Now showing items 1-19 of 19

  • Thumbnail

    การประเมินความยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านแลงพัฒนา 

    กฤษณ์ จารุดำรงศักดิ์; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)

    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านแลงพัฒนา 2) เพื่อประเมินผลการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน 3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงาน และ 4) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อความยั่งยืน การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสารรายงานทางบัญชีของวิสาหกิจชุมชนย้อนหลัง 1 ปี และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยผู้วิจัยได้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มผู้ปฏิบัติงานในวิสาหกิจชุมชน 2) กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงาน และ 3) กลุ่มผู้สนับสนุนวิสาหกิจชุมชน ...
  • Thumbnail

    การประเมินผลการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 

    ปัญญาทร หวังชูธรรม; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างยาวนานและมีประสิทธิภาพ จึงเป็นที่น่าสนใจว่า สถาบันฯ มีแนวทางในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงาน ประเมินผลการดำเนินงาน รวมถึงปัญหา และอุปสรรคที่มีผลต่อการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันฯ และเสนอแนะ แนวทางพัฒนาการดำเนินงานดังกล่าวงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้หลักการประเมินผลเชิง ดุลยภาพ (Balanced Scorecard) ในการศึกษา เก็บรวมรวมข้อมูลโดยกา ...
  • Thumbnail

    การประเมินผลการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา 

    ริญญาภัทร์ ภูวโรจน์พิบูล; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)

    งานวจิยัคร้ังน้ีเป็นงานวจิยัเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อประเมินประสิทธิผลและเสนอแนวทางในการ พัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา โดยเก็บรวบรวมข้อมูล จากการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโครงการ ประกอบด้วยประชาชนและ ผู้นำชุมชนในพื้นที่โครงการ หน่วยงานราชการส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น เจ้าของโครงการ บริษัทที่ปรึกษา นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม และองค์การพัฒนา ...
  • Thumbnail

    การประเมินผลการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการสะพานข้ามอ่างเก็บน้ำลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์ 

    รุจิกานต์ เสนาคง; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการพัฒนาประเทศเป็นสิ่งจําเป็นต่อการยกระดับ คุณภาพชวีตประชาชน อย่างไรก็ตามการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ จําเป็นต้องพิจารณา ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจจะเกิดขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลระบบ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ปัญหาและอุปสรรค รวมถึงเสนอแนวทาง การปรับปรุงระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาโครงการสะพานข้ามอ่างเก็บน้ำลําปาว จังหวัดกาฬสินธุ์โดยใช้ระเบียบวิธีวีจิยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษา พบว่า การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ มีการดำเนินก ...
  • Thumbnail

    การประเมินศักยภาพสิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่ในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน : กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา 

    ศุภกร เทกมล; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2020)

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอพื้นที่และแนวทางการจัดการที่เหมาะสมในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในจังหวัดสงขลา  งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้กระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่ (Regional Environmental Assessment : REA) มีเกณฑ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี จากนั้นให้ค่าน้ำหนักด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (Analytic Hierarchy Process : AHP) ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) เพื่อรับฟังความคิดเห็น ผลจากการศึกษาพบว่า ตำบลสะบ้าย้อย อำเภอสะบ้าย้อย ...
  • Thumbnail

    การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม : กรณีศึกษาชุมชนบ้านทุ่งศรี อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ 

    ลักษมี เกตุสกุล; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    ในอดีตประเทศไทยมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลัก ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ตามมา โดยเฉพาะการจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในระดับท้องถิ่น ที่ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างเหมาะสม ทำให้การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จและปัญหาหรืออุปสรรคของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชนบ้านทุ่งศรี จังหวัดแพร่ และเสนอแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม ...
  • Thumbnail

    การมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ: กรณีศึกษา โครงการนิคมอุตสาหกรรมระยอง (บ้านค่าย) จังหวัดระยอง 

    ศิริกัญญา เชาวมัย; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)

    การพัฒนาประเทศในอดีตที่ผ่านมาได้มีการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้เป็นต้นทุนในการดำเนินกิจกรรมและโครงการพัฒนา เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและก่อปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่โครงการอย่างรุนแรง และนำมาสู่ปัญหาความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างเจ้าของโครงการกับประชาชนในท้องถิ่น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ กรณีศึกษา โครงการนิคมอุตสาหกรรมระยอง (บ้านค่าย) จังหวัดระยอง เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จ ...
  • Thumbnail

    การมีส่วนร่วมของประชาชนในการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ กรณีศึกษา โครงการขยายกำลังการผลิตโรงไฟฟ้ากระบี่ 

    มานิดา เฟื่องชูนนุช; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    ปัจจุบันปัญหาความขัดแย้งจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพอย่างรุนแรงทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่าง แท้จริง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วม ปัจจัยความสำเร็จปัญหา และอุปสรรค เพื่อนำไปสู่การนำเสนอแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ประยุกต์หลัก CIPP-I Model มา ทำการศึกษากระบวนการดังกล่าว โดยใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บ รวบรวมข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ร่วมกับการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ...
  • Thumbnail

    การมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหาหมอกควันจากการเผาในที่โล่งในจังหวัดลำปาง 

    ศรีสมภพ กองสุข; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    การศึกษาคร้ังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ปัจจัยความสําเร็จ ปัญหา/อุปสรรคเพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควนจากการเผาในที่โล่งจังหวัดลำปางโดยการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง กับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใน จังหวัดลำปาง ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาหมอกควนในจังหวัดลำปางมีสาเหตุจากกิจกรรมการเผาในที่โล่ง ของประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่จังหวัดลำปาง ร่วมกับลักษณะทางภูมิศาสตร์และภูมิอากาศของ จังหวัดลำปางซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่งกระทะซึ่งเอื้อ ...
  • Thumbnail

    การวิเคราะห์กฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายการควบคุมการระบายมลพิษทางอากาศจากภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี 

    จิรัชญา สิงห์มณี; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)

    งานวิจัยเรื่องการวิเคราะห์กฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายการควบคุมการระบายมลพิษทางอากาศจากภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาช่องว่างทางกฎหมายการควบคุมการระบายมลพิษทางอากาศจากภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของประเทศไทย และเพื่อเสนอแนะแนวการพัฒนากฎหมายการควบคุมการระบายมลพิษทางอากาศจากภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดมาตรการทางกฎหมายด้านการควบคุมการระบายมลพิษทางอากาศของประเทศไทย นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมนักวิชาการด้านกฎหมาย องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม กลุ่มผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรร ...
  • Thumbnail

    การวิเคราะห์การจัดการอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษา บริษัท ปิโตรเคมีและการกลั่นแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง 

    ทิวาพร สุระพล; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)

    งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การดำเนินงานด้านการจัดการ อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมของกรณีศึกษา บริษัท ปิโตรเคมีและการกลั่นแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาให้กับบริษัทและหน่วยงานอื่นๆ  การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interviews) ร่วมกับการสังเกตการณ์ในพื้นที่และศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ ผู้บริหาร พนักงาน ผู้รับเหมา ชุมชน และหน่วยงานของรัฐ ได้ประยุกต์หลักการของดัชนีชี้วัดความสำเร็จแบบสมดุล (Balanced Scorecard) ...
  • Thumbnail

    การวิเคราะห์การดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 12 เป้าประสงค์ที่ 12.5 ภายใต้บริบทของประเทศไทย กรณีศึกษา: จังหวัดปทุมธานี  

    ศศิธร ศรีสุรักษ์; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)

     การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 12 เป้าประสงค์ที่ 12.5 ภายใต้บริบทของประเทศไทย รวมทั้งการดำเนินงานด้านการจัดการขยะตามหลักการ 3Rs กรณีศึกษา จังหวัดปทุมธานีที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนดังกล่าว เพื่อให้ทราบถึงปัญหา อุปสรรค และนำเสนอข้อเสนอแนะเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย SDGs ดังกล่าว งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 12 เป้าประสงค์ที่ 12.5 ...
  • Thumbnail

    ความขัดแย้งจากโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ : กรณีศึกษา นิคมอุตสาหกรรมระยอง (บ้านค่าย) 

    อภิชัย สิงห์ศรี; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)

    ในการaพัฒนาภาคอุตสาหกรรมของประเทศนำไปสู่การขยายตัวของนิคมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจนั้น อาจทำให้ส่งผลกระทบกับชุมชนใกล้เคียง โดยเฉพาะโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่อาจทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชุมชนและผู้พัฒนาโครงการ งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสาเหตุปัญหาความขัดแย้ง  รวมถึงเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ให้ชุมชนและโครงการพัฒนายอมรับที่จะอยู่ร่วมกันได้ กรณีศึกษา นิคมอุตสาหกรรมระยอง (บ้านค่าย) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้มีส่วนได้เสีย 40 คน จากการศึกษาพบว่าสาเหตุความขัดแย้งต ...
  • Thumbnail

    ความสำเร็จในการจัดการสิ่งแวดล้อมกรณีศึกษาเทศบาลเมืองน่าน 

    มาริสา นิ่มกุล; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)

    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานในการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลเมืองน่าน รวมถึงความสำเร็จในการดำเนินงานดังกล่าว งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างกับผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลเมืองน่าน ร่วมกับการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมและการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยนำทฤษฎีระบบการบริหารงานและประเมินผลองค์กร มาใช้ในกระบวนการศึกษาดังกล่าว ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลเมืองน่าน ประกอบด้วยปัจจัยหลายมิติ ได้แก่  มิติด้านการเรียนรู้และพัฒนา ...
  • Thumbnail

    ธรรมาภิบาลเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาโรงไฟฟ้าพระนครใต้ จังหวัดสมุทรปราการ 

    ปรียานุช เลิศรัศมีมาลา; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดําเนินการของโรงไฟฟ้าพระนครใต้ตามหลัก ธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม ตลอดจนปัญหาหรืออุปสรรคเพื่อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการดําเนินการโรงไฟฟ้าพระนครใต้ตามหลักธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) กับผู้มีส่วนได้เสีย ร่วมกับการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง และประยุกต์ใช้ตัวชี้วัดธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม (The Access Initiative, TAI)เป็นหลักในการศึกษา เนื่องจากตัวชี้วัดดังกล่าวมุ่งเน้นการประเมิน “กระบวนการ”ประกอบด้วย 3 หมวด ...
  • Thumbnail

    ธรรมาภิบาลในการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาเทศบาลตำบลศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี 

    ณัชทิชา จันทร์อินทร์; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยในอดีตที่ผ่านมา กล่าวได้ว่าเป็นการพัฒนาที่มุ่งเน้นด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก ส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการพัฒนาที่ไม่สมดุลและไม่ยั่งยืน ด้วยเหตุนี้จึงนำไปสู่การแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีธรรมาภิบาล งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาธรรมาภิบาลในการจัดการสิ่งแวดล้อม ปัญหาและอุปสรรค รวมถึงเสนอแนวทางในการส่งเสริมธรรมาภิบาลในการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาเทศบาลตำบลศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานีเก็บรวบรวมข้อมูล ...
  • Thumbnail

    ธรรมาภิบาลในการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษา เขตประกอบการอุตสาหกรรมไออาร์พีซี จังหวัดระยอง 

    ณัฐนันท์ เขียวเกษม; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)

    การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินการของเขตประกอบการอุตสาหกรรมไออาร์พีซีตามหลักธรรมาภิบาลในการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคเพื่อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงาน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยคุณภาพ (Qualitative Research)  มีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างร่วม (Semi-Structured Interviews) กับการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participation Observation) กับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง และประยุกต์ใช้ตัวชี้วัดจากคู่มือการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์ธรรมภิบาลสิ่งแวดล้อ ...
  • Thumbnail

    ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานความรับผิดชอบต่อสังคม : กรณีศึกษา บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) 

    วาทิต ส่องศิริ; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ใน 4 ด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้านการเรียนรู้และการพัฒนาหน่วยงาน และด้านประสิทธิผล 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) 3) เสนอแนวทางในการพัฒนาการดำเนินงานความรับผิดชอบต่อสังคมแก่บริษัท ไออาร์ พีซี จำกัด (มหาชน) และเสนอแนวทางในการจัดทำการดำเนินงานความรับผิดชอบต่อสังคมแก่องค์กรอื่นๆโดยการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative ...
  • Thumbnail

    ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) ของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี กรณีศึกษา บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) จังหวัดระยอง 

    อลงกรณ์ อินทรฑูต; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินงานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) 3) เป็นแนวทางในการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม แก่องค์กรอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการศึกษานี้ได้ประยุกต์แนวคิด CIPP-I Model ซึ่งมีการพิจารณาปัจจัยด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และด้านผลกระทบที่ได้จากการดำเนินงานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด(มหาชน) เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างก ...