Now showing items 1-15 of 15

  • Thumbnail

    การจัดการปัญหาขยะมูลฝอยตกค้างสะสมในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยในจังหวัดปทุมธานี 

    สิริมา ปกป้อง; จำลอง โพธิ์บุญ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)

    การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและสาเหตุของปัญหาขยะมูลฝอยตกค้างสะสมในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยในจังหวัดปทุมธานี ศึกษาการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยตกค้างสะสมในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยและปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการดังกล่าว และเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการปัญหาขยะตกค้างสะสมในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยในจังหวัดปทุมธานี การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย ประชาชนที่เข้ามาคัดแยกขยะ ...
  • Thumbnail

    การถอดบทเรียนความสำเร็จในการปรับตัวต่อผลกระทบจากภัยแล้งของชุมชน: ศึกษากรณี ชุมชนบ้านลิ่มทอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ 

    สาธิกา นาวีระ; จำลอง โพธิ์บุญ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2020)

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสถานการณ์ปัญหาภัยแล้งและการดำเนินการเพื่อแก้ปัญหา และวิเคราะห์ความสำเร็จในการปรับตัวต่อผลกระทบจากภัยแล้งของชุมชนบ้านลิ่มทอง ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้นำชุมชนและผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชนบ้านลิ่มทอง และผู้บริหารและบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลและการสังเกตการณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาตามกรอบการประเมิน CIPP-I Model ผลการวิจัย พบว่า ชุมชนบ้านลิ่มทองเป็นพื้นที่ที่ประสบปัญหาภัยแล้ง คือ ขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร ...
  • Thumbnail

    การประเมินประสิทธิผลศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชนของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 

    รุจิรา ทนงกิจ; จำลอง โพธิ์บุญ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชน ของส่วนพลังงานชุมชน ฝ่ายกิจการเพื่อสังคม บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และ 2) ศึกษาปัจจัย ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานและผลสำเร็จศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชน ของส่วนพลังงานชุมชน ฝ่ายกิจการเพื่อสังคม บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) โดยใช้กรอบแนวการศึกษา ตามรูปแบบ CIPP Model กับรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับคณะกรรมการศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชนทั้ง 4 ภูมิภาค จำนวน 78 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา สถิติอนุมาน และพรรณาความ ผลการศึกษาจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ...
  • Thumbnail

    การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนตามอนุสัญญาว่าด้วยการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในบริบทข้ามพรมแดน ค.ศ. 1991 

    สิทธิ หลีกภัย; จำลอง โพธิ์บุญ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนตามอนุสัญญาว่าด้วยการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในบริบทข้ามพรมแดน ค.ศ. 1991 และ 2) ศึกษาแนวทางในการนำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนตามอนุสัญญาว่าด้วยการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในบริบทข้ามพรมแดน ค.ศ. 1991 ไปใช้ในทางปฏิบัติ ในการศึกษาได้ใช้วิธีการเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการพรรณนาตรรกะ (Logical Descriptive Analysis) โดยข้อมูลในการศึกษาชิ้นนี้คือข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) โดยศึกษาและเก็บข้อมูลจากตำรา บทความทางวิชาการ ...
  • Thumbnail

    การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) ของยุทธศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ : กรณีศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี 

    จิรนนท์ พุทธา; จำลอง โพธิ์บุญ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษายุทธศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษของจังหวัดกาญจนบุรี 2) เพื่อประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมจากทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางในการป้องกันและบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์ 3 ทางเลือก ได้แก่ 1) คือ ไม่นำยุทธศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษมาใช้ 2) คือ มีการนำยุทธศาสตร์บางยุทธศาสตร์มาใช้ และ 3) คือ นำยุทธศาสตร์ทั้งหมดมาใช้ การประเมินใช้กระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น (Analytical Hierarchy Process: AHP) โดยการเปรียบเทียบระหว่างทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์ทั้ง 3 ...
  • Thumbnail

    การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์: ทางเลือกในการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย 

    เฉลิมวุฒิ อุตโน; จำลอง โพธิ์บุญ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)

    การวิจัยนี้ศึกษายุทธศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย และกำหนดทางเลือกในการพัฒนาและประเมินผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จากทางเลือกในการพัฒนาดังกล่าว เพื่อเสนอทางเลือกในการพัฒ นาที่จะส่งผลด้านลบน้อยที่สุด แต่มีผลด้านบวกมากที่สุดต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการป้องกันและบรรเทาผล ด้านลบจากทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์ 3 ทางเลือก ได้แก่1) ไม่มีการนำยุทธศาสตร์การพัฒนาเขต เศรษฐกิจพิเศษมาใช้ 2) มีการนํายุทธศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษบางยุทธศาสตร์มาใช้ 3) มีการนำยุทธศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทั้งหมดมาใช ...
  • Thumbnail

    การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย 

    ดวงรัชนี เต็งสกุล; จำลอง โพธิ์บุญ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและประเมิบผลกระทบของแผบยุทธศาสตร์การพัฒณา เขตเศรษฐกิจพิเศษ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราช โดยใช้หลักการประเมินสิ่งแวคล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment: SEA) ประกอบการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเสนอแนวทางป้องกันหรือบรรเทาผลกระทบที่คาคว่จะเกิดขึ้น โดยการเปรียบเทียบทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์จาก 3 ทางเลือก ได้แก่ ทางเลือกที่ 1 ไม่นำยุทธศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษไปดำเนินการในพื้นที่ ทางเลือกที่ 2 นำยุทธศาสตร์ที่เสนอตามแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ 3 ยุทธศาสตร์มาดำเนินการ และทางเลือกที่ 3 ...
  • Thumbnail

    การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด 

    เมวิกา คำแสนราช; จำลอง โพธิ์บุญ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)

    งานศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทางเลือกระดับยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน อ.คลองใหญ่ จ.ตราด 2) ประเมินผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ของทางเลือกดังกล่าว รวมทั้งเสนอแนะทางเลือกระดับยุทธศาสตร์ที่เหมาะสม โดยได้เสนอทางเลือกระดับยุทธศาสตร์ในการพัฒนา 3 ทางเลือก ได้แก่ ทางเลือก 1 มีการดำเนินการตามแผนและยุทธศาสตร์ทุกด้าน ประกอบด้วย 4 กิจการเป้าหมาย ทางเลือก 2 มุ่งเน้นการดำเนินการตามแผนและยุทธศาสตร์บางด้าน ประกอบด้วย 3 กิจการเป้าหมาย และทางเลือก 3 มุ่งเน้นการดำเนินการตามแผนและยุทธศาสตร์บางด้าน ประกอบด้วย 2 ...
  • Thumbnail

    การปรับตัวต่อผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลแหลมฟ้าผ่าและชุมชน อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ 

    ฉัตรกนก บุญญภิญโญ; จำลอง โพธิ์บุญ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับ/ภาวะคุกคาม ความเสี่ยง และ ความอ่อนไหวต่อการกัดเซาะชายฝั่งและศึกษาผลของแผนงานและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหาร จัดการความเสี่ยงที่เกิดขึ้น เพื่อนำมาวิเคราะห์ความเปราะบางของพื้นที่และเสนอแนะแนวทางในการปรับตัวที่เหมาะสมขององค์การบริหารส่วนตำบลแหลมฟ้าผ่าและชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบล ผู้นำชุมชนและผูอ้ยู่อาศัยในชุมชนการเข้าร่วมการประชุมเพื่อวางแผนการดำ เนินการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ระหว่างองค์การบริหารส่วน ตำบลและชุมชน การสังเกตการณ์ในพื้นที่และการศึกษาเอกสารที ...
  • Thumbnail

    การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนแม่บทการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย จังหวัดปทุมธานี 

    ปัณณพัฒน์ ฤทธิ์เรืองเดช; จำลอง โพธิ์บุญ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาในการจัดการขยะของจังหวัดปทุมธานี รวมถึงปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชน 2) ศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ จัดทําแผนแม่บทการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย จังหวัดปทุมธานี 3) ศึกษาปัจจัยที่มีผล ต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน 4) เสนอแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการจัดทําแผนแม่บทการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย จังหวัดปทุมธานีเก็บ รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาด้านการจัดการขยะใน จังหวัดปทุมธานีอยู่ในระดับสูง เนื่องจากจังหวัดปทุมธานีม ...
  • Thumbnail

    การวิเคราะห์การจัดการขยะมูลฝอยและยุทธศาสตร์สาหรับกรุงเทพมหานคร 

    ปาลิกา วรรณวิไล; จำลอง โพธิ์บุญ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    การจัดการขยะมูลฝอยของกรุงเทพมหานครยังพบปัญหาอุปสรรคหลายประการ และในปี 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้กําหนดให้การจัดการขยะเป็นวาระแห่งชาติที่ต้อง ดําเนินการอย่างเร่งด่วน ผู้วิจัยจึงทําการศึกษาสถานการณ์และปัญหาการจัดการขยะขากบริบทเดิม ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ด้วยวิธีการศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิและเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง แล้วทําการวิเคราะห์ช่องว่างทางกลยุทธ์ (Gap Analysis) และประเมิน สภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร (SWOT Analysis) เพื่อนําไปสู่การจัดทํา ยุทธศาสตร์การจัดการขยะตามมิติของหลักการ Balanced Scorecard (BSC
  • Thumbnail

    ประสิทธิภาพในการสื่อสารของป้ายดิจิตัลแสดงคุณภาพอากาศบริเวณรอบนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง 

    เวสารัช วรุตมะพงศ์พันธุ์; จำลอง โพธิ์บุญ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2020)

    การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Cross sectional study) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการสื่อสารของป้ายดิจิตัลแสดงคุณภาพอากาศบริเวณรอบนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับประชาชน จำนวน 390 ตัวอย่าง ในพื้นที่ตำบลห้วยโป่ง ตำบลมาบตาพุด  และตำบลบ้านฉาง จังหวัดระยอง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาด้วยค่าความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และพิสูจน์สมมติฐานด้วย ANOVA t-Test และ Pearson Correlation ผลการศึกษาเชิงพรรณนาพบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย  ร้อยละ 57  อายุระหว่าง 26-35 ปี  ร้อยละ 33.3 สถานภาพสมรส ร้อยละ ...
  • Thumbnail

    ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับของประชาชนต่อโครงการโรงกำจัดขยะผลิตไฟฟ้าเพื่อสิ่งแวดล้อม หนองแขม กรุงเทพมหานคร 

    กรองเพชร ธนิทยรัตน์; จำลอง โพธิ์บุญ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการสร้างการยอมรับของประชาชนต่อการดำเนินโครงการโรงกำจัดขยะผลิตไฟฟ้าเพื่อสิ่งแวดล้อม หนองแขม กรุงเทพมหานคร และเพื่อเสนอแนะแนวทางการสร้างการยอมรับของประชาชนในการดำเนินการโครงการกำจัดขยะเพื่อผลิตพลังงาน โดยใช้ CIPP-I model ในการประเมินผลความสำเร็จ และใช้ SWOT Analysis ค้นหาปัจจัยภายในและภายนอกที่มีผลต่อการยอมรับของประชาชนต่อโครงการ การวิจัยดำเนินการโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องจากแหล่งต่าง ๆ และการสัมภาษณ์จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร ...
  • Thumbnail

    แนวทางการพัฒนาบริษัทเข้าสู่อุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 4 วัฒนธรรมสีเขียว : กรณีศึกษา บริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จำกัด (มหาชน) 

    พัสพงศ์ เอี่ยมสุภาษิต; จำลอง โพธิ์บุญ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)

    งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาบริษัทให้ได้มาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 4 โดยวิธีการวิเคราะห์หาช่องว่าง (Gap Analysis) การนำเกณฑ์กำหนดของอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 4 ตามข้อกำหนดของกระทรวงอุตสาหกรรม มาเปรียบเทียบกับการดำเนินงานด้านอุตสาหกรรมสีเขียวของบริษัทที่ได้ดำเนินการสำเร็จในปัจจุบัน เพื่อวิเคราะห์หาช่องว่างที่เกิดขึ้น  และนำเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งการศึกษาจะทำการเก็บข้อมูล การทบทวนเอกสาร การสังเกตการณ์ และการสัมภาษณ์ สำหรับผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย  ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐและท้องถิ่น ...
  • Thumbnail

    แนวทางการพัฒนาปรับปรุงศูนย์ศึกษาธรรมชาตินิเวศชายเลนเกาะธรรมชาติเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และอนุรักษ์ระบบนิเวศอย่างยั่งยืน 

    ภัทราพร เปรมประเสริฐ; จำลอง โพธิ์บุญ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014)

    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมา สภาพทางกายภาพ และการ บริหารจัดการของศูนย์ศึกษาธรรมชาตินิเวศชายเลนเกาะธรรมชาติ ตำบลท่าข้าม อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา 2) เพื่อวิเคราะห์และประเมินในด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดลอ้ ม และการ บริหารจัดการ ของศูนย์ศึกษาธรรมชาตินิเวศชายเลนเกาะธรรมชาติ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการ พัฒนาปรับปรุงภูมิสถาปัตยกรรม และการบริหารจัดการศูนย์ศึกษาธรรมชาตินิเวศชายเลนเกาะ ธรรมชาติ ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ระบบนิเวศและการอนุรักษ์ป่าชายเลนอย่างยั่งยืนเก็บรวบรวม ข้อมูลโดยการสังเกตการณ์ ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ...