Now showing items 1-6 of 6

  • Thumbnail

    การบริหารจัดการและการดำเนินโครงการอุทยานแห่งชาติสีเขียวด้านขยะมูลฝอยของอุทยานแห่งชาติภูเรือ จังหวัดเลย 

    ภัทรภรณ์ พิศปั้น; ฆริกา คันธา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2020)

    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระบบการจัดการขยะมูลฝอยในปัจจุบัน รวมถึงประเภทและปริมาณของขยะมูลฝอยของอุทยานแห่งชาติภูเรือ จังหวัดเลย การประเมินการปฏิบัติตามเกณฑ์ด้านการจัดการขยะมูลฝอยของโครงการประกวดอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green national park) และเพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสมสำหรับอุทยานแห่งชาติดังกล่าว เป็นการศึกษาแบบผสมผสานทั้งวิธีการศึกษาเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวข้องกับการจัดการขยะมูลฝอยของอุทยานแห่งชาติภูเรือและผู้ผลิตขยะมูลฝอยภายในพื้นที่ ...
  • Thumbnail

    การประเมินน้ำต้นทุนเเละความต้องการใช้น้ำเกษตรกรรมในพื้นที่ลุ่มน้ำยม 

    อนิรุจน์ คำนล; ฆริกา คันธา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)

    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความเพียงพอของน้ำในปัจจุบันจากสถานการณ์ปริมาณน้ำต้นทุนและความต้องการใช้น้ำด้านเกษตรกรรม และประเมินสถานการณ์ของน้ำต้นทุนและความต้องการใช้น้ำเพื่อการเกษตรกรรมในอนาคตจากปัจจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในปี พ.ศ. 2564 นำไปสู่จัดทำข้อเสนอแนะในด้านการบริหารจัดการน้ำต้นทุนให้เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำเพื่อการเกษตรกรรม ผลการศึกษาความเพียงพอของน้ำรายปีพบว่า ลุ่มน้ำควน แม่น้ำยมตอนบน น้ำปี้ และน้ำแม่มอกเป็นลุ่มน้ำที่มีน้ำต้นทุนมีเพียงพอ น้ำงาว น้ำแม่คำมี น้ำแม่ต้า ห้วยแม่สิน ...
  • Thumbnail

    การวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งลอยน้ำ บริเวณสระเก็บน้ำพระรามเก้า อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ปทุมธานี 

    ขนิษฐา สุวรรณประภากร; ฆริกา คันธา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)

    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม ของระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งลอยน้ำ บริเวณสระเก็บน้ำพระรามเก้า อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปทุมธานี โดยได้เก็บข้อมูลภาคสนาม เพื่อนำมาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการดังนี้ ค่าออกซิเจนละลายน้ำ ความขุ่น บีโอดี ความเป็นกรด-ด่าง  ของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำ (Total Dissolved Solid) บีโอดี (Biochemical Oxygen Demand) ค่าการนำไฟฟ้า  ความเค็ม ของแข็งแขวนลอย แบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด แบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม  และ อุณหภูมิ ซึ่งเก็บตัวอย่างน้ำ 3 ครั้งในเดือน ธันวาคม ...
  • Thumbnail

    การศึกษาการเปลี่ยนแปลงและวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าพรุควนขี้เสียนและป่าพรุควนเคร็ง 

    ภาวิณี จิตต์ศรัทธา; ฆริกา คันธา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)

    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าพรุควนขี้เสียนและป่าพรุควนเคร็ง ในช่วงปี พ.ศ.2552 และปี พ.ศ.2559 ศึกษาพื้นที่เสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน และศึกษามาตรการการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน รวมถึงเสนอแนวทางในการจัดการพื้นที่ศึกษา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งทุติยภูมิและปฐมภูมิ จากการสัมภาษณ์ รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลบนระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า ในพื้นที่ศึกษานั้นมีพื้นที่ปาล์มน้ำมัน ยางพารา และพื้นที่เกษตรกรรม เพิ่มขึ้นมากที่สุด ส่วนพื้นที่นา พื้นที่ป่าพรุ และพื้นที่เบ็ดเตล็ด ...
  • Thumbnail

    การศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของลุ่มน้ำสาขาลำโดมใหญ่ 

    อธิญาพรรณ ศรีบุญชำ; ฆริกา คันธา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2021)

    ลุ่มน้ำสาขาลำโดมใหญ่ เป็นพื้นที่เกษตรที่สำคัญของลุ่มน้ำมูลและจังหวัดอุบลราชธานี จากการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเข้มข้น ร่วมกับปัญหาภัยแล้ง พื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลำโดมใหญ่ประสบปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม และมลพิษทางน้ำในพื้นที่ดังกล่าว การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อทำการศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในลุ่มน้ำสาขาลำโดมใหญ่ เพื่อคาดการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องตามแนวทางการพัฒนาด้วยแบบจำลอง Markov Model และศึกษาแนวโน้มและเสนอแนะแนวทางในการใช้ประโยชน์ที่ดินในลุ่มน้ำสาขาลำโดมใหญ่ให้สอดคล้องตามศักยภาพของพื้นที่ ซึ่งเป็นการศึกษาแบบผสมผสาน ...
  • Thumbnail

    ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน และแนวทางการพัฒนาการป้องกันพื้นที่ป่าไม้ในอุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 

    สุนี ลำสา; ฆริกา คันธา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) กำหนดขอบเขตพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินใน อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง 2) วิเคราะห์ปัจจยัที่มีผลต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินในอุทยานแห่งชาติ น้ำตกห้วยยาง 3)ศึกษาข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจและสังคมจากประชาชนในพื้นที่ศึกษาและ 4) นำเสนอแนวทางการพัฒนาและการป้องกันการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งแบ่งวิธีการศึกษาออกเป็ น 2 ส่วน ได้แก่การศึกษาลักษณะข้อมูลด้านกายภาพ โดยการนำระบบภูมิสารสนเทศมาประยุกต์ใน การแปลตีความภาพถ่ายทางอากาศ ปีพ.ศ. 2537 และภาพถ่ายดาวเทียม ปีพ.ศ. 2558 ด้วยสายตา ร่วมกับการสำรวจข้อมูลภาคสนาม เพื่อตรวจสอบความถูก ...