับท้องถิ่น ที่ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างเหมาะสม ทำให้การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จและปัญหาหรืออุปสรรคของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชนบ้านทุ่งศรี จังหวัดแพร่ และเสนอแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม ... -
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนแม่บทการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย จังหวัดปทุมธานี
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016);
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาในการจัดการขยะของจังหวัดปทุมธานี รวมถึงปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชน 2) ศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ จัดทําแผนแม่บทการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย จังหวัดปทุมธานี 3) ศึกษาปัจจัยที่มีผล ต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน 4) เสนอแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการจัดทําแผนแม่บทการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย จังหวัดปทุมธานีเก็บ รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาด้านการจัดการขยะใน จังหวัดปทุมธานีอยู่ในระดับสูง เนื่องจากจังหวัดปทุมธานีม ... -
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ: กรณีศึกษา โครงการนิคมอุตสาหกรรมระยอง (บ้านค่าย) จังหวัดระยอง
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018);
การพัฒนาประเทศในอดีตที่ผ่านมาได้มีการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้เป็นต้นทุนในการดำเนินกิจกรรมและโครงการพัฒนา เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและก่อปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่โครงการอย่างรุนแรง และนำมาสู่ปัญหาความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างเจ้าของโครงการกับประชาชนในท้องถิ่น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ กรณีศึกษา โครงการนิคมอุตสาหกรรมระยอง (บ้านค่าย) จังหวัดระยอง เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จ ... -
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ กรณีศึกษา โครงการขยายกำลังการผลิตโรงไฟฟ้ากระบี่
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016);
ปัจจุบันปัญหาความขัดแย้งจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพอย่างรุนแรงทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่าง แท้จริง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วม ปัจจัยความสำเร็จปัญหา และอุปสรรค เพื่อนำไปสู่การนำเสนอแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ประยุกต์หลัก CIPP-I Model มา ทำการศึกษากระบวนการดังกล่าว โดยใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บ รวบรวมข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ร่วมกับการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ... -
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหาหมอกควันจากการเผาในที่โล่งในจังหวัดลำปาง
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016);
การศึกษาคร้ังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ปัจจัยความสําเร็จ ปัญหา/อุปสรรคเพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควนจากการเผาในที่โล่งจังหวัดลำปางโดยการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง กับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใน จังหวัดลำปาง ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาหมอกควนในจังหวัดลำปางมีสาเหตุจากกิจกรรมการเผาในที่โล่ง ของประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่จังหวัดลำปาง ร่วมกับลักษณะทางภูมิศาสตร์และภูมิอากาศของ จังหวัดลำปางซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่งกระทะซึ่งเอื้อ ... -
การรับรู้กับการปรับตัวของเกษตรกรต่อความแปรปรวนของภูมิอากาศ: ศึกษาพื้นที่ภัยแล้งซ้ำซาก ตำบลหนองพระ จังหวัดพิจิตร
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019);
การศึกษานี้อาศัยวิธีวิทยาทฤษฎีฐานรากในการศึกษากระบวนการรู้คิดและเงื่อนไขที่กำหนดการรับรู้ความเสี่ยงและความสามารถในการปรับตัวของเกษตรกรต่อความแปรปรวนของภูมิอากาศ โดยมีวัตถุประสงค์ ก) เพื่อศึกษาการรับรู้ความเสี่ยงและความสามารถในการปรับตัวของเกษตรกรต่อความแปรปรวนของภูมิอากาศ ข) เพื่อศึกษาแบบแผนการปรับตัวของเกษตรกรที่เกิดขึ้นจากแนวโน้มการรับรู้ และ ค) เพื่ออธิบายแบบแผนการรับรู้และปรับตัวของเกษตรกรต่อความแปรปรวนของภูมิอากาศ การเก็บข้อมูลใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบไม่มีโครงสร้างกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ เกษตรกรที่ปลูกข้าวเป็นหลักนอกเขตชลประทานที่ประสบกับ ... -
การวิเคราะห์กฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายการควบคุมการระบายมลพิษทางอากาศจากภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
งานวิจัยเรื่องการวิเคราะห์กฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายการควบคุมการระบายมลพิษทางอากาศจากภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาช่องว่างทางกฎหมายการควบคุมการระบายมลพิษทางอากาศจากภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของประเทศไทย และเพื่อเสนอแนะแนวการพัฒนากฎหมายการควบคุมการระบายมลพิษทางอากาศจากภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดมาตรการทางกฎหมายด้านการควบคุมการระบายมลพิษทางอากาศของประเทศไทย นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมนักวิชาการด้านกฎหมาย องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม กลุ่มผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรร ... -
การวิเคราะห์การจัดการขยะมูลฝอยและยุทธศาสตร์สาหรับกรุงเทพมหานคร
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016);
การจัดการขยะมูลฝอยของกรุงเทพมหานครยังพบปัญหาอุปสรรคหลายประการ และในปี 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้กําหนดให้การจัดการขยะเป็นวาระแห่งชาติที่ต้อง ดําเนินการอย่างเร่งด่วน ผู้วิจัยจึงทําการศึกษาสถานการณ์และปัญหาการจัดการขยะขากบริบทเดิม ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ด้วยวิธีการศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิและเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง แล้วทําการวิเคราะห์ช่องว่างทางกลยุทธ์ (Gap Analysis) และประเมิน สภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร (SWOT Analysis) เพื่อนําไปสู่การจัดทํา ยุทธศาสตร์การจัดการขยะตามมิติของหลักการ Balanced Scorecard (BSC -
การวิเคราะห์การจัดการอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษา บริษัท ปิโตรเคมีและการกลั่นแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การดำเนินงานด้านการจัดการ อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมของกรณีศึกษา บริษัท ปิโตรเคมีและการกลั่นแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาให้กับบริษัทและหน่วยงานอื่นๆ การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interviews) ร่วมกับการสังเกตการณ์ในพื้นที่และศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ ผู้บริหาร พนักงาน ผู้รับเหมา ชุมชน และหน่วยงานของรัฐ ได้ประยุกต์หลักการของดัชนีชี้วัดความสำเร็จแบบสมดุล (Balanced Scorecard) ... -
การวิเคราะห์การดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 12 เป้าประสงค์ที่ 12.5 ภายใต้บริบทของประเทศไทย กรณีศึกษา: จังหวัดปทุมธานี
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018);
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 12 เป้าประสงค์ที่ 12.5 ภายใต้บริบทของประเทศไทย รวมทั้งการดำเนินงานด้านการจัดการขยะตามหลักการ 3Rs กรณีศึกษา จังหวัดปทุมธานีที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนดังกล่าว เพื่อให้ทราบถึงปัญหา อุปสรรค และนำเสนอข้อเสนอแนะเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย SDGs ดังกล่าว งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 12 เป้าประสงค์ที่ 12.5 ... -
การวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งลอยน้ำ บริเวณสระเก็บน้ำพระรามเก้า อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ปทุมธานี
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018);
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม ของระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งลอยน้ำ บริเวณสระเก็บน้ำพระรามเก้า อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปทุมธานี โดยได้เก็บข้อมูลภาคสนาม เพื่อนำมาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการดังนี้ ค่าออกซิเจนละลายน้ำ ความขุ่น บีโอดี ความเป็นกรด-ด่าง ของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำ (Total Dissolved Solid) บีโอดี (Biochemical Oxygen Demand) ค่าการนำไฟฟ้า ความเค็ม ของแข็งแขวนลอย แบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด แบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม และ อุณหภูมิ ซึ่งเก็บตัวอย่างน้ำ 3 ครั้งในเดือน ธันวาคม ... -
การวิเคราะห์ลักษณะระยะยาวของมลพิษอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2020);
การศึกษาลักษณะมลพิษทางอากาศในพื้นที่ชุมชน (Residential Area) ภายในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ก๊าซโอโซน (O3) ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมโครเมตร (PM10) และฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมโครเมตร (PM2.5) อาศัยข้อมูลจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบกึ่งถาวรของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 10 สถานี ระหว่างปี พ.ศ. 2549 – 2559 โดยศึกษาลักษณะการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่าง ๆ การเปลี่ยนแปลงระยะยาว และลักษณะของมลพิษในแต่ละพื้นที่ ตลอดจนอัตราส่วนความสัมพันธ์ของฝุ่น ... -
การศึกษาการเปลี่ยนแปลงและวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าพรุควนขี้เสียนและป่าพรุควนเคร็ง
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018);
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าพรุควนขี้เสียนและป่าพรุควนเคร็ง ในช่วงปี พ.ศ.2552 และปี พ.ศ.2559 ศึกษาพื้นที่เสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน และศึกษามาตรการการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน รวมถึงเสนอแนวทางในการจัดการพื้นที่ศึกษา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งทุติยภูมิและปฐมภูมิ จากการสัมภาษณ์ รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลบนระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า ในพื้นที่ศึกษานั้นมีพื้นที่ปาล์มน้ำมัน ยางพารา และพื้นที่เกษตรกรรม เพิ่มขึ้นมากที่สุด ส่วนพื้นที่นา พื้นที่ป่าพรุ และพื้นที่เบ็ดเตล็ด ... -
การศึกษาทัศนวิสัยระยะยาวในประเทศไทยและความสัมพันธ์กับปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยา
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2022);
ทัศนวิสัยในการมองเห็นนับเป็นปัจจัยที่สำคัญในชีวิตประจำวัน และถือเป็นพารามิเตอร์มาตรฐานทางอุตุนิยมวิทยา ดังนั้นในการศึกษานี้เป็นการศึกษาทัศนวิสัยระยะยาวในประเทศไทยและความสัมพันธ์กับปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยา ได้แก่ ปริมาณเมฆ ความชื้นสัมพัทธ์ และปริมาณฝน ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของทัศนวิสัยรวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยาที่มีผลต่อทัศนวิสัยในประเทศไทย โดยศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิประกอบด้วยข้อมูลทัศนวิสัย ข้อมูลเมฆ ข้อมูลความชื้นสัมพัทธ์ และข้อมูลปริมาณน้ำฝน ราย 3 ชั่วโมง ระยะเวลา 10 ปี ... -
การศึกษาเชิงเปรียบเทียบความยั่งยืนทางธุรกิจในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุก : กรณีศึกษาองค์การธุรกิจในประเทศไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2021);
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพรวมของระดับความสามารถในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและการศึกษาเชิงเปรียบเทียบของกระบวนการในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมขององค์การธุรกิจ โดยใช้กรณีศึกษาองค์การธุรกิจ 2 กลุ่ม อันได้แก่ กลุ่มองค์การธุรกิจที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวน 7 กลุ่มธุรกิจ (SET) และกลุ่มองค์การธุรกิจภาคอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง (MAPTAPHUT) เป็นการศึกษาปัจจัยด้านองค์การ จำนวน 7 ปัจจัย และปัจจัยด้านกระบวนการจัดการสิ่งแวดล้อม จำนวน 13 ปัจจัย และ 88 ประเด็นย่อย ที่มีผลต่อระดับความสามารถใน ... -
การศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของลุ่มน้ำสาขาลำโดมใหญ่
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2021);
ลุ่มน้ำสาขาลำโดมใหญ่ เป็นพื้นที่เกษตรที่สำคัญของลุ่มน้ำมูลและจังหวัดอุบลราชธานี จากการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเข้มข้น ร่วมกับปัญหาภัยแล้ง พื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลำโดมใหญ่ประสบปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม และมลพิษทางน้ำในพื้นที่ดังกล่าว การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อทำการศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในลุ่มน้ำสาขาลำโดมใหญ่ เพื่อคาดการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องตามแนวทางการพัฒนาด้วยแบบจำลอง Markov Model และศึกษาแนวโน้มและเสนอแนะแนวทางในการใช้ประโยชน์ที่ดินในลุ่มน้ำสาขาลำโดมใหญ่ให้สอดคล้องตามศักยภาพของพื้นที่ ซึ่งเป็นการศึกษาแบบผสมผสาน ... -
การส่งเสริมความรู้เรื่องการจัดการน้ำเสียครัวเรือนของชุมชนคลองแสนแสบ กรณีศึกษากลุ่มชุมชนคนรักษ์คลองในเขตคันนายาว
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และพฤติกรรมในการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน ของชุมชนคลองแสนแสบ และส่งเสริมความรู้เรื่องการจัดการน้ำเสียครัวเรือนของชุมชนคลองแสนแสบ กรณีศึกษากลุ่มชุมชนคนรักษ์คลองในเขตคันนายาว งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณมีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในการวัดความรู้ และพฤติกรรมของ ประชากรกลุ่มตัวอย่างทั้งก่อนและหลังการจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการจัดการน้ำเสียเบื้องต้น ภายในชุมชนเป้าหมายทั้งหมด 6 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนบ้านเกาะ ชุมชนหมู่ 3 ร่วมใจพัฒนา ชุมชน เปรมฤทัย 1ชุมชนหมู่บ้าน บก. ทหารสูงสุด ชุมชนรามอินทรา ... -
การเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016);
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาระดับความเสี่ยงของพื้นที่ต่อการเกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก ด้วยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ 3) เพื่อศึกษาความรู้และพฤติกรรมของประชาชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขกรุงเทพมหานคร การศึกษาหาพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกในเขตกรุงเทพมหานคร พิจารณา 5 ปัจจัย ที่เกี่ยวข้อง คือ อัตราป่วยโรคด้วยไข้เลือดออก ผู้ป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก ความหนาแน่นของประชากร ค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลาย (HI) และพื้นที่ระบาดโรคไข ... -
การใช้ประโยชน์ที่ดินและการจัดการพื้นที่เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019);
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์ที่ดินและการจัดการพื้นที่ในเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง ศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในเกาะเสม็ดและวิเคราะห์ปัญหาการจัดการพื้นที่ในเกาะเสม็ด โดยเน้นการวิจัยเฉพาะพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหรือมีความสัมพันธ์ต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและการจัดการพื้นที่ในเชิงพื้นที่และเชิงเวลา คือพื้นที่บริเวณท่าเทียบเรือและเส้นทางสัญจรหลักในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2545 - 2560 การวิจัยนี้อาศัยแนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการสังเกตการณ์ การศึกษาเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ...