• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้า

by จิรัตติกาล สุริยะ

Title:

ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้า

Other title(s):

Legal problematic on the enforcement of competition law

Author(s):

จิรัตติกาล สุริยะ

Advisor:

ปุ่น วิชชุไตรภพ

Degree name:

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะนิติศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2013

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษา เรื่อง ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายการ แข่งขันทางการค้ามีวัตถุประสงค์ของการศึกษาคือ ศึกษาแนวคิดและทฤษฏีว่าด้วยหลักเสรีภาพทาง เศรษฐกิจและการผูกขาดทางการค้า การป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนและการบังคับใช้กฎหมาย แข่งขันทางการค้าของต่างประเทศและประเทศไทย ปัญหาทางกฎหมายและการควบคุมการแข่งขัน ทางการค้า และเสนอแนะแนวทางแก้ไขกฎหมายคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ผลการศึกษาพบว่า 1) พระราชบัญญัติ การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 บัญญัติให้ฝ่ายการเมืองสามารถ ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าได้ ขณะที่ผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชนมักจะมี ความสัมพันธ์กันทางธุรกิจกับธุรกิจที่ถูกร้องเรียนเรื่องการค้าไม่ธรรมไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ขณะที่ คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นได้มาโดยการสรรหาโดยความ เห็นชอบของรัฐสภา 2) เกณฑ์ผู้มีอำนาจเหนือตลาดของประเทศไทยไม่ชัดเจนและต้องมีการพิสูจน์ให้ได้ก่อน ว่าผู้ประกอบธุรกิจนั้นมีอำนาจเหนือตลาดจริงหรือไม่ ต่างจากเกณฑ์ผู้มีอำนาจเหนือตลาดของ ต่างประเทศเช่นสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นที่ใช้หลักพฤติกรรมตัดสินเกณฑ์ผู้มีอำนาจเหนือ ตลาด 3) องค์กรที่ควบคุมการแข่งขันการค้าของไทยและสิงคโปร์ได้รับการแต่งตั้งจากฝ่ายการ เมืองและเป็นองค์กรในกำกับของรัฐ ขณะที่สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นมีสถานะเป็นองค์กร อิสระมีอำนาจกึ่งตุลาการ (Quasi Judiciary) ในการสืบสวนสอบสวนการแข่งขันทางการค้า 4) สหภาพยุโรปโดยคณะกรรมาธิการยุโรปด้านการแข่งขันทางการค้าปฏิบัติหน้าที่แทน ผู้บริโภคมีอำนาจในการเป็นผู้เริ่มคดี ไต่สวนคดี และส่งให้ศาลยุโรปดำเนินคดี ในสหรัฐอเมริกา กฎหมายจึงเปิดโอกาสเอกชนผู้ได้รับความเสียหายจาการผูกขาดสามารถฟ้องร้องต่อผู้ผูกขาดได้ โดยตรง ส่วนของประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ และไทยการฟ้องร้องระหว่างผู้บริโภคจะทำได้เมื่อ คณะกรรมการการค้าโดยธรรมได้สอบสวนเสร็จแล้ว แต่กรณีของไทยยังไม่มีการฟ้องร้องของผู้บริโภค ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษานี้คือ 1) ผู้ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าต้องไม่เกี่ยวข้องกับฝ่ายการเมือง หาก เป็นผู้ทรงคุณวุฒิเอกชนจะต้องสละการถือครองหุ้นในบริษัทที่ถืออยู่ และลาออกจากการเป็น กรรมการบริษัทเอกชนก่อนที่จะเข้ารับตำแหน่งคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า 2) ควรกำหนดหลักเกณฑ์ทางจริยธรรมหรือหลักเกณฑ์ทางการประพฤติสำหรับ คณะกรรมการแข่งขันทางการค้าเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่มีความเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์สาธารณะ 3) ควรนำหลักการของพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาปรับใช้กับคณะกรรมการที่เป็นข้าราชการการเมืองและ ข้าราชการประจำที่ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า 4) ควรยกสถานะสำนักงานคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าเป็นองค์กรอิสระเพื่อแยก สำนักงานคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าออกจากกระทรวงพาณิชย์ และป้องกันปัญหาผลประโยชน์ ทับซ้อน 5) สำนักงานคณะการแข่งขันทางการค้าต้องเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับธุรกิจที่ ได้รับการร้องเรียน รวมถึงการดำเนินการของสำนักงานฯ ในการพิจารณาเรื่องร้องเรียน

Description:

วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2556.

Subject(s):

การบังคับใช้กฎหมาย -- ไทย
การแข่งขันทางการค้า -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

110 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2981
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b181845.pdf ( 1,194.59 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Theses [208]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×