ความสุขของข้าราชการตำรวจชั้นประทวนในตำรวจภูธรภาค 1
by บุญทัน พันธ์จันทร์
Title: | ความสุขของข้าราชการตำรวจชั้นประทวนในตำรวจภูธรภาค 1 |
Other title(s): | Happiness of non commissioned police officers in Provincial Police Region 1 |
Author(s): | บุญทัน พันธ์จันทร์ |
Advisor: | พิชิต พิทักษ์เทพสมบัติ |
Degree name: | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree department: | คณะรัฐประศาสนศาสตร์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2012 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสุขของข้าราชการตํารวจชั้นประทวนในตํารวจภูธรภาค 1 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสุขของข้าราชการตํารวจชั้นประทวนในตํารวจภูธรภาค 1 และศึกษาว่าปัจจัยใดหรือตัวแปรใดที่มีความสัมพันธ์หรือมีผลต่อความสุขของข้าราชการตํารวจชั้นประทวนในตํารวจภูธรภาค 1 มากที่สุดและรองลงมา โดยได้สุ่มตัวอย่างตํารวจชั้นประทวนที่ทํางานอยู่ในตํารวจภูธรภาค 1 จํานวน 400 นาย เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม 2554 วิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา ความแตกต่างของร้อยละ 2-test Gamma Correlation (G) และ Multiple Regression ผลการศึกษาพบว่า ข้าราชการตํารวจชั้นประทวนในตํารวจภูธรภาค 1 มีระดับความสุขอยู่ในระดับปานกลางคือ ร้อยละ 63.0 สําหรับปัจจัยหรือตัวแปรอิสระที่มีความสัมพันธ์ต่อความสุขของข้าราชการตํารวจชั้นประทวนในตํารวจภูธรภาค 1 พบว่า ตัวแปรอิสระ 6 ตัว ได้แก่ 1) อายุ 2) ระดับการศึกษา 3) สถานภาพสมรส 4) ชั้นยศ 5) ระยะเวลารับราชการ และ 6) ความพอใจในสภาพทางเศรษฐกิจ ไม่มีความสัมพันธ์ที่เป็นไปตามสมมุติฐานอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ส่วนตัวแปรอิสระ 9 ตัว ได้แก่ 1) หน้าที่การงาน 2) เงินเดือน 3) เงินประจําตําแหน่ง 4) หนี้สิน 5) ความพอใจในครอบครัว 6) ความพอใจในงาน 7) ความพอใจในสุขภาพ 8) การเห็นคุณค่าในตนเอง และ 9) ความเคร่งในศาสนา มีความสัมพันธ์ที่เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ และเมื่อวัดด้วย G พบว่า ตัวแปรอิสระที่มีความสัมพันธ์ระดับสูงกับความพอใจในชีวิตและความสุข มากกว่า .50 ได้แก่ เงินประจําตําแหน่ง (.61) ปัจจัยหรือตัวแปรที่มีความสัมพันธ์หรือมีผลต่อความสุขของข้าราชการตํารวจชั้นประทวนในตํารวจภูธรภาค 1 โดยใช้สถิติ Multiple Regression พบว่า ปัจจัยด้านศาสนามีความสัมพันธ์กับความสุขมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ปัจจัยด้านสุขภาพ ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านการงาน และปัจจัยด้านการเห็นคุณค่าในตนเอง ตามลําดับ ซึ่งปัจจัยหรือตัวแปรอิสระทั้งหมดสามารถอธิบายความสุขได้ถึงร้อยละ 35.0 (r2 = .346) การวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า หน่วยงานแต่ละแห่งที่ตํารวจชั้นประทวนได้สังกัดอยู่ควรจัดอบรมคุณธรรม จริยธรรมให้มากขึ้นเพื่อจะได้เข้าใจและสามารถนําหลักธรรมทางศาสนามาประยุกต์ใช้ในชีวิตได้อย่างมีความสุข เพราะผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ปัจจัยด้านศาสนามีส่วนสําคัญต่อความสุขของตํารวจชั้นประทวนอย่างมากในแง่เป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางจิตใจของตํารวจที่ต้องทําหน้าดูแลความสงบเรียบร้อยและความคุ้มครองป้องกันสังคม และควรมีการศึกษาเปรียบเทียบความสุขของตํารวจชั้นประทวนที่สังกัดตํารวจภูธรภาค 1 กับตํารวจภูธรภาคอื่น ๆ ต่อไป |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2555 |
Subject(s): | ตำรวจ -- ความพอใจในการทำงาน
ความสุข |
Keyword(s): | ความสุขในการทำงาน |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 152 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2975 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|