การปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษของกรุงเทพมหานคร : ศึกษากรณีการปฏิรูปโครงสร้างเพื่อการมีส่วนร่วมของประชาชน
Files
Publisher
Issued Date
2013
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
237 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b181982
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
จักรกฤษณ์ คันธานนท์ (2013). การปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษของกรุงเทพมหานคร : ศึกษากรณีการปฏิรูปโครงสร้างเพื่อการมีส่วนร่วมของประชาชน. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2983.
Title
การปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษของกรุงเทพมหานคร : ศึกษากรณีการปฏิรูปโครงสร้างเพื่อการมีส่วนร่วมของประชาชน
Alternative Title(s)
The reformation of special form of local government administration in Bangkok : a case study reformation form for citizen's participation
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสภาพความเป็นมาของกรุงเทพมหานครตั้งแต่อดีต
จนถึงปัจจุบัน ศึกษาโครงสร้างและอำนาจหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษของ
กรุงเทพมหานครและศึกษาโครงสร้างและอำนาจหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของต่างประเทศ
ศึกษาถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษของ
กรุงเทพมหานคร วิเคราะห์หาแนวทางการปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษของ
กรุงเทพมหานคร โดยมุ่งเน้นศึกษาการปฏิรูปด้านโครงสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ตาม
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้อง
กับสภาพของกรุงเทพในปัจจุบัน
ผลจากการศึกษาพบว่า การจัดระเบียบโครงสร้างการบริหารราชการกรุงเทพมหานครตาม
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ไม่มีการกำหนดโครงสร้างที่ให้
ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการของกรุงเทพมหานคร ส่งผลให้การดำเนินนโยบาย
ต่างๆของฝ่ายบริหารไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจากไม่ได้มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนหรือ
ชุมชนซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาหรือขับเคลื่อนนโยบายเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความ
คิดเห็นหรือเสนอแนะแนวทางหรือนโยบายต่างๆ
ผู้วิจัยจึงเสนอให้มีการปฏิรูปโครงสร้างระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครตาม
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 เพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วน
ร่วม โดยให้มีการจัดโครงสร้างการบริหารราชการกรุงเทพมหานครออกเป็น 2 ระดับ (Two-Tier)
ได้แก่ (1) โครงสร้างระดับบนเรียกว่า“กรุงเทพมหานคร” ทำหน้าที่ในการวางแผนพัฒนาและทำ
หน้าที่บริหารนโยบายประสานงานในเรื่องที่มีผลกระทบในภาพรวม (2) โครงสร้างระดับล่างเรียกว่า
“นครบาล” ทำหน้าที่จัดทำบริการสาธารณะเพื่อตอบสนองประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบให้มากที่สุด
โดยในโครงสร้างระดับบนผู้วิจัยเห็นควรให้มี “คณะกรรมการด้านการบริหาร การเศรษฐกิจและสังคม
ของกรุงเทพมหานคร” โดยมีที่มาจากตัวแทนภาคประชาชนที่มีความเชียวชาญเฉพาะด้านเข้ามามี
ส่วนร่วมเพื่อทำหน้าที่เป็นเสมือนผู้ช่วยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในการวางแผนในภาพรวมของ
กรุงเทพมหานคร ในส่วนโครงสร้างระดับล่างผู้วิจัยเสนอแนะเพิ่มเติมในส่วนของการจัดตั้ง
“สภาพลเมืองนครบาล” โดยมีที่จากตัวแทนภาคประชาชนส่วนต่างๆเข้ามามีส่วนร่วมในการวาง
แผนการดำเนินการหรือโครงการต่างๆภายในเขตพื้นที่นครบาล ติดตามประเมินผลการทำงาน และ
เชื่อมโยงความสัมพันธ์กับประชาชน เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของประชาชนให้มากที่สุด โดย
เมื่อพื้นที่นครบาลเป็นพื้นที่ที่มีความใกล้ชิดประชาชนมากที่สุดและมีประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการ
พัฒนาด้วยก็จะส่งผลให้การทำงานต่างๆ เป็นไปอย่างมีเป้าหมายและมีประสิทธิภาพ
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2556.