เนื้อสารของโฆษณาสื่อสิ่งพิมพ์ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้สูงอายุ และความหมายของ "สุขภาพ"
by รตน แดงรัตนวงศ์
Title: | เนื้อสารของโฆษณาสื่อสิ่งพิมพ์ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้สูงอายุ และความหมายของ "สุขภาพ" |
Other title(s): | The messages in the print ads of the elderly healthcare products and the definition of "Health" |
Author(s): | รตน แดงรัตนวงศ์ |
Advisor: | รุจิระ โรจนประภายนต์ |
Degree name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การสื่อสารประยุกต์ |
Degree department: | คณะภาษาและการสื่อสาร |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2013 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การวิจัยนี้มีคำถามนำวิจัย 2 ประเด็นดังนี้ 1) เนื้อสารในโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้สูงอายุมีการโน้มน้าวใจอย่างไร (ตามทฤษฎีการคิดขยายรายละเอียด (Elaborate Likelihood Model) และ 2) การให้ความหมายของคำว่าสุขภาพในโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้สูงอายุนั้นเป็นอย่างไร และเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประเภทการวิจัยชั้นสำรวจ (Exploratory Research) โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้1) การวิเคราะห์ตัวบท (Text Analysis) ประกอบด้วยเนื้อสารโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้สูงอายุในสื่อสิ่งพิมพ์จำนวน 30 ชิ้น และ 2) การสัมภาษณ์เชิงเจาะลึก (In-Depth Interview) ประกอบไปด้วย การสัมภาษณ์ผู้ผลิตสารจำนวน 8 คน จาก 6 บริษัท และ ผู้รับสารผู้สูงอายุจำนวน 30 คน จากนั้นข้อมูลที่ได้จะถูกวิเคราะห์โดยกรอบทฤษฎีการโน้มน้าวใจโดยคิดขยายรายละเอียด (Elaboration Likelihood Model) การวิจัยนี้พบว่าทั้ง 3 ด้าน (ตัวผู้วิจัย ผู้ผลิตสาร และผู้รับสาร) ให้ความสำคัญต่อเรื่องการโน้มน้าวใจโดยเฉพาะเส้นทางริมและนิยามของคำว่า “สุขภาพ” ในประเด็น“ผลพลอยได้ที่ผู้สูงอายุได้รับจากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ” แบบสอดคล้องกัน โดยมีการเน้นในเรื่องของ“ความสุข” และ “สุขภาพ” แต่มีการเรียงลำดับความสำคัญที่แตกต่างกันดังนี้ ด้านตัวบทเน้นให้ความสำคัญ “ความสุขในชีวิตจากการมีสุขภาพที่แข็งแรง” ส่วนด้านกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม (ผู้ผลิตสาร และผู้รับสาร) เน้นให้ความสำคัญ “สุขภาพที่แข็งแรงของผู้สูงอายุนำไปสู่ความสุขในชีวิต” แสดงถึงการเรียงลำดับความสำคัญของผลพลอยได้ที่แตกต่างกัน ทั้งๆ ที่ประเด็นแก่นสำคัญ คือ“ความสุขที่เป็นผลพลอยได้จากการมีสุขภาพที่ดี” ข้อเสนอแนะของวิจัยชิ้นนี้คือ โฆษณาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้สูงอายุควรมีการนำเรื่องผลพลอยได้หรือความสุขที่ผู้สูงอายุได้รับจากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพเป็นการโน้มน้าวใจในโฆษณา |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การสื่อสารประยุกต์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2556. |
Subject(s): | โฆษณา -- อาหารเพื่อสุขภาพ |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 418 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3029 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|