Browsing GSEDA: Theses by Title
Now showing items 66-85 of 91
-
ผลกระทบจากปรากฏการณ์ El Nino-Southern Oscillation (ENSO) ต่อปริมาณผลผลิตพืชอาหารในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019);
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเป็นภูมิภาคที่มีพื้นที่เพาะปลูกมากที่สุดในประเทศไทย และมักประสบปัญหาภัยแล้งทำให้เกิดความเสียหายต่อปริมาณผลผลิตเมื่อทำการเก็บเกี่ยว โดยการศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ENSO กับผลผลิตพืชอาหารของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเพื่อระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อผลผลิตของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยวิธีการศึกษาใช้ข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ ข้อมูลดัชนีการเกิดปรากฏการณ์ ENSO (Oceanic Nino Index) ข้อมูลอุตุนิยมวิทยา ข้อมูลผลผลิตอ้อยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงระยะเวลา 20 ปี ตั้งแต่ปี ... -
ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ของระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์แบบลอยน้ำ กรณีศึกษา สระเก็บน้ำห้วยเกษียร จังหวัดปราจีนบุรี
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ของระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ กรณีศึกษา สระเก็บน้ำห้วยเกษียร จังหวัดปราจีนบุรีโดยมีกลุ่มเป้าหมายที่ทำการศึกษาคือ ประชาชน และคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ ของตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี การวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมโดยการเก็บข้อมูลภาคสนาม และการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการโดยศึกษาพารามิเตอร์ อุณหภูมิ ความขุ่น ความเป็นกรด – เบส ปริมาณของแข็งละลายทั้งหมด การนำไฟฟ้า ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ(DO) ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ต้องการใช้ในการย่อยสลายอินทรีย์สารในน้ำ(BOD) ... -
ผลของการไถพรวนที่มีต่อปริมาณคาร์บอนที่เก็บสะสมในดินและผลผลิตข้าวโพด กรณีศึกษาพื้นที่เกษตรกรรม จังหวัดลพบุรี
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
การศึกษาผลของการไถพรวนที่มีต่อปริมาณคาร์บอนที่เก็บสะสมในดินและผลผลิต ข้าวโพด ในพื้นที่ที่มีการทำเกษตรกรรม จังหวัดลพบุรีวางแผนการทดลองแบบ 2 x 4 Factorial Arrangement in CRD ที่ระดับความลึก 0 – 15.0 และ 15.0 – 30.0 ซม. โดยใช้รูปแบบการไถพรวนที่ แตกต่างกัน 4 รูปแบบ คือ 1) การไม่ไถพรวนดิน (T1 ) 2) การไถแปรคร้ังเดียว (ไถพลิกดินด้วยผาลสามแล้วพรวนดินผาลเจ็ด; T2 ) 3) การพรวนซ้ำ 1 คร้ัง (ไถพลิกดินดว้ยผาลสามแล้วพรวนดินผาลเจ็ดแล้วใช้กำลังคนพรวนซ้ำหนึ่งคร้ัง; T3 ) 4) การพรวนซ้ำ 2 คร้ัง (ไถพลิกดินด้วยผาลสามแล้ว พรวนดินผาลเจ็ด แล้วใช้กำลังคนพรวนซ้ำ สองคร้ัง; ... -
ผลของแหล่งคาร์บอนอนินทรีย์ต่อการผลิตไบโอไฮโดรเจนจากไซยาโนแบคทีเรีย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019);
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการเพาะเลี้ยง Arthronema africanum strain BKP-Sansab ซึ่งคัดเลือกจากคลองแสนแสบ กรุงเทพมหานคร ฯ เพื่อศึกษาการผลิตไฮโดรเจน ผลการทดลองพบว่า A. africanum strain BKP-Sansab มีความต้องการปัจจัยในการผลิตไฮโดรเจนที่หลากหลาย โดยเซลล์สามารถปรับตัวได้ในอาหาร BG-1101 (Blue - Green Medium สูตรดัดแปลง) ประกอบด้วยเหล็ก 46 ไมโครโมลาร์ โซเดียมคาร์บอเนต 0.8 กรัม และค่า pH 7.5 ภายใต้สภาวะที่มีแสงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 1 สัปดาห์ จากนั้นทาการเก็บเกี่ยวเซลล์แล้วนาไปเขย่าที่ความเร็วรอบ 160 รอบต่อนาที ที่อุณหภูมิห้อง และความเข้มแสง 2,500 ลักซ์ ... -
ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน จากการทำเกษตรอินทรีย์: กรณีศึกษาสามพรานโมเดล
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนจากการทำเกษตรอินทรีย์ ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำเกษตรอินทรีย์ให้ประสบความสำเร็จ และเสนอแนวทางการทำเกษตรอินทรีย์ให้ประสบความสำเร็จ โดยทำการสำรวจและเก็บข้อมูลการดำเนินการโครงการสามพรานโมเดล อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยสัมภาษณ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการ จำนวน 32 คน คือ กรรมการผู้จัดการโรงแรมสามพรานริเวอร์ไซด์ (1 คน) ตัวแทนเกษตรกรที่เป็นสมาชิกในโครงการ (11 คน) และผู้บริโภค (20 คน) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจับกลุ่มประเด็นเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนจากก ... -
ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนของการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะ RDF ในประเทศไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019);
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การดำเนินการของโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะ RDF ในประเทศไทย ทั้งในส่วนของนโยบายส่งเสริมและสนับสนุน ศักยภาพ และข้อจำกัดจากการผลิตพลังงานของโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะ อีกทั้งประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) จากการผลิตพลังงานของโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะ RDF รวมถึงเสนอแนวทางการเพิ่มผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนจากการผลิตพลังงานของโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะ RDF ในประเทศไทย งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และจากการสัมภาษณ์ผู้แทนจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กรมพัฒนาพลังง ... -
มูลค่าทางเศรษฐกิจของความเสื่อมโทรมของทรัพยากรน้ำเข้าสู่เขื่อนภูมิพลและหลักการและเหตุผลสำหรับการคุ้มครองธรรมชาติในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018);
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทรัพยากรน้ำไหลเข้าเขื่อนภูมิพลในช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. 2540 ถึง 2559 การวิเคราะห์ประกอบด้วยการจำลองแนวโน้ม การคำนวณปริมาณการเปลี่ยนแปลง และการประเมินมูลค่าของปริมาณการเปลี่ยนแปลง การศึกษาพบว่า ทรัพยากรน้ำไหลเข้าเขื่อนภูมิพล จากแม่น้ำปิงซึ่งมีต้นกำเนิดจากพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย มีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องระหว่าง พ.ศ. 2540 – 2549 และมีความเสื่อมโทรมลงอย่างต่อเนื่องระหว่าง พ.ศ. 2550 – 2559 มูลค่าทางเศรษฐกิจของความสูญเสียทรัพยากรน้ำไหลเข้าเขื่อนภูมิพลระหว่าง พ.ศ. 2550-2559 ... -
ระบบอุปถัมภ์ในคติเห็นแก่เครือญาติ กับประสิทธิผลของการทำหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งหนึ่งในอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019);
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาในประเด็น “ระบบอุปถัมภ์ในคติเห็นแก่เครือญาติ กับประสิทธิผลของการทำหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งหนึ่ง ในอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา” โดยมีวัตถุประสงค์ของการทำวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เพื่อศึกษาลักษณะการเมืองท้องถิ่นที่มีระบบอุปถัมภ์ในคติเห็นแก่เครือญาติ และศึกษาประสิทธิผลของการทำหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บนพื้นฐานของการเมืองท้องถิ่นที่มีระบบความสัมพันธ์ดังกล่าวรวมทั้งศึกษาความเกี่ยวข้องระหว่างระบบอุปถัมภ์ในคติเห็นแก่เครือญาติกับประสิทธิผลของการทำหน้าที่องค์กรปกค ... -
เครือข่ายทางสังคมในการฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้จังหวัดน่าน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018);
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจเครือข่ายทางสังคมในการฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้จังหวัดน่าน โดยการวิเคราะห์โครงสร้างและกลไกการขับเคลื่อนของเครือข่ายที่เชื่อมโยงกับการฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้จังหวัดน่าน และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาเครือข่ายทางสังคมในการฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้ให้ยั่งยืนในจังหวัดน่าน การศึกษานี้อาศัยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการศึกษาเอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญในเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้ในจังหวัดน่าน ผลการศึกษาชี้ให้เห็นพัฒนาการของเครือข่ ... -
แนวทางการจัดการกากของเสียอุตสาหกรรมให้เป็นศูนย์เพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ : กรณีศึกษาโรงงานผลิตเมทิลเอสเทอร์ และแฟตตี้แอลกอฮอล์
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
การศึกษานี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการกากของเสียอุตสาหกรรมให้เป็นศูนย์เพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และปัจจัยความสำเร็จ ปัญหา และอุปสรรคของการคำเนินการโดยประยุกต์ใช้หลัก CIPP - I Model ในการศึกษาตามวัตถุประสงค์ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมถึงการสังเกตการณ์ และการศึกษาเอกสาร ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาตามประเด็น และตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลตามเทคนิคสามเส้า ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยนำเข้าที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดความสำเร็จ คือ ความมุ่งมั่นของผู้บริหาร อีกทั้งการส่งเสริมโครงการหรือกิจกรรม ... -
แนวทางการจัดการระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน จังหวัดสิงห์บุรี
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบและการจัดการระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในชุมชน จังหวัดสิงห์บุรี ถอดบทเรียนความสำเร็จและปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในชุมชน จังหวัดสิงห์บุรี และเสนอแนวทางการจัดการระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในชุมชน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการศึกษาข้อมูลจาก เอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง และใช้การสัมภาษณ์และการสอบถามประกอบการสัมภาษณ์ กลุ่มสมาชิกพลังงานทดแทนจังหวัดสิงห์บุรีจำนวน 22 คน จาก 6 อำเภอ ที่มีการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในที่อยู่อาศัย ... -
แนวทางการจัดการอาคารคลังสินค้าสีเขียว กรณีศึกษา บริษัทผู้ให้บริการด้านการขยายตลาด
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016);
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเกณฑ์การประเมินอาคารคลังสินค้าสีเขียว และนำเกณฑ์ การประเมินฯ ไปทดลองกับอาคารคลังสินค้าบริษัทผู้ให้บริการด้านการขยายตลาด ซึ่งมีคลังสินค้า ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และพระนครศรีอยุธยา โดยใช้เกณฑ์อาคารเขียว ภาครัฐ (กรณีอาคารเดิม) ของกรมควบคุมมลพิษ เกณฑ์สำนักงานสีเขียว ของกรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อม เกณฑ์ความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย สำหรับอาคารระหว่างใช้งาน ของ สถาบันอาคารเขียวไทย และเกณฑ์ LEED 2009 for Existing Buildings: Operations & Maintenance ของประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นฐานข้อมูลในการสร้ ... -
แนวทางการจัดตั้ง และการบริหารจัดการธนาคารขยะรีไซเคิลในชุมชน สำหรับผู้สูงอายุ ตำบลราชสถิตย์ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้สูงอายุ และปัจจัยที่มีผลต่อการจัดตั้ง และการบริหารจัดการธนาคารขยะรีไซเคิลของชุมชน สำหรับผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การถอดบทเรียนจากกรณีศึกษา การลงพื้นที่ในการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลราชสถิตย์ และเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตัวแทนผู้สูงอายุ และผู้นำชุมขน และการสังเกตการณ์ เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพและประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการธนาคารขยะรีไซเคิลชุมชน สำหรับผู้สูงอายุ (Feasibility Study) 4 ด้าน ประกอบด้วย ... -
แนวทางการผลิตพลังงานหมุนเวียนเพื่อความยั่งยืนของชุมชนในจังหวัดสุรินทร์
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของพลังงานหมุนเวียนที่เหมาะสมต่อความต้องการของชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ และประเมินความเป็นไปได้ในการผลิตพลังงานด้วยพลังงานหมุนเวียนในชุมชน ด้านกายภาพ สังคม การบริหารจัดการ เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม และเสนอแนวทางการผลิตพลังงานจากพลังงานหมุนเวียนเพื่อความยั่งยืนของชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ การวิจัยนี้ใช้แบบสัมภาษณ์และการสังเกตการณ์เป็นเครื่องมือในการศึกษา ตามกรอบแนวคิด CIPP-I Model ได้แก่ คำถามเกี่ยวกับนโยบาย (Context) สิ่งที่นำเข้า (Input) คำถามเกี่ยวกับการดำเนินงานเพื่อหาศักยภาพที่เหมาะสมของพื้นที่ (Process) ... -
แนวทางการพัฒนาบริษัทเข้าสู่อุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 4 วัฒนธรรมสีเขียว : กรณีศึกษา บริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จำกัด (มหาชน)
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาบริษัทให้ได้มาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 4 โดยวิธีการวิเคราะห์หาช่องว่าง (Gap Analysis) การนำเกณฑ์กำหนดของอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 4 ตามข้อกำหนดของกระทรวงอุตสาหกรรม มาเปรียบเทียบกับการดำเนินงานด้านอุตสาหกรรมสีเขียวของบริษัทที่ได้ดำเนินการสำเร็จในปัจจุบัน เพื่อวิเคราะห์หาช่องว่างที่เกิดขึ้น และนำเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งการศึกษาจะทำการเก็บข้อมูล การทบทวนเอกสาร การสังเกตการณ์ และการสัมภาษณ์ สำหรับผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐและท้องถิ่น ... -
แนวทางการพัฒนาปรับปรุงศูนย์ศึกษาธรรมชาตินิเวศชายเลนเกาะธรรมชาติเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และอนุรักษ์ระบบนิเวศอย่างยั่งยืน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014);
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมา สภาพทางกายภาพ และการ บริหารจัดการของศูนย์ศึกษาธรรมชาตินิเวศชายเลนเกาะธรรมชาติ ตำบลท่าข้าม อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา 2) เพื่อวิเคราะห์และประเมินในด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดลอ้ ม และการ บริหารจัดการ ของศูนย์ศึกษาธรรมชาตินิเวศชายเลนเกาะธรรมชาติ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการ พัฒนาปรับปรุงภูมิสถาปัตยกรรม และการบริหารจัดการศูนย์ศึกษาธรรมชาตินิเวศชายเลนเกาะ ธรรมชาติ ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ระบบนิเวศและการอนุรักษ์ป่าชายเลนอย่างยั่งยืนเก็บรวบรวม ข้อมูลโดยการสังเกตการณ์ ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ... -
แนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยตามหลักมหาวิทยาลัยยั่งยืน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อถอดบทเรียนการดำเนินงานมหาวิทยาลัยยั่งยืนของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานมหาวิทยาลัยยั่งยืน 3) เพื่อวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap Analysis) ในการดำเนินงานด้านมหาวิทยาลัยยั่งยืนของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ4) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยในประเทศไทยเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืน โดยคัดเลือกมหาวิทยาลัยที่ใช้ในการศึกษาจากการจัดอันดับ UI Green Metric จำนวน 9 มหาวิทยาลัย ใช้ทฤษฎีระบบ Input Process Output (IPO) ในการถอดบทเรียนความสำเร็จ และวิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกด้วยทฤษฎี ... -
แนวทางการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) อย่างยั่งยืน : กรณีศึกษา นิคมอุตสาหกรรมบางชัน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนายกระดับนิคมอุตสาหกรรมบางชันสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และเสนอแนวทางในการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มุ่งเน้นศึกษาการดำเนินงานจากการพัฒนายกระดับนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของ นิคมอุตสาหกรรมบางชัน ประกอบด้วยการศึกษาข้อมูลแบบปฐมภูมิ คือ การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างผู้มีส่วนได้เสีย 4 กลุ่ม ได้แก่ สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมบางชัน ผู้ประกอบการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้นำชุมชน และการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ป ... -
แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน : เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019);
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช และระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน เพื่อเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงผสมระหว่างคุณภาพและปริมาณโดยใช้แบบสัมภาษณ์กับตัวแทนภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้นำชุมชน และใช้แบบสอบถามกับผู้มีบทบาทในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน 400 ครัวเรือน ใช้การวิเคราะห์ทางสถิติเชิงพรรณนาและอนุมาน รวมถึงการทำ SWOT Analysis และ TOWS Matrix ผลการศึกษาพบว่า 1) เทศบาลนครนครศรีธรร ... -
แนวทางการสร้างความยั่งยืนในการผลิตก๊าซชีวภาพระดับชุมชนและครัวเรือน กรณีศึกษา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความยั่งยืน ปัญหาและอุปสรรคในการผลิตก๊าซชีวภาพในระดับชุมชนและครัวเรือนในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ประเมินการผลิตก๊าซชีวภาพในพื้นที่ และเสนอแนวทางการสร้างความยั่งยืนในการผลิตก๊าซชีวภาพทั้งในระดับชุมชนและครัวเรือนของพื้นที่ดังกล่าว ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง รวม 26 ราย และทำการศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิร่วมด้วย นำข้อมูลทั้งหมดมาประมวลและวิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎีการประเมินแบบ CIPP-I Model ได้พิจารณาผลการดำเนินการทั้ง 5 องค์ประกอบและ 16 ตัวบ่งชี้ ผลการศึกษาพบว่าความยั่งยืนในการผ ...