• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ : กรณีศึกษาสำนักงานยุติธรรมจังหวัดมหาสารคาม

by เรียวรุ้ง บุญเกิด

Title:

กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ : กรณีศึกษาสำนักงานยุติธรรมจังหวัดมหาสารคาม

Other title(s):

Restorative justice : A case study of provincial justice office in Mahasarakham province

Author(s):

เรียวรุ้ง บุญเกิด

Advisor:

สุวิชา เป้าอารีย์

Degree name:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2014

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์โดย สานักงานยุติธรรมจังหวัดมหาสารคาม 2) ศึกษาเงื่อนไขความสาเร็จของกระบวนการไกล่เกลี่ย ระงับข้อพิพาท และ 3) ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดาเนินกระบวนการยุติธรรม เชิงสมานฉันท์ เป็นการการศึกษาการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีการเก็บข้อมูลโดย การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูลสาคัญ (Key Informant) 18 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้แนวทางการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ของสานักงานยุติธรรมจังหวัด มหาสารคามใช้รูปแบบการไกล่เกลี่ย โดยกระบวนการเริ่มต้นประชาชนสามารถติดต่อได้ทั้ง ช่องทางจากสานักงานยุติธรรมจังหวัดมหาสารคามและช่องทางจากเครือข่าย โดยมีขั้นตอนในการ ดา เนินกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ที่สาคัญ คือ 1) การเข้าสู่กระบวนการ 2) การจัดเวทีไกล่ เกลี่ย 3) การประสานส่งต่อกรณีพิพาท เงื่อนไขความสาเร็จในการไกล่เกลี่ยที่สาคัญมี 5 เงื่อนไขดังนี้ คือ 1) ความสมัครใจของ คู่กรณีทั้งสองฝ่ายที่ทา ให้กระบวนการไกล่เกลี่ยเริ่มต้นขึ้นได้ 2) ต้องมีผู้ไกล่เกลี่ยที่มีความเป็นกลาง และมีลักษณะของผู้ไกล่เกลี่ยที่ดี 3) การไกล่เกลี่ยที่เกิดขึ้นในบริบทชุมชนหรือพื้นที่ที่มีวัฒนธรรม ประเพณีในการเคารพผู้ใหญ่ 4) การได้รับการสนับสนุนทั้งความรู้ความร่ วมมือจากคณะ กรรมการบริหารสานักงานยุติธรรมจังหวัด 5) การเลือกเวทีไกล่เกลี่ยที่มีความเป็นธรรมชาติและ คู่กรณีคุ้นเคย จะส่งผลให้การไกล่เกลี่ยสามารถดา เนินไปอย่างราบรื่นและสา เร็จได้ ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ มี 9 ด้าน ได้แก่ 1) ปัญหาด้านสถานที่ตั้งของสานักงาน ยุติธรรมจังหวัดยังคงอาศัยในหน่วยงานอื่น จึงควรมีสถานที่เป็นเอกเทศน์และจัดพื้นที่ให้เป็นสัดส่วนเพื่ออานวยความสะดวกในการบริการประชาชน 2) ปัญหาด้านการดาเนินงานของ คณะกรรมการบริหารสานักงานยุติธรรมจังหวัดมหาสารคามที่ไม่สามารถบริหารงานได้อย่างเต็มที่ ดงั นั้นควรมีหัวหน้าของสานักงานยุติธรรมจังหวัดโดยตรงไม่ใช้รูปแบบการดึงหัวหน้าจากจาก หน่วยงานอื่นมารับผิดชอบ 3) ปัญหาด้านบุคลากรที่ขาดความรู้ความสามารถและความขัดแย้งที่เกิด ในหน่วยงาน คณะกรรมการบริหารสานักงานยุติธรรมจังหวัดต้องเป็ นตัวกลางในการช่วยสร้าง ความสัมพันธ์และการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรอยู่เสมอ 4) ปัญหาด้านการประชาสัมพันธ์ที่เป็น เชิงรับมากกว่าเชิงรุก จึงควรมีการลงพื้นที่ให้ทั่วถึงเพื่อรับฟังปัญหาในชุมชนอื่นๆ 5) ปัญหาของ การเก็บสถิติการไกล่เกลี่ยที่ไม่มีเครื่องมือมาตรฐานและไม่เห็นความสาคัญของการเก็บสถิติ จึงต้อง ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมสร้างเครื่องมือและเก็บสถิติเพื่อประโยชน์ในอนาคตต่อไป 6) ปัญหาด้าน ลกั ษณะผู้ไกล่เกลี่ยที่ความสัมพันธ์ทางสังคมกับคู่กรณีทา ให้เกิดการจา ยอมในการไกล่เกลี่ย ดังนั้น ต้องให้คู่กรณีมีสิทธิเลือกผู้ไกล่เกลี่ยได้เอง 7) ปัญหาด้านค่าใช้จ่ายและอุปกรณ์ในการดา เนินการทั้ง ในส่วนของเจ้าหน้าที่สานักงานยุติธรรมจังหวัดและผู้ไกล่เกลี่ย ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้ การสนับสนุนด้านงบประมาณและคาปรึกษา 8) ปัญหาด้านความร่วมมือจากหน่วยงานที่อยู่ใน กระบวนการยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังขาดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการยุติธรรม เชิงสมานฉันท์และทัศนคติในแง่ลบต่อกระบวนการไกล่เกลี่ย จึงต้องมีการสร้างความเข้าใจ ตระหนักถึงข้อดีในการใช้กระบวนการไกล่เกลี่ยและตระหนักถึงการให้ความร่วมมือทุกรูปแบบ ประการสุดท้าย 9) ปัญหาจากการไม่ติดตามผลการดาเนินการไกล่เกลี่ยให้แก่ประชาชนกระทั่งต้อง เข้าสู่กระบวนการฟ้ องร้องเนื่องจากเกิดการผิดสัญญาขึ้น ดังนั้นต้องสร้างความรับผิดชอบให้แก่ เจ้าหน้าที่ทุกระดับในการช่วยเหลือประชาชนอย่างจริงจังเพื่อไม่ให้การไกล่เกลี่ยหรือกระบวนการ ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์เป็นเพียงการปฏิบัติที่เกิดการสูญงบประมาณของรัฐเพิ่มขึ้น

Description:

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557

Subject(s):

กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ -- ไทย -- มหาสารคาม

Keyword(s):

กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

143 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3107
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b185647.pdf ( 3,110.22 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [555]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×