Browsing คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม by Title
Now showing items 97-111 of 111
-
แนวทางการจัดการอาคารคลังสินค้าสีเขียว กรณีศึกษา บริษัทผู้ให้บริการด้านการขยายตลาด
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016);
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเกณฑ์การประเมินอาคารคลังสินค้าสีเขียว และนำเกณฑ์ การประเมินฯ ไปทดลองกับอาคารคลังสินค้าบริษัทผู้ให้บริการด้านการขยายตลาด ซึ่งมีคลังสินค้า ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และพระนครศรีอยุธยา โดยใช้เกณฑ์อาคารเขียว ภาครัฐ (กรณีอาคารเดิม) ของกรมควบคุมมลพิษ เกณฑ์สำนักงานสีเขียว ของกรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อม เกณฑ์ความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย สำหรับอาคารระหว่างใช้งาน ของ สถาบันอาคารเขียวไทย และเกณฑ์ LEED 2009 for Existing Buildings: Operations & Maintenance ของประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นฐานข้อมูลในการสร้ ... -
แนวทางการจัดตั้ง และการบริหารจัดการธนาคารขยะรีไซเคิลในชุมชน สำหรับผู้สูงอายุ ตำบลราชสถิตย์ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้สูงอายุ และปัจจัยที่มีผลต่อการจัดตั้ง และการบริหารจัดการธนาคารขยะรีไซเคิลของชุมชน สำหรับผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การถอดบทเรียนจากกรณีศึกษา การลงพื้นที่ในการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลราชสถิตย์ และเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตัวแทนผู้สูงอายุ และผู้นำชุมขน และการสังเกตการณ์ เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพและประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการธนาคารขยะรีไซเคิลชุมชน สำหรับผู้สูงอายุ (Feasibility Study) 4 ด้าน ประกอบด้วย ... -
แนวทางการผลิตพลังงานหมุนเวียนเพื่อความยั่งยืนของชุมชนในจังหวัดสุรินทร์
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของพลังงานหมุนเวียนที่เหมาะสมต่อความต้องการของชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ และประเมินความเป็นไปได้ในการผลิตพลังงานด้วยพลังงานหมุนเวียนในชุมชน ด้านกายภาพ สังคม การบริหารจัดการ เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม และเสนอแนวทางการผลิตพลังงานจากพลังงานหมุนเวียนเพื่อความยั่งยืนของชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ การวิจัยนี้ใช้แบบสัมภาษณ์และการสังเกตการณ์เป็นเครื่องมือในการศึกษา ตามกรอบแนวคิด CIPP-I Model ได้แก่ คำถามเกี่ยวกับนโยบาย (Context) สิ่งที่นำเข้า (Input) คำถามเกี่ยวกับการดำเนินงานเพื่อหาศักยภาพที่เหมาะสมของพื้นที่ (Process) ... -
แนวทางการพัฒนาบริษัทเข้าสู่อุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 4 วัฒนธรรมสีเขียว : กรณีศึกษา บริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จำกัด (มหาชน)
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาบริษัทให้ได้มาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 4 โดยวิธีการวิเคราะห์หาช่องว่าง (Gap Analysis) การนำเกณฑ์กำหนดของอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 4 ตามข้อกำหนดของกระทรวงอุตสาหกรรม มาเปรียบเทียบกับการดำเนินงานด้านอุตสาหกรรมสีเขียวของบริษัทที่ได้ดำเนินการสำเร็จในปัจจุบัน เพื่อวิเคราะห์หาช่องว่างที่เกิดขึ้น และนำเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งการศึกษาจะทำการเก็บข้อมูล การทบทวนเอกสาร การสังเกตการณ์ และการสัมภาษณ์ สำหรับผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐและท้องถิ่น ... -
แนวทางการพัฒนาปรับปรุงศูนย์ศึกษาธรรมชาตินิเวศชายเลนเกาะธรรมชาติเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และอนุรักษ์ระบบนิเวศอย่างยั่งยืน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014);
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมา สภาพทางกายภาพ และการ บริหารจัดการของศูนย์ศึกษาธรรมชาตินิเวศชายเลนเกาะธรรมชาติ ตำบลท่าข้าม อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา 2) เพื่อวิเคราะห์และประเมินในด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดลอ้ ม และการ บริหารจัดการ ของศูนย์ศึกษาธรรมชาตินิเวศชายเลนเกาะธรรมชาติ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการ พัฒนาปรับปรุงภูมิสถาปัตยกรรม และการบริหารจัดการศูนย์ศึกษาธรรมชาตินิเวศชายเลนเกาะ ธรรมชาติ ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ระบบนิเวศและการอนุรักษ์ป่าชายเลนอย่างยั่งยืนเก็บรวบรวม ข้อมูลโดยการสังเกตการณ์ ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ... -
แนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยตามหลักมหาวิทยาลัยยั่งยืน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อถอดบทเรียนการดำเนินงานมหาวิทยาลัยยั่งยืนของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานมหาวิทยาลัยยั่งยืน 3) เพื่อวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap Analysis) ในการดำเนินงานด้านมหาวิทยาลัยยั่งยืนของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ4) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยในประเทศไทยเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืน โดยคัดเลือกมหาวิทยาลัยที่ใช้ในการศึกษาจากการจัดอันดับ UI Green Metric จำนวน 9 มหาวิทยาลัย ใช้ทฤษฎีระบบ Input Process Output (IPO) ในการถอดบทเรียนความสำเร็จ และวิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกด้วยทฤษฎี ... -
แนวทางการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) อย่างยั่งยืน : กรณีศึกษา นิคมอุตสาหกรรมบางชัน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนายกระดับนิคมอุตสาหกรรมบางชันสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และเสนอแนวทางในการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มุ่งเน้นศึกษาการดำเนินงานจากการพัฒนายกระดับนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของ นิคมอุตสาหกรรมบางชัน ประกอบด้วยการศึกษาข้อมูลแบบปฐมภูมิ คือ การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างผู้มีส่วนได้เสีย 4 กลุ่ม ได้แก่ สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมบางชัน ผู้ประกอบการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้นำชุมชน และการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ป ... -
แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน : เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019);
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช และระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน เพื่อเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงผสมระหว่างคุณภาพและปริมาณโดยใช้แบบสัมภาษณ์กับตัวแทนภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้นำชุมชน และใช้แบบสอบถามกับผู้มีบทบาทในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน 400 ครัวเรือน ใช้การวิเคราะห์ทางสถิติเชิงพรรณนาและอนุมาน รวมถึงการทำ SWOT Analysis และ TOWS Matrix ผลการศึกษาพบว่า 1) เทศบาลนครนครศรีธรร ... -
แนวทางการสร้างความยั่งยืนในการผลิตก๊าซชีวภาพระดับชุมชนและครัวเรือน กรณีศึกษา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความยั่งยืน ปัญหาและอุปสรรคในการผลิตก๊าซชีวภาพในระดับชุมชนและครัวเรือนในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ประเมินการผลิตก๊าซชีวภาพในพื้นที่ และเสนอแนวทางการสร้างความยั่งยืนในการผลิตก๊าซชีวภาพทั้งในระดับชุมชนและครัวเรือนของพื้นที่ดังกล่าว ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง รวม 26 ราย และทำการศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิร่วมด้วย นำข้อมูลทั้งหมดมาประมวลและวิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎีการประเมินแบบ CIPP-I Model ได้พิจารณาผลการดำเนินการทั้ง 5 องค์ประกอบและ 16 ตัวบ่งชี้ ผลการศึกษาพบว่าความยั่งยืนในการผ ... -
แนวทางการส่งเสริมการจัดการขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ กรณีศึกษาเทศบาลนครนนทบุรี
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016);
การวิจันี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจยัที่มีความสัมพนัธ์กับการจัดการขยะที่สามารถนำกลับ มา ใช้ใหม่ได้(Recyclable Waste) ของเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี รวมถึงเสนอแนวทางการจัดการ ขยะที่สามารถนำกลับ มาใช้ใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณร่วมกับการ วิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งทำการศึกษาโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการขยะภายในครัวเรือนของกลุ่มตัวอย่างครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลนนทบุรีจำนวน 306 ครัวเรือน ด้วยวิธีการสุ่มแบบมี ระบบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมวิเคราะห์ทางสถิติสำเร็จรูปที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 ร่วมกับการศึกษาบ ... -
แนวทางการส่งเสริมการจัดประชุมสีเขียวที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดประชุมสีเขียวที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย กรณีศึกษาองค์กรภาคเอกชน องค์กรภาครัฐ และองค์กรภาคบริการ และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดประชุมสีเขียว ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากการจัดประชุมสีเขียว ทำการรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตการณ์การจัดประชุมสีเขียวและการสัมภาษณ์ผู้บริหาร ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ประสานงานขององค์กรภาคเอกชน และองค์กรภาครัฐที่เข้าร่วมโครงการ TBCSD Green Meeting และผ่านการตรวจประเมินเพื่อพิจารณารับรองการจัดประชุมสีเขียว โดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for ... -
แนวทางการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมชายฝั่งและนอกชายฝั่งในประเทศไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018);
การวิจัยเรื่องแนวทางการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมชายฝั่งและนอกชายฝั่งในประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพทางด้านกายภาพ ด้านเทคนิค ด้านเศรษฐศาสตร์และการเงิน ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านบริหารโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมชายฝั่งและนอกชายฝั่ง อีกทั้งเปรียบเทียบผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนและวิเคราะห์เปรียบเทียบนโยบายสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมชายฝั่งและนอกชายฝั่ง เพื่อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมชายฝั่งและนอกชายฝั่งที่เหมาะสมกับประเทศไทย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ... -
แนวทางการส่งเสริมความรู้และความเข้าใจด้านความปลอดภัยและสุขอนามัยในการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ในระดับครัวเรือนและชุมชน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018);
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และความเข้าใจด้านความปลอดภัยและสุขอนามัยในการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ในระดับครัวเรือนและชุมชน วิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยในการผลิตก๊าซชีวภาพ และเสนอแนวทางส่งเสริมความรู้และความเข้าใจด้านความปลอดภัยในการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ในระดับครัวเรือนและชุมชน โดยใช้การสัมภาษณ์และแบบทดสอบร่วมกับการสังเกตการณ์ และการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (Job Safety Analysis) รวมทั้งการศึกษากรณีตัวอย่างเพื่อนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุและผลกระทบจากอันตรายที่มีโอกาสเกิดขึ้นในการผลิตก๊าซชีวภาพในระดับครัวเรือนและชุมชนโดยใช้ ... -
แนวทางการใช้ประโยชน์จากเปลือกทุเรียนและเปลือกมังคุดเป็นเชื้อเพลิงเขียวอัดแท่งและปุ๋ย : กรณีศึกษาอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ และการดำเนินการการใช้ประโยชน์จากเปลือกทุเรียนและเปลือกมังคุด ศึกษาความต้องการและความเป็นไปได้ และเสนอแนวทางการส่งเสริมการผลิตเชื้อเพลิงเขียวอัดแท่งและปุ๋ยของกลุ่มเกษตรกรในอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี ใช้แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ จำนวน 3 คน และแบบสอบถามความคิดเห็นของเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน จำนวน 200 คน โดยใช้ Triple Bottom Line มาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์แนวทางการใช้ประโยชน์จากเปลือกทุเรียนและเปลือกมังคุดเป็นเชื้อเพลิงเขียวอัดแท่งและปุ๋ย กรณีศึกษาอำเภอแก่งหางแมว ... -
แนวทางสู่ความสำเร็จของอาคารเขียวในประเทศไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวของประเทศไทยและต่างประเทศ ศึกษาความเหมาะสมของหลักเกณฑ์การประเมินกับบริบทของประเทศไทย ศึกษาปัจจัยสำคัญที่นาไปสู่ความสำเร็จของอาคารเขียวในประเทศไทย และเสนอแนวทางการดำเนินการพัฒนาอาคารเขียวของประเทศไทย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาข้อมูลจากการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเกณฑ์การประเมินอาคารเขียว และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบาย ผู้กำหนดเกณฑ์การประเมิน และการลงพื้นที่และสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับอาคารเขียวที่ผ่านเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวแบบต่าง ...