dc.contributor.advisor | สุนทร มณีสวัสดิ์ | th |
dc.contributor.author | จตุรนต์ ชุ่มชุมภู | th |
dc.date.accessioned | 2016-07-26T07:14:11Z | |
dc.date.available | 2016-07-26T07:14:11Z | |
dc.date.issued | 2014 | th |
dc.identifier.other | b185202 | th |
dc.identifier.uri | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3145 | th |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557 | th |
dc.description.abstract | ความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาจะต้องบังคับใช้กฎหมายที่มีผลใช้บังคับใน
ขณะนั้นซึ่งประมวลกฎหมายที่บัญญัติให้บังคับใช้ในปัจจุบันนั้นคือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ดังนั้นเมื่อสมรสถูกต้องตามกฎหมายและถ้าหากภายหลังสามีอุปสมบทเป็นพระภิกษุความสัมพันธ์ทาง
ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาก็ยังคงมีผลบังคับใช้เนื่องจากว่ากฎหมายมิได้บัญญัติให้การสมรสเป็นอัน
สิ้นสุดเพราะสามีอุปสมบทจึงมีประเด็นเรื่องการตกทอดทรัพย์สินของพระภิกษุตามมาตรา 1623 โดย
วางหลักไว้ว่าทรัพย์สินที่พระภิกษุได้มาในระหว่างอุปสมบทเมื่อภายหลังท่านมรณภาพให้ทรัพย์สินตก
เป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลาเนาของพระภิกษุ ดังนั้นทรัพย์สินที่ได้มาภายหลังอุปสมบทนั้นอาจแยก
ตามความเป็นจริงนั้นคือได้ทรัพย์สินมาจากการทาบุญตามพระพุทธศาสนาและได้ทรัพย์สินมาโดยไม่
เกี่ยวกับการทาบุญตามพระพุทธศาสนาอย่างเช่นการได้รับมรดกจากบิดามารดาหรือการได้มาโดย
เสน่หาโดยได้มาไม่เกี่ยวกับการนับถือเป็นพระภิกษุ และเมื่อภายหลังพระภิกษุมรณภาพนั้นโดยผล
กฎหมายปัจจุบันบัญญัติให้ทรัพย์สินดังที่ได้อธิบายมาข้างต้นนี้ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลาเนาของ
พระภิกษุทั้งหมด ซึ่งประเด็นการตกทอดทรัพย์สินในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนานี้น่าจะไม่เป็น
ธรรมกับทายาทโดยธรรมของพระภิกษุที่กฎหมายบัญญัติให้ทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่เกี่ยวกับ
พระพุทธศาสนาตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลาเนาของพระภิกษุตามมาตรา 1623 บทกฎหมาย
ดังกล่าวนี้เชื่อว่ามีที่มาจากแนวความคิดในกฎหมายดังเดิมของไทยคือกฎหมายตราสามดวง
ดังนั้นจึงต้องศึกษากฎหมายในอดีตคือกฎหมายตราสามดวงที่เกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามี
ภรรยาในกรณีที่สามีอุปสมบทเป็นพระภิกษุโดยกฎหมายที่บัญญัติไว้ในประเด็นดังกล่าวนั้นคือ
กฎหมายลักษณะผัวเมียซึ่งเป็นหนึ่งในลักษณะกฎหมายตราสามดวงอย่างเช่น กฎหมายลักษณะผัวเมีย
ในบทที่ 38 ที่วางหลักให้สินเดิมและสินสมรสตกเป็นของภรรยาและการสมรสเป็นอันสิ้นสุดนับตั้งแต่
สามีได้อุปสมบทแล้ว ซึ่งในประเด็นทรัพย์สินตามกฎหมายลักษณะผัวเมียเกี่ยวกับทรัพย์สินของสามีที่
ได้มาก่อนอุปสมบทนั้นตกเป็นของภรรยาทั้งหมดนับตั้งแต่ได้อุปสมบท และเมื่ออุปสมบทแล้วทรัพย์สิน
ที่พระภิกษุได้มาในระหว่างอุปสมบทนั้นโดยผลของกฎหมายนั้นถือว่าเป็นทรัพย์สินของพระภิกษุ
โดยเฉพาะและถ้าหากพระภิกษุมรณภาพทรัพย์สินที่ได้มาภายหลังอุปสมบททั้งหมดตกเป็นสมบัติของ
วัดที่เป็นภูมิลาเนาของพระภิกษุตามกฎหมายตราสามดวงในลักษณะของกฎหมายลักษณะมรดกในบท
ที่ 36
แต่เนื่องจากกฎหมายในปัจจุบันได้นากฎหมายในอดีตมาบังคับใช้เพียงบางส่วนเท่านั้น ฉะนั้น
จึงมีประเด็นที่กฎหมายในปัจจุบันได้วางหลักไว้แตกต่างจากฎหมายในอดีตนั้นคือประเด็นเรื่องการ
สิ้นสุดการสมรสและประเด็นเรื่องการตกทอดทรัพย์สินในกรณีที่สามีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ดังนั้น
เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการแบ่งทรัพย์สินของพระภิกษุในปัจจุบันจึงมีข้อเสนอแนะว่าถ้าหาก
ภรรยาไม่ต้องการอยู่ร่วมกันเป็นสามีภรรยาก็ควรอ้างเหตุของการฟ้องหย่าได้ตามมาตรา 1516 อนุ (4)
ซึ่งเมื่อการสมรสเป็นอันสิ้นสุดก็ต้องแบ่งสินสมรสตามกฎหมาย และในประเด็นการตกทอดทรัพย์สิน
ตามมาตรา 1623 นั้นก็ควรต้องแยกทรัพย์สินที่พระภิกษุได้มาระหว่างอุปสมบทว่าเป็นทรัพย์สินที่
ได้มาเนื่องจากความเป็นพระภิกษุที่มีผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนาถวายแก่พระในฐานะผู้สืบทอด
พระพุทธศาสนาทรัพย์สินในส่วนนี้เท่านั้นที่สมควรตกทอดแก่วัดที่เป็นภูมิลาเนาของพระภิกษุ และ
เฉพาะในส่วนทรัพย์สินที่ได้มาจากความสัมพันธ์ทางเครือญาติเช่นจากการตกทอดมรดกของบิดา
มารดาตามมาตรา 1622 หรือทรัพย์สินที่ได้มาโดยเสน่หาโดยไม่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเช่น ศาสนิก
ชนหรือเครือญาติให้ความเคารพเป็นการส่วนตัวยกทรัพย์สินให้ซึ่งทรัพย์สินในส่วนนี้ก็ควรตกเป็น
ทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของพระภิกษุ | th |
dc.description.provenance | Submitted by Budsakorn Kaewpitakkan (toomool@gmail.com) on 2016-07-26T07:14:11Z
No. of bitstreams: 1
b185202.pdf: 1477903 bytes, checksum: 8ed121d6b25549b63b5dd408b7676518 (MD5) | th |
dc.description.provenance | Made available in DSpace on 2016-07-26T07:14:11Z (GMT). No. of bitstreams: 1
b185202.pdf: 1477903 bytes, checksum: 8ed121d6b25549b63b5dd408b7676518 (MD5)
Previous issue date: 2014 | th |
dc.format.extent | 99 แผ่น | th |
dc.format.mimetype | application/pdf | th |
dc.language.iso | tha | th |
dc.publisher | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
dc.rights | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) | th |
dc.subject.other | กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ทรัพย์สิน | th |
dc.subject.other | สงฆ์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ | th |
dc.title | ความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาและการตกทอดทรัพย์สินของพระภิกษุ | th |
dc.title.alternative | The property relations between husband and wife and the devolution of Asset and estate of monk | th |
dc.type | Text | th |
mods.genre | วิทยานิพนธ์ | th |
mods.physicalLocation | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา | th |
thesis.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | th |
thesis.degree.level | Master's | th |
thesis.degree.grantor | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
thesis.degree.department | คณะนิติศาสตร์ | th |