• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

อำนาจของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ในการเพิ่มโทษตามมาตรา 120 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

by ปัญญา ชะเอมเทศ

Title:

อำนาจของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ในการเพิ่มโทษตามมาตรา 120 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

Other title(s):

The authority of the merit systems protection board : a case of determination on increasing the punishment in accordance with section 120 paragraph 2 of the civil service act B.E. 2551

Author(s):

ปัญญา ชะเอมเทศ

Advisor:

สุนทร มณีสวัสดิ์

Degree name:

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

กฎหมายมหาชน

Degree department:

คณะนิติศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2013

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ได้ใช้บังคับมานาน บทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องพัฒนาการด้านการบริหารราชการที่เปลี่ยนไป ดังนั้น เพื่อกำหนด ภารกิจของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนให้เหมาะสม โดยได้รับบทบาทของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ผู้พิทักษ์ระบบคุณธรรมและผู้จัดโครงสร้างส่วนราชการให้เป็นเพียงผู้จัดการงานบุคคลของฝ่ายบริหาร โดยมิให้ซ้ำซ้อนกับบทบาทของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการส่วนบทบาทในการพิทักษ์ระบบคุณธรรมให้เป็นของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ซึ่ง ก.พ.ค. มีสถานะเป็นคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทมีลักษณะเป็นแบบกึ่งตุลาการ มีกรรมการมีความเชี่ยวชาญทางกฎหมายในเรื่องด้านวินัยโดยเฉพาะการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์มีระบบของวิธีพิจารณาเทียบเท่าศาลปกครองชั้นต้นจึงทำให้คำวินิจฉัยของ ก.พ.ค. เป็นที่สุดในฝ่ายปกครองและไม่สามารถวินิจฉัยเพิ่มโทษผู้อุทธรณ์ได้ เนื่องจาก ก.พ.ค. มิได้เป็นผู้บังคับบัญชาของผู้อุทธรณ์ องค์กรที่จะสามารถเพิ่มโทษได้ ต้องเป็นองค์กรที่เป็นผู้บังคับบัญชาของผู้อุทธรณ์ ได้แก่ ก.พ. ซึ่ง ก.พ. สามารถควบคุมตรวจสอบทั้งความชอบด้วยกฎหมายและความเหมาะสมของโทษทางวินัย โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าในประเด็นนั้นจะมีการอุทธรณ์มาด้วยหรือไม่ หาก ก.พ.ค. จะมีคำวินิจฉัยให้เพิ่มโทษผู้อุทธรณ์จะต้องแจ้งไปยัง ก.พ.เพื่อให้ ก.พ. พิจารณาวินิจฉัยให้เพิ่มโทษ หลักการของ ก.พ.ค. ของไทย มีวิวัฒนาการและแหล่งที่มาเทียบเคียงมาจากการจัดองค์กร ระเบียบวิธีพิจารณา และสถานะทางกฎหมาย เช่นเดียวกับคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทหรือศาลปกครองพิเศษในประเทศฝรั่งเศส และคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (MSPB) ของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (MSPB) จากประเทศสหรัฐอเมริกา ถือเป็นต้นแบบในการจัดโครงสร้างองค์กรและวิธีพิจารณาข้อพิพาทของ ก.พ.ค. ของไทย ซึ่งทั้งสองประเทศดังกล่าว คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม ก็มีสถานะทางกฎหมายเป็นคณะกรรมการวินิจฉัย ข้อพิพาท เช่นเดียวกัน โดยที่คณะกรรมการทั้งสองดังกล่าวไม่สามารถมีคำวินิจฉัยเกินคำขอได้ ดังนั้น เมื่อ ก.พ.ค. เป็นคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท จึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยเพิ่มโทษผู้อุทธรณ์ได้ตามมาตรา 120 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จึงมุ่งศึกษาถึงแนวทางการจัดตั้งองค์กร ระเบียบวิธีพิจารณา และสถานะทางกฎหมายของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค) เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาและผลกระทบอันเกิดจากการเพิ่มโทษของ ก.พ.ค. รวมทั้งเสนอแนะแนวทางในการพัฒนา ก.พ.ค. ให้มีความทันสมัยและลดอุปสรรคในการนำหลักการของ ก.พ.ค. มาบังคับใช้ในประเทศ

Description:

วิทยานิพนธ์ (น.ม.(กฎหมายมหาชน))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2556.

Subject(s):

การบริหารงานบุคคล -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย
คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

132 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3021
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b183193.pdf ( 813.49 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Theses [208]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×