Browsing GSEDA: Theses by Author "วิชชุดา สร้างเอี่ยม"
Now showing items 1-3 of 3
-
การรับรู้กับการปรับตัวของเกษตรกรต่อความแปรปรวนของภูมิอากาศ: ศึกษาพื้นที่ภัยแล้งซ้ำซาก ตำบลหนองพระ จังหวัดพิจิตร
จิรัชยา ศิริเลขอนันต์; วิชชุดา สร้างเอี่ยม (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)
การศึกษานี้อาศัยวิธีวิทยาทฤษฎีฐานรากในการศึกษากระบวนการรู้คิดและเงื่อนไขที่กำหนดการรับรู้ความเสี่ยงและความสามารถในการปรับตัวของเกษตรกรต่อความแปรปรวนของภูมิอากาศ โดยมีวัตถุประสงค์ ก) เพื่อศึกษาการรับรู้ความเสี่ยงและความสามารถในการปรับตัวของเกษตรกรต่อความแปรปรวนของภูมิอากาศ ข) เพื่อศึกษาแบบแผนการปรับตัวของเกษตรกรที่เกิดขึ้นจากแนวโน้มการรับรู้ และ ค) เพื่ออธิบายแบบแผนการรับรู้และปรับตัวของเกษตรกรต่อความแปรปรวนของภูมิอากาศ การเก็บข้อมูลใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบไม่มีโครงสร้างกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ เกษตรกรที่ปลูกข้าวเป็นหลักนอกเขตชลประทานที่ประสบกับ ... -
เครือข่ายทางสังคมในการฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้จังหวัดน่าน
สิทธิชัย คำเฟื่องฟู; วิชชุดา สร้างเอี่ยม (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจเครือข่ายทางสังคมในการฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้จังหวัดน่าน โดยการวิเคราะห์โครงสร้างและกลไกการขับเคลื่อนของเครือข่ายที่เชื่อมโยงกับการฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้จังหวัดน่าน และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาเครือข่ายทางสังคมในการฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้ให้ยั่งยืนในจังหวัดน่าน การศึกษานี้อาศัยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการศึกษาเอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญในเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้ในจังหวัดน่าน ผลการศึกษาชี้ให้เห็นพัฒนาการของเครือข่ ... -
บทบาทของเครือข่ายในการจัดการพลังงานชุมชน: ศึกษากลุ่มอาสาสมัครพลังงานจังหวัดสิงห์บุรี
ทิพย์วิมล แสงสุวรรณ; วิชชุดา สร้างเอี่ยม (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างและการจัดการของเครือข่ายกลุ่มอาสาสมัครพลังงานชุมชนจังหวัดสิงห์บุรี อธิบายบทบาทของเครือข่ายในการจัดการพลังงานชุมชนของกลุ่มอาสาสมัครพลังงานชุมชนจังหวัดสิงห์บุรี และการเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาเครือข่ายในการจัดการพลังงานชุมชน จากการวิเคราะห์ปัญหาของการจัดการเครือข่าย เพื่อให้เครือข่ายและชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้และเกิดความยั่งยืน การศึกษาครั้งนี้อาศัยวิธีวิทยาเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม ตลอดจนนำเสนอผลการศึกษาด้วยวิธีการบรรยายเชิงพรรณนา ...