กฎบัตรอาเซียนกับการแก้ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติในรูปแบบการค้ามนุษย์
by นนท์ธนัย ตลับทอง
ชื่อเรื่อง: | กฎบัตรอาเซียนกับการแก้ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติในรูปแบบการค้ามนุษย์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Asean charter for tackling trasnational crime in the form of human trafficking |
ผู้แต่ง: | นนท์ธนัย ตลับทอง |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | ปุ่น วิชชุไตรภพ |
ชื่อปริญญา: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Master's |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะนิติศาสตร์ |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
สถานการณ์การค้ามนุษย์ที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันทวีความรุนแรงมากขึ้นตามลาดับหลาย ภูมิภาคของโลกยังต้องเผชิญกับอาชญากรรมข้ามชาติในรูปแบบดังกล่าวอยู่ แม้กระทั่งภูมิภาคอาเซียน ของเรายังต้องเผชิญกับอาชญากรรมข้ามชาติในรูปแบบการค้ามนุษย์อยู่ เมื่อ ค.ศ.2000 องค์การ สหประชาชาติก็ได้มีการออกอนุสัญญาว่าด้วยอาชญากรรมข้ามชาติและได้มีพิธีสารต่อท้ายอนุสัญญา การต่อต้านการค้ามนุษย์ในสตรีและเด็กเพื่อมาบังคับในการต่อต้านอาชญากรรมการค้ามนุษย์โดย ประเทศต่างๆได้มีการลงนามและการให้สัตยาบันแก่อนุสัญญารวมถึงพิธีสารต่อท้ายอนุสัญญาเพื่อ บังเกิดผลประโยชน์ในการมุ่งเน้นคุ้มครองผู้เสียหายหรือเหยื่อของการค้ามนุษย์ที่เน้นไปที่ผู้หญิงและ เด็กเป็นสาคัญ ในสหภาพยุโรปที่ได้ก่อตั้งเป็นสหภาพก็ได้มีอนุสัญญาที่เกี่ยวข้องในการต่อต้าน อาชญากรรมในรูปแบบการค้ามนุษย์ถูกบัญญัติไว้โดยชัดแจ้ง อนึ่งภูมิภาคอาเซียนมีสมาชิกทั้งสิบประเทศอันประกอบไปด้วยราชอาณาจักรไทย สหพันธรัฐ มาเลย์เซีย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐบูรไนดารุสซา ลาม ราชอาณาจักรกัมพูชา สหภาพเมียนมาร์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐ สังคมนิยมเวียดนามก็เป็นหนึ่งภูมิภาคที่ยังประสบกับมหัตภัยในรูปแบบการค้ามนุษย์อยู่จึงเกิด ประเด็นปัญหาว่าภูมิภาคอาเซียนมีหลักประสานความร่วมมือภายในภูมิภาคในรูปแบบความร่วมมือ พหุภาคีที่เพียงพอหรือยังในระดับอนุสัญญาภายในภูมิภาครวมถึงกฎหมายระดับรองที่ต่อท้าย อนุสัญญา เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกาหนด พระราชกฤษฎีกาต่างๆที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าว เพื่อลดความเหลื่อมล้าทางกฎหมายภายในภูมิภาคที่ยังมีความไม่เท่าเทียมกันและยังไม่เป็นเอกภาพ เท่าที่ควรจะเป็นและมาตรการในด้านปกป้องผลประโยชน์แก่ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อรวมถึงการสอดประสาน ในด้านความร่วมมือในทางอาญาภายในภูมิภาคอาเซียน ในการแก้ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติในรูปแบบการค้ามนุษย์ภายในภูมิภาคอาเซียนจะบรรลุ ถึงผลสาเร็จก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคมไม่ว่าจะเป็น ตารวจ อัยการ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคมร่วมมือในรูปของอนุสัญญาของภูมิภาคว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์เพื่อจะได้ลด ความเหลื่อมล้าทางกฎหมายด้วยการใช้มาตรฐานทางกฎหมายในระดับเดียวกันทั้งสิบประเทศภายใน ภูมิภาคอาเซียนเพื่อบรรลุถึงผลที่ตั้งไว้ ตามที่ผู้นาของรัฐประเทศต่างได้ประกาศชัดแจ้งในปี ค.ศ. 2015 อาเซียนจะรวมตัวเป็นประชาคมมีการแลกเปลี่ยนซึ่งข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกันภายใน ประชาคมมีการเปิดรับข้อมูลในด้านการค้ามนุษย์ที่มีระบบระเบียบมากยิ่งขึ้น |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2556. |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | การป้องกันอาชญากรรม
อาชญากรรมข้ามชาติ การค้ามนุษย์ |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ความยาว: | 152 แผ่น |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
ผู้ครอบครองสิทธิ์: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2982 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู b181844.pdf ( 2,818.73 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
|