Browsing GSEDA: Theses by Submit Date
Now showing items 1-20 of 92
-
ความขัดแย้งจากโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ : กรณีศึกษา นิคมอุตสาหกรรมระยอง (บ้านค่าย)
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
ในการaพัฒนาภาคอุตสาหกรรมของประเทศนำไปสู่การขยายตัวของนิคมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจนั้น อาจทำให้ส่งผลกระทบกับชุมชนใกล้เคียง โดยเฉพาะโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่อาจทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชุมชนและผู้พัฒนาโครงการ งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสาเหตุปัญหาความขัดแย้ง รวมถึงเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ให้ชุมชนและโครงการพัฒนายอมรับที่จะอยู่ร่วมกันได้ กรณีศึกษา นิคมอุตสาหกรรมระยอง (บ้านค่าย) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้มีส่วนได้เสีย 40 คน จากการศึกษาพบว่าสาเหตุความขัดแย้งต ... -
การประเมินความยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านแลงพัฒนา
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านแลงพัฒนา 2) เพื่อประเมินผลการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน 3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงาน และ 4) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อความยั่งยืน การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสารรายงานทางบัญชีของวิสาหกิจชุมชนย้อนหลัง 1 ปี และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยผู้วิจัยได้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มผู้ปฏิบัติงานในวิสาหกิจชุมชน 2) กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงาน และ 3) กลุ่มผู้สนับสนุนวิสาหกิจชุมชน ... -
การวิเคราะห์กฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายการควบคุมการระบายมลพิษทางอากาศจากภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
งานวิจัยเรื่องการวิเคราะห์กฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายการควบคุมการระบายมลพิษทางอากาศจากภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาช่องว่างทางกฎหมายการควบคุมการระบายมลพิษทางอากาศจากภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของประเทศไทย และเพื่อเสนอแนะแนวการพัฒนากฎหมายการควบคุมการระบายมลพิษทางอากาศจากภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดมาตรการทางกฎหมายด้านการควบคุมการระบายมลพิษทางอากาศของประเทศไทย นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมนักวิชาการด้านกฎหมาย องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม กลุ่มผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรร ... -
แนวทางการจัดตั้ง และการบริหารจัดการธนาคารขยะรีไซเคิลในชุมชน สำหรับผู้สูงอายุ ตำบลราชสถิตย์ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้สูงอายุ และปัจจัยที่มีผลต่อการจัดตั้ง และการบริหารจัดการธนาคารขยะรีไซเคิลของชุมชน สำหรับผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การถอดบทเรียนจากกรณีศึกษา การลงพื้นที่ในการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลราชสถิตย์ และเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตัวแทนผู้สูงอายุ และผู้นำชุมขน และการสังเกตการณ์ เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพและประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการธนาคารขยะรีไซเคิลชุมชน สำหรับผู้สูงอายุ (Feasibility Study) 4 ด้าน ประกอบด้วย ... -
แนวทางการจัดการระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน จังหวัดสิงห์บุรี
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบและการจัดการระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในชุมชน จังหวัดสิงห์บุรี ถอดบทเรียนความสำเร็จและปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในชุมชน จังหวัดสิงห์บุรี และเสนอแนวทางการจัดการระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในชุมชน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการศึกษาข้อมูลจาก เอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง และใช้การสัมภาษณ์และการสอบถามประกอบการสัมภาษณ์ กลุ่มสมาชิกพลังงานทดแทนจังหวัดสิงห์บุรีจำนวน 22 คน จาก 6 อำเภอ ที่มีการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในที่อยู่อาศัย ... -
ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน จากการทำเกษตรอินทรีย์: กรณีศึกษาสามพรานโมเดล
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนจากการทำเกษตรอินทรีย์ ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำเกษตรอินทรีย์ให้ประสบความสำเร็จ และเสนอแนวทางการทำเกษตรอินทรีย์ให้ประสบความสำเร็จ โดยทำการสำรวจและเก็บข้อมูลการดำเนินการโครงการสามพรานโมเดล อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยสัมภาษณ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการ จำนวน 32 คน คือ กรรมการผู้จัดการโรงแรมสามพรานริเวอร์ไซด์ (1 คน) ตัวแทนเกษตรกรที่เป็นสมาชิกในโครงการ (11 คน) และผู้บริโภค (20 คน) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจับกลุ่มประเด็นเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนจากก ... -
การวิเคราะห์การจัดการอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษา บริษัท ปิโตรเคมีและการกลั่นแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การดำเนินงานด้านการจัดการ อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมของกรณีศึกษา บริษัท ปิโตรเคมีและการกลั่นแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาให้กับบริษัทและหน่วยงานอื่นๆ การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interviews) ร่วมกับการสังเกตการณ์ในพื้นที่และศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ ผู้บริหาร พนักงาน ผู้รับเหมา ชุมชน และหน่วยงานของรัฐ ได้ประยุกต์หลักการของดัชนีชี้วัดความสำเร็จแบบสมดุล (Balanced Scorecard) ... -
แนวทางการผลิตพลังงานหมุนเวียนเพื่อความยั่งยืนของชุมชนในจังหวัดสุรินทร์
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของพลังงานหมุนเวียนที่เหมาะสมต่อความต้องการของชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ และประเมินความเป็นไปได้ในการผลิตพลังงานด้วยพลังงานหมุนเวียนในชุมชน ด้านกายภาพ สังคม การบริหารจัดการ เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม และเสนอแนวทางการผลิตพลังงานจากพลังงานหมุนเวียนเพื่อความยั่งยืนของชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ การวิจัยนี้ใช้แบบสัมภาษณ์และการสังเกตการณ์เป็นเครื่องมือในการศึกษา ตามกรอบแนวคิด CIPP-I Model ได้แก่ คำถามเกี่ยวกับนโยบาย (Context) สิ่งที่นำเข้า (Input) คำถามเกี่ยวกับการดำเนินงานเพื่อหาศักยภาพที่เหมาะสมของพื้นที่ (Process) ... -
ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ของระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์แบบลอยน้ำ กรณีศึกษา สระเก็บน้ำห้วยเกษียร จังหวัดปราจีนบุรี
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ของระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ กรณีศึกษา สระเก็บน้ำห้วยเกษียร จังหวัดปราจีนบุรีโดยมีกลุ่มเป้าหมายที่ทำการศึกษาคือ ประชาชน และคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ ของตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี การวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมโดยการเก็บข้อมูลภาคสนาม และการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการโดยศึกษาพารามิเตอร์ อุณหภูมิ ความขุ่น ความเป็นกรด – เบส ปริมาณของแข็งละลายทั้งหมด การนำไฟฟ้า ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ(DO) ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ต้องการใช้ในการย่อยสลายอินทรีย์สารในน้ำ(BOD) ... -
การจัดการขยะที่เหลือจากธุรกิจรับซื้อของเก่าย่านเสือใหญ่อุทิศ กรุงเทพมหานคร
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการขยะที่เหลือจากธุรกิจรับซื้อของเก่าย่าน เสือใหญ่อุทิศ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการขยะที่เหลือจากธุรกิจรับซื้อของเก่าย่านเสือใหญ่อุทิศ 3) เสนอแนวทางการจัดการขยะที่เหลือจากธุรกิจรับซื้อของเก่าย่านเสือใหญ่อุทิศ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสารและทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์และสังเกตผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยผู้วิจัยได้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 1) ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจรับซื้อของเก่า จำนวน 8 คน 2) ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 4 คน 3) ผู้นำชุมชนและประชาชน ... -
แนวทางการใช้ประโยชน์จากเปลือกทุเรียนและเปลือกมังคุดเป็นเชื้อเพลิงเขียวอัดแท่งและปุ๋ย : กรณีศึกษาอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ และการดำเนินการการใช้ประโยชน์จากเปลือกทุเรียนและเปลือกมังคุด ศึกษาความต้องการและความเป็นไปได้ และเสนอแนวทางการส่งเสริมการผลิตเชื้อเพลิงเขียวอัดแท่งและปุ๋ยของกลุ่มเกษตรกรในอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี ใช้แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ จำนวน 3 คน และแบบสอบถามความคิดเห็นของเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน จำนวน 200 คน โดยใช้ Triple Bottom Line มาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์แนวทางการใช้ประโยชน์จากเปลือกทุเรียนและเปลือกมังคุดเป็นเชื้อเพลิงเขียวอัดแท่งและปุ๋ย กรณีศึกษาอำเภอแก่งหางแมว ... -
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ: กรณีศึกษา โครงการนิคมอุตสาหกรรมระยอง (บ้านค่าย) จังหวัดระยอง
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018);
การพัฒนาประเทศในอดีตที่ผ่านมาได้มีการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้เป็นต้นทุนในการดำเนินกิจกรรมและโครงการพัฒนา เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและก่อปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่โครงการอย่างรุนแรง และนำมาสู่ปัญหาความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างเจ้าของโครงการกับประชาชนในท้องถิ่น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ กรณีศึกษา โครงการนิคมอุตสาหกรรมระยอง (บ้านค่าย) จังหวัดระยอง เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จ ... -
แนวทางการพัฒนาบริษัทเข้าสู่อุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 4 วัฒนธรรมสีเขียว : กรณีศึกษา บริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จำกัด (มหาชน)
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาบริษัทให้ได้มาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 4 โดยวิธีการวิเคราะห์หาช่องว่าง (Gap Analysis) การนำเกณฑ์กำหนดของอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 4 ตามข้อกำหนดของกระทรวงอุตสาหกรรม มาเปรียบเทียบกับการดำเนินงานด้านอุตสาหกรรมสีเขียวของบริษัทที่ได้ดำเนินการสำเร็จในปัจจุบัน เพื่อวิเคราะห์หาช่องว่างที่เกิดขึ้น และนำเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งการศึกษาจะทำการเก็บข้อมูล การทบทวนเอกสาร การสังเกตการณ์ และการสัมภาษณ์ สำหรับผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐและท้องถิ่น ... -
แนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยตามหลักมหาวิทยาลัยยั่งยืน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อถอดบทเรียนการดำเนินงานมหาวิทยาลัยยั่งยืนของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานมหาวิทยาลัยยั่งยืน 3) เพื่อวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap Analysis) ในการดำเนินงานด้านมหาวิทยาลัยยั่งยืนของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ4) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยในประเทศไทยเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืน โดยคัดเลือกมหาวิทยาลัยที่ใช้ในการศึกษาจากการจัดอันดับ UI Green Metric จำนวน 9 มหาวิทยาลัย ใช้ทฤษฎีระบบ Input Process Output (IPO) ในการถอดบทเรียนความสำเร็จ และวิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกด้วยทฤษฎี ... -
การวิเคราะห์การจัดการขยะมูลฝอยและยุทธศาสตร์สาหรับกรุงเทพมหานคร
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016);
การจัดการขยะมูลฝอยของกรุงเทพมหานครยังพบปัญหาอุปสรรคหลายประการ และในปี 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้กําหนดให้การจัดการขยะเป็นวาระแห่งชาติที่ต้อง ดําเนินการอย่างเร่งด่วน ผู้วิจัยจึงทําการศึกษาสถานการณ์และปัญหาการจัดการขยะขากบริบทเดิม ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ด้วยวิธีการศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิและเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง แล้วทําการวิเคราะห์ช่องว่างทางกลยุทธ์ (Gap Analysis) และประเมิน สภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร (SWOT Analysis) เพื่อนําไปสู่การจัดทํา ยุทธศาสตร์การจัดการขยะตามมิติของหลักการ Balanced Scorecard (BSC -
การประเมินน้ำต้นทุนเเละความต้องการใช้น้ำเกษตรกรรมในพื้นที่ลุ่มน้ำยม
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018);
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความเพียงพอของน้ำในปัจจุบันจากสถานการณ์ปริมาณน้ำต้นทุนและความต้องการใช้น้ำด้านเกษตรกรรม และประเมินสถานการณ์ของน้ำต้นทุนและความต้องการใช้น้ำเพื่อการเกษตรกรรมในอนาคตจากปัจจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในปี พ.ศ. 2564 นำไปสู่จัดทำข้อเสนอแนะในด้านการบริหารจัดการน้ำต้นทุนให้เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำเพื่อการเกษตรกรรม ผลการศึกษาความเพียงพอของน้ำรายปีพบว่า ลุ่มน้ำควน แม่น้ำยมตอนบน น้ำปี้ และน้ำแม่มอกเป็นลุ่มน้ำที่มีน้ำต้นทุนมีเพียงพอ น้ำงาว น้ำแม่คำมี น้ำแม่ต้า ห้วยแม่สิน ... -
เครือข่ายทางสังคมในการฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้จังหวัดน่าน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018);
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจเครือข่ายทางสังคมในการฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้จังหวัดน่าน โดยการวิเคราะห์โครงสร้างและกลไกการขับเคลื่อนของเครือข่ายที่เชื่อมโยงกับการฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้จังหวัดน่าน และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาเครือข่ายทางสังคมในการฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้ให้ยั่งยืนในจังหวัดน่าน การศึกษานี้อาศัยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการศึกษาเอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญในเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้ในจังหวัดน่าน ผลการศึกษาชี้ให้เห็นพัฒนาการของเครือข่ ... -
บทบาทของเครือข่ายในการจัดการพลังงานชุมชน: ศึกษากลุ่มอาสาสมัครพลังงานจังหวัดสิงห์บุรี
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018);
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างและการจัดการของเครือข่ายกลุ่มอาสาสมัครพลังงานชุมชนจังหวัดสิงห์บุรี อธิบายบทบาทของเครือข่ายในการจัดการพลังงานชุมชนของกลุ่มอาสาสมัครพลังงานชุมชนจังหวัดสิงห์บุรี และการเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาเครือข่ายในการจัดการพลังงานชุมชน จากการวิเคราะห์ปัญหาของการจัดการเครือข่าย เพื่อให้เครือข่ายและชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้และเกิดความยั่งยืน การศึกษาครั้งนี้อาศัยวิธีวิทยาเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม ตลอดจนนำเสนอผลการศึกษาด้วยวิธีการบรรยายเชิงพรรณนา ... -
การศึกษาการเปลี่ยนแปลงและวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าพรุควนขี้เสียนและป่าพรุควนเคร็ง
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018);
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าพรุควนขี้เสียนและป่าพรุควนเคร็ง ในช่วงปี พ.ศ.2552 และปี พ.ศ.2559 ศึกษาพื้นที่เสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน และศึกษามาตรการการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน รวมถึงเสนอแนวทางในการจัดการพื้นที่ศึกษา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งทุติยภูมิและปฐมภูมิ จากการสัมภาษณ์ รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลบนระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า ในพื้นที่ศึกษานั้นมีพื้นที่ปาล์มน้ำมัน ยางพารา และพื้นที่เกษตรกรรม เพิ่มขึ้นมากที่สุด ส่วนพื้นที่นา พื้นที่ป่าพรุ และพื้นที่เบ็ดเตล็ด ... -
แนวทางการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมชายฝั่งและนอกชายฝั่งในประเทศไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018);
การวิจัยเรื่องแนวทางการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมชายฝั่งและนอกชายฝั่งในประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพทางด้านกายภาพ ด้านเทคนิค ด้านเศรษฐศาสตร์และการเงิน ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านบริหารโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมชายฝั่งและนอกชายฝั่ง อีกทั้งเปรียบเทียบผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนและวิเคราะห์เปรียบเทียบนโยบายสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมชายฝั่งและนอกชายฝั่ง เพื่อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมชายฝั่งและนอกชายฝั่งที่เหมาะสมกับประเทศไทย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ...