การบริหารเครือข่ายของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สำนักงานปฏิบัติการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
by สรัญญา จุฑานิล
Title: | การบริหารเครือข่ายของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สำนักงานปฏิบัติการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
Other title(s): | Network administration of the Community Organizations Development Institute in the Northeast of Thailand |
Author(s): | สรัญญา จุฑานิล |
Advisor: | พลอย สืบวิเศษ |
Degree name: | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree department: | คณะรัฐประศาสนศาสตร์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2013 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการบริหารงานในรูปแบบเครือข่าย 2) เพื่อการศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการทำงานในรูปแบบเครือข่าย 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางใน การทำงานในรูปแบบเครือข่ายของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สำนักงานปฏิบัติการภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็น 4 กลุ่ม คือ ประชาชนหรือชาวบ้าน ภาคีเครือข่าย สถาบันการศึกษา และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน วิธีการศึกษาใช้การศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิจัยเชิงสำรวจแบบหลายขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า 1) กระบวนการบริหารงานในรูปแบบเครือข่ายของสถาบันพัฒนา องค์กรชุมชน สำนักงานปฏิบัติการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย (1) ด้านยุทธศาสตร์มี การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เครือข่ายเป็นไปตามแผนของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน และสอดคล้อง ตามวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ขององค์กร (2) ด้านการออกแบบเครือข่าย พบว่า มีโครงสร้างการ บริหารงานภายในเป็นไปตามพระราชบัญญัติของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนกำหนด และ โครงสร้างการทำงานระหว่างหน่วยงานมีประเภทและรูปแบบเครือข่ายที่คล้ายกัน คือเน้นการ ทำงานเชิงพื้นที่ เชิงประเด็นงานหรือประเด็นกิจกรรม และเชิงโครงสร้าง (3) ด้านการเชื่อมโยง เครือข่าย พบว่า ให้ความสำคัญในการประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ทั้งในระดับนโยบาย หน่วยงานพัฒนาทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงสถาบันการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนให้องค์กรชุมชนและท้องถิ่น สามารถเป็ นแกนหลักในการทำงานพัฒนา โดยการ ประสานงานมีการเชื่อมโยงกับเครือข่ายต่าง ๆ ประกอบไปด้วย ประชาชน ท้องถิ่น หน่วยงาน ราชการ และสถาบันการศึกษา (4) ด้านการสร้างความน่าเชื่อถือ พบว่า มีการสร้างแรงจูงใจ โดย อาศัยสภาพปัญหาของแต่ละชุมชนเป็นพลังผลักดันให้เกิดความต้องการ และตระหนักที่จะรวมตัว (4) เป็นเครือข่าย การวัดผลผลการดำเนินงานเป็นไปตามคำรับรองการปฏิบัติงานตามข้อกำหนดของ คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และมีการจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน เพื่อการตรวจสอบ และพัฒนากระบวนการดำเนินงานต่อไป มีการสร้างความไว้วางใจโดยอาศัยกิจกรรมที่สามารถ สร้างให้สมาชิกในเครือข่ายได้เรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน และมีการแบ่งปันความเสี่ยงโดย ประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้เกิดการรับรู้ และหาวิธีจัดการที่เหมาะสมในการลดความเสี่ยง ให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ และ (5) ด้านการปฏิรูปทรัพยากรมนุษย์ พบว่ามีการพัฒนาทักษะ ที่เหมาะสมให้กับเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่จะมีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มโอกาสในการดำเนินงานในรูปแบบ เครือข่ายให้ดียิ่ง ขึ้น ส่วนปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานในรูปแบบเครือข่ายของสถาบันพัฒนาองค์กร ชุมชน สำนักงานปฏิบัติการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า มีปัญหาเกี่ยวกับวิธีการทำงานของ ระบบราชการซึ่งมีความไม่สอดคล้องกันในบริบทของการทำงานเป็นเครือข่าย ทำให้เกิดความล่าช้า นอกจากนี้ระบบการทำงานดังกล่าว ยังเป็นอุปสรรคต่อการออกแบบเครือข่ายขององค์กร ทำให้การ ดำเนินงานในรูปแบบเครือข่ายเป็นไปอย่างไม่ราบรื่น รวมถึงปัญหาที่่เกิดจากการติดต่อสื่อสาร การ สื่อความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน ความไม่เข้าใจในเรื่องเครือข่ายในหน่วยราชการบางส่วน ปัญหาเกี่ยวกับ ความไว้วางใจระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับชาวบ้าน และปัญหาเกี่ยวกับบุคลากรในการปฏิบัติงาน ซึ่งยัง ขาดความพร้อมด้านความรู้ความเข้าใจในบริบทการบริหารเครือข่าย รวมถึงจำนวนบุคลากรในการ ปฏิบัติงานมีไม่เพียงพอ ทั้งนี้ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้ 1) ต้องสร้างให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วน 2) มีกลไกในการทำงาน และระบบการบริหารจัดการที่มีส่วนร่วม เปิดเผย โปร่งใส และ 3) ลดบทบาท ภาครัฐ และสนับสนุนให้องค์กรชุมชนและประชาสังคมเป็นหลักในการพัฒนา เพื่อส่งเสริมให้ องค์กรชุมชนเกิดความเข้มแข็งต่อไป |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2556. |
Subject(s): | การพัฒนาสังคม
องค์กรชุมชน |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 261 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2978 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|