• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การจัดการปัญหาน้ำท่วมและการมีส่วนร่วมของชุมชน : กรณีศึกษาหมู่บ้านนักกีฬาแหลมทอง เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร

by ศิรพัชร วัชรภาสกร

Title:

การจัดการปัญหาน้ำท่วมและการมีส่วนร่วมของชุมชน : กรณีศึกษาหมู่บ้านนักกีฬาแหลมทอง เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร

Other title(s):

Flood management and community's participation : a case study of Nukkeelalamtong Village, Saphansoong District, Bangkok

Author(s):

ศิรพัชร วัชรภาสกร

Advisor:

วิสาขา ภู่จินดา

Degree name:

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

การจัดการสิ่งแวดล้อม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2013

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพร้อมรับมือ และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการรับมือและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม และศึกษาการจัดการปัญหาน้ำท่วมของหน่วยงานราชการ และคณะกรรมการชุมชน กลุ่มตัวอย่างทีใช้ในการศึกษาคือ ประชาชนในชุมชนหมู่บ้านนักกีฬาแหลมทอง เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร จำนวน 360 คน จำแนกตามประเภทที่อยู่อาศัย 4 ประเภท ได้แก่ ที่อยู่อาศัยชั้นเดียว ที่อยู่อาศัย 2 ชั้น ขึ้น ไป อาคารชุด/ห้องพัก และอาคารพาณิชย์ที่ใช้ประกอบกิจการ ประเภทละ 90 ตัวอย่าง ทำการสุ่มแบบบังเอิญตัวแทนครัวเรือน เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม และการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ การทดสอบ t-Test, F-Test และ Pearson Correlation ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 จากการสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างเกินกว่ากึ่งหนึ่งเป็นเพศหญิง กลุ่มตัวอย่างจำนวนมากที่สุดมีอายุระหว่าง 31-45 ปี และมีวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างมากกว่ากึ่งหนึ่ง สมรสแล้ว มีสถานะเป็นลูกบ้านหรือผู้อยู่อาศัย กึ่งหนึ่งมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง กลุ่มตัวอย่างจำนวนมากที่สุดประกอบอาชีพธุรกิจเอกชน และมีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 15,001-25,000 บาทต่อเดือน กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความรู้และการรับทราบสภาพปัญหาน้ำ ท่วมอยู่ในระดับสูง ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้และการรับทราบสภาพทั่วไปของปัญหาน้ำ ท่วมในชุมชนคือ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และการรับข้อมูลข่าวสาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่ปัจจัยที่มีผลต่อการรับข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับปัญห าน้าท่วมภายใ นชุมช น คือ อายุ แล ะอาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยช่องทางการกระจายข่าวสารภายในชุมชนที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ การกระจายข่าวสารโดยการบอกเล่าต่อ ๆ กัน แบบปากต่อปาก และช่องทางการกระจายข่าวสารที่เผยแพร่โดยหน่วยงานราชการ (สำนักงานเขต สำนักงานระบายน้ำ กทม.) ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ การแจ้งข่าวสารผ่านทางสื่อต่างๆ (โทรทัศน์ วิทยุ) โดยข้อมูลที่ประชาชนได้รับคือ ข้อมูลการเตรียมตัวรับมือปัญหาน้ำ ท่วม ทั้งจากคณะกรรมการชุมชน และหน่วยงานราชการ กลุ่มตัวอย่างได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำ ท่วมในระดับปานกลาง ซึ่งมีผลกระทบต่อประชาชนในด้านการคมนาคมมากที่สุด โดยระดับของผลกระทบจากปัญหาน้ำ ท่วมภายในชุมชนขึ้น อยู่กับ ลักษณะของที่อยู่อาศัยและอาชีพ และปัจจัยที่มีผลต่อการเตรียมตัวรับมือปัญหาน้ำ ท่วมคือ ลักษณะของที่อยู่อาศัย อาชีพ และรายได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กลุ่มตัวอย่างมีการเตรียมความพร้อมในการรับมือปัญหาน้ำ ท่วม ในระดับปานกลาง ระดับของการมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาน้ำ ท่วมของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับต่ำ ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาน้ำ ท่วมของประชาชนในชุมชนคือ อายุ ระดับการศึกษา การประกอบอาชีพ รายได้ และการรับข้อมูลข่าวสาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับมือปัญหาน้ำ ท่วมในชุมชน โดยการบริจาคเงินเพื่อซื้อทราย กระสอบทราย และช่วยในการบรรจุกระสอบทรายเพื่อนำไปป้องกันน้ำท่วม กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของหน่วยงานราชการ โดยรวมอยู่ในระดับต่ำโดย กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ภายในชุมชนมากที่สุด ในขณะที่ กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการชุมชน โดยรวมอยู่ในระดับสูงโดย กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในการสร้างแนวกั้นน้ำ ตามแนวลำคลองที่ติดกับชุมชน มากที่สุด แนวทางการแก้ปัญหาน้ำ ท่วมภายในชุมชนหมู่บ้านนักกีฬาแหลมทองสามารถดำเนินการได้โดยการใช้นโยบายด้านการก่อสร้าง ได้แก่ การปรับปรุงเส้นทางการคมนาคม การปรับปรุงทางระบายน้ำ และการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ภายในชุมชน การสร้างแนวป้ องกันน้ำ รอบชุมชน และนโยบายด้านการจัดการ ได้แก่ การให้ความรู้ในการป้องกันที่อยู่อาศัยและทรัพย์สิน เพื่อหลีกเลี่ยงหรือบรรเทาผลกระทบจากปัญหาน้ำ ท่วม การขุดลอกท่อระบายน้ำ เพื่อกำจัดสิ่งอุดตัน การพร่องน้ำ ในท่อระบายน้ำ ในช่วงฤดูฝนเพื่อเตรียมรับปริมาณน้ำ ฝน การจัดหาพาหนะขนส่งประชาชนในขณะเกิดน้ำ ท่วม การใช้พาหนะร่วมทางกันของประชาชนในชุมชน

Description:

วิทยานิพนธ์ (วท.ม.(การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2556

Subject(s):

การป้องกันน้ำท่วม -- ไทย -- กรุงเทพฯ -- สะพานสูง -- การมีส่วนร่วมของประชาชน

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

163 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2985
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b182825.pdf ( 2.20 MB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [559]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×