Now showing items 61-80 of 118

  • Thumbnail

    การวิเคราะห์กฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายการควบคุมการระบายมลพิษทางอากาศจากภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี 

    จิรัชญา สิงห์มณี; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)

    งานวิจัยเรื่องการวิเคราะห์กฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายการควบคุมการระบายมลพิษทางอากาศจากภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาช่องว่างทางกฎหมายการควบคุมการระบายมลพิษทางอากาศจากภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของประเทศไทย และเพื่อเสนอแนะแนวการพัฒนากฎหมายการควบคุมการระบายมลพิษทางอากาศจากภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดมาตรการทางกฎหมายด้านการควบคุมการระบายมลพิษทางอากาศของประเทศไทย นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมนักวิชาการด้านกฎหมาย องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม กลุ่มผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรร ...
  • Thumbnail

    การวิเคราะห์การจัดการขยะมูลฝอยและยุทธศาสตร์สาหรับกรุงเทพมหานคร 

    ปาลิกา วรรณวิไล; จำลอง โพธิ์บุญ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    การจัดการขยะมูลฝอยของกรุงเทพมหานครยังพบปัญหาอุปสรรคหลายประการ และในปี 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้กําหนดให้การจัดการขยะเป็นวาระแห่งชาติที่ต้อง ดําเนินการอย่างเร่งด่วน ผู้วิจัยจึงทําการศึกษาสถานการณ์และปัญหาการจัดการขยะขากบริบทเดิม ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ด้วยวิธีการศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิและเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง แล้วทําการวิเคราะห์ช่องว่างทางกลยุทธ์ (Gap Analysis) และประเมิน สภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร (SWOT Analysis) เพื่อนําไปสู่การจัดทํา ยุทธศาสตร์การจัดการขยะตามมิติของหลักการ Balanced Scorecard (BSC
  • Thumbnail

    การวิเคราะห์การจัดการอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษา บริษัท ปิโตรเคมีและการกลั่นแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง 

    ทิวาพร สุระพล; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)

    งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การดำเนินงานด้านการจัดการ อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมของกรณีศึกษา บริษัท ปิโตรเคมีและการกลั่นแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาให้กับบริษัทและหน่วยงานอื่นๆ  การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interviews) ร่วมกับการสังเกตการณ์ในพื้นที่และศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ ผู้บริหาร พนักงาน ผู้รับเหมา ชุมชน และหน่วยงานของรัฐ ได้ประยุกต์หลักการของดัชนีชี้วัดความสำเร็จแบบสมดุล (Balanced Scorecard) ...
  • Thumbnail

    การวิเคราะห์การดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 12 เป้าประสงค์ที่ 12.5 ภายใต้บริบทของประเทศไทย กรณีศึกษา: จังหวัดปทุมธานี  

    ศศิธร ศรีสุรักษ์; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)

     การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 12 เป้าประสงค์ที่ 12.5 ภายใต้บริบทของประเทศไทย รวมทั้งการดำเนินงานด้านการจัดการขยะตามหลักการ 3Rs กรณีศึกษา จังหวัดปทุมธานีที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนดังกล่าว เพื่อให้ทราบถึงปัญหา อุปสรรค และนำเสนอข้อเสนอแนะเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย SDGs ดังกล่าว งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 12 เป้าประสงค์ที่ 12.5 ...
  • Thumbnail

    การวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งลอยน้ำ บริเวณสระเก็บน้ำพระรามเก้า อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ปทุมธานี 

    ขนิษฐา สุวรรณประภากร; ฆริกา คันธา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)

    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม ของระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งลอยน้ำ บริเวณสระเก็บน้ำพระรามเก้า อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปทุมธานี โดยได้เก็บข้อมูลภาคสนาม เพื่อนำมาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการดังนี้ ค่าออกซิเจนละลายน้ำ ความขุ่น บีโอดี ความเป็นกรด-ด่าง  ของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำ (Total Dissolved Solid) บีโอดี (Biochemical Oxygen Demand) ค่าการนำไฟฟ้า  ความเค็ม ของแข็งแขวนลอย แบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด แบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม  และ อุณหภูมิ ซึ่งเก็บตัวอย่างน้ำ 3 ครั้งในเดือน ธันวาคม ...
  • Thumbnail

    การวิเคราะห์ลักษณะระยะยาวของมลพิษอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 

    ศุภนันท์ จิรโสภณ; ภัคพงศ์ พจนารถ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2020)

    การศึกษาลักษณะมลพิษทางอากาศในพื้นที่ชุมชน (Residential Area) ภายในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ก๊าซโอโซน (O3) ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมโครเมตร (PM10) และฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมโครเมตร (PM2.5) อาศัยข้อมูลจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบกึ่งถาวรของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 10 สถานี ระหว่างปี พ.ศ. 2549 – 2559 โดยศึกษาลักษณะการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่าง ๆ การเปลี่ยนแปลงระยะยาว และลักษณะของมลพิษในแต่ละพื้นที่ ตลอดจนอัตราส่วนความสัมพันธ์ของฝุ่น ...
  • Thumbnail

    การศึกษาการเปลี่ยนแปลงและวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าพรุควนขี้เสียนและป่าพรุควนเคร็ง 

    ภาวิณี จิตต์ศรัทธา; ฆริกา คันธา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)

    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าพรุควนขี้เสียนและป่าพรุควนเคร็ง ในช่วงปี พ.ศ.2552 และปี พ.ศ.2559 ศึกษาพื้นที่เสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน และศึกษามาตรการการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน รวมถึงเสนอแนวทางในการจัดการพื้นที่ศึกษา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งทุติยภูมิและปฐมภูมิ จากการสัมภาษณ์ รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลบนระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า ในพื้นที่ศึกษานั้นมีพื้นที่ปาล์มน้ำมัน ยางพารา และพื้นที่เกษตรกรรม เพิ่มขึ้นมากที่สุด ส่วนพื้นที่นา พื้นที่ป่าพรุ และพื้นที่เบ็ดเตล็ด ...
  • Thumbnail

    การศึกษาทัศนวิสัยระยะยาวในประเทศไทยและความสัมพันธ์กับปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยา 

    ลัดดา ทะสะโส; ภัคพงศ์ พจนารถ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2022)

    ทัศนวิสัยในการมองเห็นนับเป็นปัจจัยที่สำคัญในชีวิตประจำวัน และถือเป็นพารามิเตอร์มาตรฐานทางอุตุนิยมวิทยา ดังนั้นในการศึกษานี้เป็นการศึกษาทัศนวิสัยระยะยาวในประเทศไทยและความสัมพันธ์กับปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยา ได้แก่ ปริมาณเมฆ ความชื้นสัมพัทธ์ และปริมาณฝน ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของทัศนวิสัยรวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยาที่มีผลต่อทัศนวิสัยในประเทศไทย โดยศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิประกอบด้วยข้อมูลทัศนวิสัย ข้อมูลเมฆ ข้อมูลความชื้นสัมพัทธ์ และข้อมูลปริมาณน้ำฝน ราย 3 ชั่วโมง ระยะเวลา 10 ปี ...
  • Thumbnail

    การศึกษาเชิงเปรียบเทียบความยั่งยืนทางธุรกิจในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุก : กรณีศึกษาองค์การธุรกิจในประเทศไทย 

    วรรณฉัตร กิจเกษมสิน; ภัคพงศ์ พจนารถ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2021)

    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพรวมของระดับความสามารถในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและการศึกษาเชิงเปรียบเทียบของกระบวนการในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมขององค์การธุรกิจ โดยใช้กรณีศึกษาองค์การธุรกิจ 2 กลุ่ม อันได้แก่ กลุ่มองค์การธุรกิจที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวน 7 กลุ่มธุรกิจ (SET) และกลุ่มองค์การธุรกิจภาคอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง (MAPTAPHUT) เป็นการศึกษาปัจจัยด้านองค์การ จำนวน 7 ปัจจัย และปัจจัยด้านกระบวนการจัดการสิ่งแวดล้อม จำนวน 13 ปัจจัย และ 88 ประเด็นย่อย ที่มีผลต่อระดับความสามารถใน ...
  • Thumbnail

    การศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของลุ่มน้ำสาขาลำโดมใหญ่ 

    อธิญาพรรณ ศรีบุญชำ; ฆริกา คันธา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2021)

    ลุ่มน้ำสาขาลำโดมใหญ่ เป็นพื้นที่เกษตรที่สำคัญของลุ่มน้ำมูลและจังหวัดอุบลราชธานี จากการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเข้มข้น ร่วมกับปัญหาภัยแล้ง พื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลำโดมใหญ่ประสบปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม และมลพิษทางน้ำในพื้นที่ดังกล่าว การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อทำการศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในลุ่มน้ำสาขาลำโดมใหญ่ เพื่อคาดการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องตามแนวทางการพัฒนาด้วยแบบจำลอง Markov Model และศึกษาแนวโน้มและเสนอแนะแนวทางในการใช้ประโยชน์ที่ดินในลุ่มน้ำสาขาลำโดมใหญ่ให้สอดคล้องตามศักยภาพของพื้นที่ ซึ่งเป็นการศึกษาแบบผสมผสาน ...
  • Thumbnail

    การส่งเสริมความรู้เรื่องการจัดการน้ำเสียครัวเรือนของชุมชนคลองแสนแสบ กรณีศึกษากลุ่มชุมชนคนรักษ์คลองในเขตคันนายาว 

    พรกมล เหล่าสิ้นฟ้า; วิชชุดา สร้างเอี่ยม (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และพฤติกรรมในการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน ของชุมชนคลองแสนแสบ และส่งเสริมความรู้เรื่องการจัดการน้ำเสียครัวเรือนของชุมชนคลองแสนแสบ กรณีศึกษากลุ่มชุมชนคนรักษ์คลองในเขตคันนายาว งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณมีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในการวัดความรู้ และพฤติกรรมของ ประชากรกลุ่มตัวอย่างทั้งก่อนและหลังการจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการจัดการน้ำเสียเบื้องต้น ภายในชุมชนเป้าหมายทั้งหมด 6 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนบ้านเกาะ ชุมชนหมู่ 3 ร่วมใจพัฒนา ชุมชน เปรมฤทัย 1ชุมชนหมู่บ้าน บก. ทหารสูงสุด ชุมชนรามอินทรา ...
  • Thumbnail

    การเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ 

    วรางค์ น้อยสุขเสริม; จินตนา อมรสงวนสิน (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาระดับความเสี่ยงของพื้นที่ต่อการเกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก ด้วยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ 3) เพื่อศึกษาความรู้และพฤติกรรมของประชาชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขกรุงเทพมหานคร การศึกษาหาพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกในเขตกรุงเทพมหานคร พิจารณา 5 ปัจจัย ที่เกี่ยวข้อง คือ อัตราป่วยโรคด้วยไข้เลือดออก ผู้ป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก ความหนาแน่นของประชากร ค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลาย (HI) และพื้นที่ระบาดโรคไข ...
  • Thumbnail

    การเพิ่มประสิทธิภาพต้นทุนกิจกรรมอนุรักษ์ดินและน้ำ โดยการประยุกต์ใช้แนวทางการประมูลย้อนกลับ กรณีศึกษา ตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย 

    สุเทพ จันทร์อำพร; สมพจน์ กรรณนุช (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)

    การศึกษานี้เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพต้นทุนกิจกรรมอนุรักษ์ดินและน้ำโดยการประยุกต์ใช้แนวทางการประมูลย้อนกลับในการคัดเลือกเกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการ อนุรักษ์โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเกษตรกรที่มีพื้นที่ทำ การเกษตรในตำบลแม่สลองนอกซึ่งเป็นเกษตรกรที่ประสงค์เข้าร่วมโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวน 23 ราย โดยการทำการวิจัยกึ่งทดลองให้เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมการประมูลย้อนกลับ เพื่อเสนอราคาที่เต็มใจเข้าร่วมกิจกรรมอนุรักษ์ดินและน้ำ ผลการศึกษาพบว่า ประการแรกจากการเปรียบระดับรายได้และระดับราคาที่กลุ่มตัวอย่างเสนอระหว่างการประม ...
  • Thumbnail

    การใช้ประโยชน์ที่ดินและการจัดการพื้นที่เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง 

    ธนกฤต ลาภธนโรจน์; วิชชุดา สร้างเอี่ย (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์ที่ดินและการจัดการพื้นที่ในเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง ศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในเกาะเสม็ดและวิเคราะห์ปัญหาการจัดการพื้นที่ในเกาะเสม็ด โดยเน้นการวิจัยเฉพาะพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหรือมีความสัมพันธ์ต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและการจัดการพื้นที่ในเชิงพื้นที่และเชิงเวลา คือพื้นที่บริเวณท่าเทียบเรือและเส้นทางสัญจรหลักในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2545 - 2560 การวิจัยนี้อาศัยแนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการสังเกตการณ์ การศึกษาเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ...
  • Thumbnail

    การใช้แพลงก์ตอนสัตว์เป็นตัวชี้วัดการไหลเวียนของมวลน้ำในพื้นที่ป่าชายเลน ศูนย์ศึกษาการเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี ตำบลปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 

    ทัชชา พรรณรักษ์; ธวัชชัย ศุภดิษฐ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)

    การศึกษาแพลงก์ตอนสัตว์เพื่อใช้เป็นดัชนีชี้วัดการไหลเวียนของมวลน้ำในศูนย์ศึกษา เรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในช่วงเดือน กันยายน พ.ศ. 2559 และเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นช่วงก่อนและหลังการขุดลอกร่องน้ำเพื่อ แก้ไขปัญหาการแลกเปลี่ยนของมวลน้ำในป่าชายเลนกับแม่น้ำปราณบุรีที่ได้ดำเนินการในช่วงเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2559 โดยใช้ถุงลากแพลงก์ตอนขนาดตา 100 และ 330 ไมโครเมตร เพื่อศึกษาให้ ครอบคลุมทั้งกลุ่มแพลงก์ตอนสัตว์ขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ทำการลากในแนวระดับในสถานี ศึกษาทั้งสิ้น 5 สถานี คือ ด้านในของป่าชายเลน ...
  • Thumbnail

    ความขัดแย้งจากโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ : กรณีศึกษา นิคมอุตสาหกรรมระยอง (บ้านค่าย) 

    อภิชัย สิงห์ศรี; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)

    ในการaพัฒนาภาคอุตสาหกรรมของประเทศนำไปสู่การขยายตัวของนิคมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจนั้น อาจทำให้ส่งผลกระทบกับชุมชนใกล้เคียง โดยเฉพาะโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่อาจทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชุมชนและผู้พัฒนาโครงการ งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสาเหตุปัญหาความขัดแย้ง  รวมถึงเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ให้ชุมชนและโครงการพัฒนายอมรับที่จะอยู่ร่วมกันได้ กรณีศึกษา นิคมอุตสาหกรรมระยอง (บ้านค่าย) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้มีส่วนได้เสีย 40 คน จากการศึกษาพบว่าสาเหตุความขัดแย้งต ...
  • Thumbnail

    ความสำเร็จในการจัดการสิ่งแวดล้อมกรณีศึกษาเทศบาลเมืองน่าน 

    มาริสา นิ่มกุล; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)

    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานในการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลเมืองน่าน รวมถึงความสำเร็จในการดำเนินงานดังกล่าว งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างกับผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลเมืองน่าน ร่วมกับการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมและการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยนำทฤษฎีระบบการบริหารงานและประเมินผลองค์กร มาใช้ในกระบวนการศึกษาดังกล่าว ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลเมืองน่าน ประกอบด้วยปัจจัยหลายมิติ ได้แก่  มิติด้านการเรียนรู้และพัฒนา ...
  • Thumbnail

    คุณลักษณะและปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโทรโพสเฟียริกโอโซนในทวีปเอเชีย 

    อรพรรณ แพกุล; ภัคพงศ์ พจนารถ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    การศึกษาสาเหตุการเปลี่ยนแปลงของโอโซนในทวีปเอเชีย โดยใช้ข้อมูลของโอโซนจาก สถานีตรวจวัด 15 แห่งในทวปีเอเชีย ปีค.ศ. 2004 โดยเปรียบเทียบกับการเคลื่อนตัวของมวลอากาศ แบบย้อนกลับเป็นระยะเวลา 10 วัน ด้วยแบบจำลอง HYSPLIT และจำแนกทิศทางการเคลื่อนตัว มวลอากาศเป็น 8 ทิศทางพบว่า มวลอากาศส่วนใหญ่มาจากทิศตะวันตก (W) รองลงมาคือ ทิศ ตะวันตกเฉียงเหนือ (NW) โดยโอโซนในภูมิภาคเอเชียตะวัน ออกมีค่าความเข้มข้นสูงเมื่อมวล อากาศเคลื่อนตัวมาจากทิศ W และผ่านแหล่งกำเนิดมลพิษภายในทวีป เช่น สถานีMt.Tai มีค่าเฉลี่ย รายปีโอโซนเท่ากบั 57.3 ppb รองลงมา สถานี Happo (55.9 ppb) สถานี ...
  • Thumbnail

    ทัศนคติของประชาชนต่อแนวทางการแก้ไขฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน กรุงเทพมหานคร 

    ศิริลักษณ์ เจริญรัมย์; วิสาขา ภู่จินดา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2021)

    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทัศนคติของประชาชนที่มีต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ และปัจจัยที่มีผลต่อการแก้ไขฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน และ 3) เสนอแนวทางการส่งเสริม และสนับสนุนต่อการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน กรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การเก็บข้อมูลแบบสอบถามในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 10 เขต ซึ่งประชาชนต้องมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป สุ่มตัวอย่างแบบโควตา ได้แก่ เขตพญาไท จตุจักร บางซื่อ ราชเทวี ห้วยขวาง บางกะปิ พระโขนง สะพานสูง ...
  • Thumbnail

    ธรรมาภิบาลเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาโรงไฟฟ้าพระนครใต้ จังหวัดสมุทรปราการ 

    ปรียานุช เลิศรัศมีมาลา; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดําเนินการของโรงไฟฟ้าพระนครใต้ตามหลัก ธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม ตลอดจนปัญหาหรืออุปสรรคเพื่อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการดําเนินการโรงไฟฟ้าพระนครใต้ตามหลักธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) กับผู้มีส่วนได้เสีย ร่วมกับการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง และประยุกต์ใช้ตัวชี้วัดธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม (The Access Initiative, TAI)เป็นหลักในการศึกษา เนื่องจากตัวชี้วัดดังกล่าวมุ่งเน้นการประเมิน “กระบวนการ”ประกอบด้วย 3 หมวด ...