• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • GSHRD: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • GSHRD: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการถ่ายทอดทางสังคมในองค์การ การฝังลึกในงาน และความอยู่ดีมีสุขของพนักงานธนาคาร

by ณัฐาพร จริยะปัญญา

Title:

การวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการถ่ายทอดทางสังคมในองค์การ การฝังลึกในงาน และความอยู่ดีมีสุขของพนักงานธนาคาร

Other title(s):

Structural relation analysis of organizational socialization, Job embeddedness, and well-being of Bank officers

Author(s):

ณัฐาพร จริยะปัญญา

Advisor:

บังอร โสฬส

Degree name:

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ

Degree department:

คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2013

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงของโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการถ่ายทอดทางสังคมในองค์การ การฝังลึกในงาน และความอยู่ดีมีสุขของพนักงาน 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของการถ่ายทอดทางสังคมในองค์การและการฝังลึกในงาน ที่ส่งผลต่อความอยู่ดีมีสุขของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานระดับปฏิบัติการ 2-7 ของสถาบันการเงินรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 4 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถามลักษณะทั่วไปของผู้ตอบ แบบสอบถามความอยู่ดีมีสุขในองค์การ แบบสอบถามการฝังลึกในงาน และแบบสอบถามการถ่ายทอดทางสังคมในองค์การ ได้รับแบบสอบถามที่ตอบสมบูรณ์กลับคืนจำนวน 381 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 70 ของแบบสอบถามที่แจกไปทั้งหมด 550 ฉบับ ผลการวิเคราะห์ลักษณะของกลุ่มตัวอย่างพบว่า ผู้ตอบมีลักษณะคละกัน ประกอบด้วยหญิงและชายจำนวนใกล้เคียงกัน (ร้อยละ 57.5 และ 42.5 ตามลำดับ) มีอายุกระจายตั้งแต่ 20 ถึง 50 ปี มีอายุงานในระดับตั้งแต่น้อยกว่า 5 ปีจนถึง 21 ปีขึ้นไป มีตำแหน่งในหลายระดับ ทำงานในแผนกต่างๆ หลากหลายตามเป้าหมายที่วางไว้ นอกจากนี้พบว่าผู้ตอบส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 69) สถานภาพสมรส (ร้อยละ 59) และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,000 ถึง 30,000 บาท (ร้อยละ 36.7) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐานพบผลสำคัญดังนี้ 1) ผลการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันพบความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างการฝังลึกในงานกับความอยู่ดีมีสุข (r = .803) ระหว่างการถ่ายทอดทางสังคมกับความอยู่ดีมีสุข (r = .723) และระหว่างการถ่ายทอดทางสังคมในองค์การกับการฝังลึกในงาน (r = .760) 2) ผลการวิเคราะห์โมเดลโครงสร้างความสัมพันธ์พบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X2 = 58.935, CMIN/df = 1.371, p = .053, RMSEA = .031, GFI = .976, CFI = .995) โดยพบว่าการฝังลึกในงานมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความอยู่ดีมีสุข ( = .93, R2 = .87 ) ในขณะที่ถ่ายทอดทางสังคมในองค์การมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการฝังลึกในงาน ( = .97, R2 = .95) แต่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความอยู่ดีมีสุข โดยมีการฝังลึกในงานเป็นตัวแปรคั่นกลาง (IE = .90) ผลการวิจัยที่พบดังกล่าวนี้บ่งชี้ความสำคัญของการถ่ายทอดทางสังคมในองค์การ โดยความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างที่พบผลเชิงประจักษ์ แสดงให้เห็นชัดเจนว่า พนักงานที่ได้รับการถ่ายทอดทางสังคมในองค์การมาก มีการฝังลึกในงานมาก และพนักงานที่มีความฝังลึกในงานมากมีความอยู่ดีมีสุขมากตามไปด้วย ทำให้สามารถเสนอแนะเพื่อการนำผลวิจัยไปประยุกต์ใช้ได้ว่าองค์การควรจัดให้มีการถ่ายทอดทางสังคมให้มาก โดยองค์การอาจจัดให้มีการถ่ายทอดทางสังคม ด้านการฝึกอบรมหรือสัมมนาเทคนิคการทำงาน ด้านนโยบายการพัฒนาพนักงาน ด้านการส่งเสริมสัมพันธภาพในที่ทำงาน หรือด้านการศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งการศึกษาครั้งนี้พบว่าสามารถช่วยเสริมสร้างให้พนักงานมีความฝังลึกในงานเพิ่มขึ้น และเกิดความอยู่ดีมีสุขเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

Description:

วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2556

Subject(s):

วัฒนธรรมองค์การ
ความพอใจในการทำงาน
คุณภาพชีวิตการทำงาน

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

146 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3197
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b185012.pdf ( 2,473.55 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSHRD: Theses [150]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×