ความสามารถทนเค็มน้าทะเลของสายพันธุ์หญ้าแฝก
by เอกรัตน์ ปัญญาเอก
Title: | ความสามารถทนเค็มน้าทะเลของสายพันธุ์หญ้าแฝก |
Other title(s): | Genotypic difference in sea water salinity tolerance of vetiver grass cultivars |
Author(s): | เอกรัตน์ ปัญญาเอก |
Advisor: | ธวัชชัย ศุภดิษฐ์ |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การจัดการสิ่งแวดล้อม |
Degree department: | คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2014 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาเรื่อง ความสามารถทนเค็มน้าทะเลของสายพันธุ์หญ้าแฝก มีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถของหญ้าแฝก 2 สายพันธุ์ ซึ่งประกอบไปด้วยสายพันธุ์ลุ่ม ได้แก่ ชนิดพันธุ์กาแพงเพชร 2 และชนิดพันธุ์สงขลา 3 และสายพันธุ์ดอน ได้แก่ ชนิดพันธุ์นครสวรรค์ และชนิดพันธุ์กาแพงเพชร 1 ต่อความสามารถทนค่าความเค็มของน้าทะเลที่ระดับความเค็ม 0, 8.00, 16.0, 24.0, 32.0 และ 40.0 พีพีที รวมถึงความสามารถในการลดค่าความเค็มของน้าทะเล ระหว่างการทดลองทาการตรวจวัด อัตราการรอดชีวิต อัตราการเพิ่มขึ้นของน้าหนัก อัตราการเพิ่มขึ้นของความสูง อัตราการเพิ่มขึ้นของความยาวราก การเปลี่ยนแปลงระดับค่าความเค็มของน้าทะเลที่ใช้ในการทดลอง และอัตราการเปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรด - ด่าง ของน้าทะเล วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design: CRD) โดยวางรูปแบบการทดลอง 4 x 6 Factorial Arrangement ผลการศึกษา พบว่า ชนิดของสายพันธุ์หญ้าแฝกมีความสามารถในการเจริญเติบโตในระดับความเค็มของน้าในระดับต่าง ๆ ที่ไม่แตกต่างกัน ในส่วนของอัตราการรอดชีวิต อัตราการเพิ่มขึ้นของน้าหนัก อัตราการเพิ่มขึ้นของความสูง การเปลี่ยนแปลงระดับค่าความเค็มของน้าทะเลที่ใช้ในการทดลองปลูกหญ้าแฝก และอัตราการเปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรด - ด่าง ของน้าทะเล แต่ละชนิดของสายพันธุ์มีผลที่แตกต่างกัน (p<0.05) ในส่วนของอัตราการเพิ่มขึ้นของความยาวรากของต้นหญ้าแฝก รวมทั้ง พบว่า ระดับค่าความเค็มของน้าที่แตกต่างกัน สามารถส่งผลต่อความสามารถในการเจริญเติบโตของหญ้าแฝกที่แตกต่างกันในทุกด้าน นอกจากนี้ ชนิดของสายพันธ์หญ้าแฝกและระดับค่าความเค็มของน้าทะเลที่แตกต่างกันมีอิทธิพลร่วมกันเฉพาะในส่วนของอัตราการเพิ่มขึ้นของความยาวรากของต้นหญ้าแฝก (4) สรุปได้ว่า หญ้าแฝกชนิดสายพันธุ์ลุ่มมีความสามารถในการเจริญเติบโต เพิ่มความยาวรากได้ดีกว่าหญ้าแฝกชนิดสายพันธุ์ดอน แต่ทั้งสองสายพันธุ์ไม่มีความสามารถในการลดระดับค่าความเค็มของน้าทะเลให้ลดลงได้ และระดับค่าความเค็มที่หญ้าแฝกสามารถเจริญเติบโตได้ดีจะอยู่ในช่วงระดับค่าความเค็ม 0 พีพีที ถึงระดับความเค็ม 8.00 พีพีที เท่านั้น |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557 |
Subject(s): | หญ้าแฝก |
Keyword(s): | ความสามารถทนเค็มของน้ำ
หญ้าแฝก หญ้าแฝกพันธุ์นครสวรรค์ หญ้าแฝกพันธุ์กาแพงเพชร การทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 380 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3111 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|