การคุ้มครองผู้ทรงสิทธิและสิทธิของผู้ทรงสิทธิในภูมิปัญญาท้องถิ่น
Files
Publisher
Issued Date
2013
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
130 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b185200
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
สุชาดา เจริญวิริยะธรรม (2013). การคุ้มครองผู้ทรงสิทธิและสิทธิของผู้ทรงสิทธิในภูมิปัญญาท้องถิ่น. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3147.
Title
การคุ้มครองผู้ทรงสิทธิและสิทธิของผู้ทรงสิทธิในภูมิปัญญาท้องถิ่น
Alternative Title(s)
Protection of person entitled and the rights of ownership in traditional knowledge
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็น องค์ความรู้ด้านต่างๆ ที่มีความสาคัญเป็นอย่างมากเพราะสามารถใช้
เป็นฐานข้อมูล เพื่อนาไปพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ได้อย่าง มหาศาลซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นจะมี
คุณค่ามาก ขึ้นเมื่อได้ผ่านการ ทดลอง ค้นคว้า วิจัยและพัฒนาต่อยอดไปจาก องค์ความรู้เดิมซึ่งการ
ดาเนินการดังกล่าว ปัจจัยที่สาคัญและมีความ จาเป็น ก็คือต้อง อาศัยทุนจานวนมาก และ ความ
เจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย และจากสาเหตุนี้เองจึงทาให้ภูมิปัญญา
ท้องถิ่นมักจะ ถูกละเมิดจากประเทศที่พัฒนาแล้วที่มีความได้เปรียบในด้าน ทุนและเทคโนโลยี
ประกอบกับ แนวความ คิดของประเทศ เหล่านี้ที่มักจะมองว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นองค์ความรู้ที่เป็น
สมบัติสาธารณะ (Public domain) ของทุกคน ดังนั้น บุคคลใดๆ ก็ตามสามารถที่จะนาองค์ความรู้ที่
เป็นสมบัติสาธารณะนี้ ไปใช้ประโยชน์ได้ จากเหตุดังกล่าวนี้เอง จึงทาให้เกิด สิ่งที่เรียกว่า “โจรสลัด
ชีวภาพ” (Bio-piracy) ซึ่งก็คือ การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากทรัพยากรชีวภาพหรือภูมิปัญญา
ท้องถิ่นโดยปราศจากความยินยอมจากเจ้าของโดยการนาไปพัฒนาต่อยอดแล้วจดทะเบียนเป็น
ทรัพย์สินทางปัญญาของตน ซึ่งประเทศที่ถูกละเมิดส่วนใหญ่จะเป็นประเทศกาลังพัฒนาที่เป็นเจ้าของ
ภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งขาดทั้งวิทย าการสมัยใหม่และกฎหมายเฉพาะที่จะมาปกป้องภูมิปัญญาท้องถิ่น
ของตน
สาหรับประเทศไทย ก็ถือเป็นประเทศหนึ่งที่มีความหลากหลายใน ภูมิปัญญาท้องถิ่น แต่ไม่มี
กฎหมายเฉพาะที่มุ่งคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยตรง จึงทาให้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ของไทยถูกละเมิด
หลายครั้งจากประเทศมหาอานาจ ปัจจุบันกฎหมายที่นามาปรับใช้เพื่อคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ
รัฐธรรมนูญ 2550 และกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือกฎหมายทั่วไปเหล่านี้
ไม่ได้ถูกบัญญัติขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ในการคุ้ มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นโดย เฉพา ะกล่าวคือ ใน
รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 66 เป็นบทบัญญัติที่กล่าวถึงเรื่องการ รับรองสิทธิของชุมชนที่มีเหนือ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพียงด้านเดียว เท่านั้น ซึ่งยังคงมีประเด็นปัญหาต้องตีความอีกว่าภูมิปัญญาท้องถิ่น
หมายถึงอะไรบ้าง ใครคือผู้ทรงสิทธิในภูมิปัญญาท้องถิ่นที่จะสามารถพิทักษ์และปกป้องภูมิปัญญา
ท้องถิ่นหากมีการละเมิด ส่วนกรณีของ กฎหมาย ทรัพย์สินทางปัญญา เป็นกฎหมายที่มุ่งรับรองสิทธิ
ของปัจเจกชนผู้สร้างสรรค์หรือผู้ประดิษฐ์โดยมีวัตถุประสงค์เน้นด้านของอุตสาหกรรมเป็นหลักซึ่งขัดกับเจตนารมณ์ของการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพาณิชย์เป็นสาคัญแต่
มุ่งเน้นในด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูเพื่อให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นยังคงอยู่ตลอดไป
จากเหตุผลดังกล่าวนี้ทาให้หลายๆ ประเทศที่เป็นเจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่นเริ่ม ตระหนักถึง
สาเหตุที่เป็นอุปสรรคในการปกป้องภูมิปัญญาท้องถิ่นของตน จึงได้ พยายาม ร่วมมือกันโดย บัญญัติ
หลักเกณฑ์ที่จะใช้เป็นแนวปฏิบัติร่วมกัน เพื่อป้องกัน ไม่ให้มีการ แสวงหาประโยชน์อย่างไม่เป็นธรรม
จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ปกป้องไม่ให้มีการนาเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นไปใช้ประโยชน์ แล้วไปดาเนินการ
ขอรับความคุ้มครองตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาโดยปราศจากความยินยอมและการรับรู้ถึงสิทธิ
ในความเป็นเจ้าของ และเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม จากการใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยมี
ผลประโยชน์ตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรมให้แก่เจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยตรง โดยต้องการ
ให้หลักการ เหล่า นี้มีผลใช้บังคับในทางระหว่างประเทศเพื่อ ให้เป็นต้นแบบ แก่ประเทศต่างๆ นา
หลักเกณฑ์เหล่านี้ไปบัญญัติเป็นกฎหมายภายในของตนเพื่อคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น
ดังนั้น ประเทศไทยจึง เกิดแนวความคิดที่จะคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยใช้ระบบ
กฎหมายเฉพา ะ (sui generis system) ที่มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อปกป้องและ คุ้มครองภูมิปัญญา
ท้องถิ่น มิให้ถูกละเมิดอีกต่อไป รวมทั้ง ป้องกัน มิให้มีการ แสวงหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ อย่าง
ไม่เป็นธรรม ด้วยการวางหลักเกณฑ์ว่า หากมีการนาภูมิปัญญาท้องถิ่นไปใช้ศึกษาวิจัยและพัฒนา
ผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อนาไปสู่การจดสิทธิบัตร ก่อนการวิจัยจะต้องได้รับความยินยอมก่อนจึงจะสามารถ
ดาเนินการจดสิทธิบัตรได้ มิฉะนั้น จะถือเป็นการละเมิดภูมิปัญญาท้องถิ่นและมีความผิดตามกฎหมาย
และเพื่อเป็นการหาแนวทางที่เ หมาะสมในการร่างกฎหมาย ให้สามารถ คุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้
ครอบคลุมและ มีประสิทธิภาพอย่าง แท้จริง ดังนั้น วิทยานิพนธ์เล่มนี้จึงศึกษาในเรื่อง ความหมายของ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น การคุ้มครองผู้ทรงสิทธิในฐานะสิทธิปัจเจกชนหรือสิทธิร่วมกัน สิทธิในความเป็น
เจ้าของ ในภูมิปัญญาท้องถิ่น การประเมินคุณค่าภูมิปัญญาท้องถิ่นในเชิงพาณิชย์ ว่าสามารถทาได้
เหมือนทรัพย์สินทั่วไปหรือไม่ และ สิทธิใน ภูมิปัญญาท้องถิ่น สามารถโอน ให้แก่กัน ได้เหมือนสิทธิใน
ทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอื่น หรือไม่ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดแนวทางที่ชัดเจนในการบัญญัติกฎหมายและ
ป้องกันข้อโต้แย้งในการตีความข้อกฎหมายต่อไปในอนาคต
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2556