การเฝ้าระวังคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา
by ศิริพล กำแพงทอง
Title: | การเฝ้าระวังคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา |
Other title(s): | Water quality monitoring in Chao Phraya River |
Author(s): | ศิริพล กำแพงทอง |
Advisor: | บุญจง ขาวสิทธิวงษ์ |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การจัดการสิ่งแวดล้อม |
Degree department: | คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2014 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การเฝ้าระวังคุณภาพน้ำบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา พ.ศ. 2554 ทำการเก็บตัวอย่างน้ำ จำนวน 18 สถานีตลอดทั้งสาย ตั้งแต่ปลายแม่น้ำก่อนไหลลงสู่อ่าวไทยตอนบน ณ จังหวัดสมุทรปราการจนถึงต้นแม่น้ำ ณ จังหวัดนครสวรรค์ ทำการวิจัยโดยแบ่งช่วงตอนแม่น้ำ ออกเป็น 3 ตอน ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ตั้งแต่บริเวณพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ จนถึงสะพานพระรามที่ 7 อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี แม่น้ำเจ้าพระยาตอนกลาง ตั้งแต่สะพานนนทบุรี อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ถึงป้อมเพชร วัดพนัญเชิงวรวิหาร อำ เภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน ตั้งแต่สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง ถึงสะพานเดชาติวงศ์ จังหวัดนครสวรรค์ เก็บตัวอย่างครอบคลุม 3 ฤดูกาล คือ ฤดูร้อน 2 ครั้ง ฤดูฝนและฤดูหนาว อย่างละ 1 ครั้ง นำมาทดสอบหาคุณภาพน้ำโดยห้องปฏิบัติการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 6 ในด้านเคมี ได้แก่ ออกซิเจนละลาย (DO) บีโอดี (BOD) แอมโมเนีย -ไนโตรเจน (NH3-N) และด้านชีวภาพ ได้แก่ แบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม (FCB) และแบคทีเรีย กลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด (TCB) เมื่อนำผลคุณภาพน้ำที่ตรวจวัดได้ในแต่ละสถานีมาประเมินคุณภาพน้ำตามมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน พบว่า สถานการณ์คุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตลอดทั้งสายส่วนใหญ่มีคุณภาพต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานกำหนดถึงร้อยละ 78 มีเพียงร้อยละ 22 เท่านั้นที่มีคุณภาพน้ำเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพน้ำกำหนด และไม่มีบริเวณสถานีใดที่มีคุณภาพน้ำสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานกำหนด สำหรับการทดสอบหาความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำกับระยะทาง (ช่วงตอนแม่น้ำ) และฤดูกาล ผลการทดสอบสมมติฐานโดยใช้โปรแกรมทางสถิติ One – way ANOVA ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 พบว่า ฤดูกาลที่เปลี่ยนไปไม่มีผลทำให้คุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเปลี่ยนแปลง แต่การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นอยู่กับระยะทางที่มวลน้ำไหลผ่านไปในแต่ละตอนแม่น้ำ ซึ่งสอดคล้องกับการแบ่งตอนแม่น้ำตามประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง กำหนดประเภทของแหล่งน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา และเมื่อนำผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำในช่วงเกิดอุทกภัยปลาย พ.ศ. 2554 เปรียบเทียบหาความสัมพันธ์กับผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำในช่วงเวลาเดียวกันของ พ.ศ. 2553 โดยใช้โปรแกรมทางสถิติ Paired Samples t - Testที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 พบว่า เหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ ไม่ส่งผลกระทบทำให้คุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตลอดทั้งสายเปลี่ยนแปลงไป แต่มีผลกระทบต่อค่าออกซิเจนละลาย (DO) เฉพาะบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างในช่วงฤดูหนาว ตั้งแต่สถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำ CH01 ถึง CH15 (พระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ถึงสะพานนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี) |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557. |
Subject(s): | คุณภาพน้ำ -- ไทย -- แม่น้ำเจ้าพระยา |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 164 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3069 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|