Browsing GSDE: Theses by Title
Now showing items 40-59 of 69
-
ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาหลักทรัพย์ ด้วยแบบจำลอง Panel VAR
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2020);
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ ด้วย Panel VAR Approach โดยใช้อัตราส่วนทางการเงินทั้งหมด 16 อัตราส่วนที่เผยแพร่โดยตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทย ได้แก่ อัตราส่วนหมุนเวียน (CR) อัตราส่วนหมุนเวียนเร็ว (QR) อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (DE) อัตราส่วนความสามารถชำระดอกเบี้ย (INTCO) อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) อัตรากำไรสุทธิ (NPM) อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ (ROA) อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) อัตราส่วนหมุนเวียนลูกหนี้การค้า (ART) ระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย (ACP) อัตราส่วนหมุนเวียนสินทรัพย์ถาวร ... -
ความสัมพันธ์ระหว่างอาชญากรรมยาเสพติดและอาชญากรรมเกี่ยวกับทรัพย์
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019);
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอาชญากรรมยาเสพติดและการปราบปรามยาเสพติด ที่ส่งผลต่ออาชญากรรมในประเภทคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ โดยวางสมมติฐานไว้ใน 2 รูปแบบที่ต่างกัน คือ ยาเสพติดเป็นต้นเหตุของการก่อคดีอาชญากรรม ซึ่งอาชญากรรมเกี่ยวกับทรัพย์จำนวนมากมีการก่อเหตุโดยผู้เสพยาเสพติด สมมติฐานนี้จึงมองว่า ‘การเสพยาเสพติดก่อให้เกิดอาชญากรรมประทุษร้ายต่อทรัพย์ เนื่องจากผู้เสพกระทำเพื่อหาเงินมาสนองการเสพติดของตน’ อีกสมมติฐานหนึ่ง คือ อิทธิพลของอาชญากรรมยาเสพติดที่มีต่ออาชญากรรมอื่นอาจเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากทรัพยากรที่ใช้เพื่อบังคับใช้ก ... -
ความสูญเสียทางเศรษฐกิจของนโยบายกำหนดราคาพลังงานทดแทน : กรณีน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (บี0 บี2 บี3) และไบโอดีเซล บี5
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2011); -
ความเหลื่อมล้ำระหว่างระบบประกันสุขภาพของภาครัฐในประเทศไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014);
ประเทศไทยมีสิทธิในการรักษาพยาบาลจากภาครัฐที่ให้ความคุ้มครองกับประชาชนอยู่ 3ระบบ คือ 1. ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ 2. ระบบประกันสังคม และ 3. ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เนื่องจาก 3 ระบบนี้มีหน่วยงานต้นสังกัดที่คอยดูแลและให้ความคุ้มครองกับประชาชนที่แตกต่างกัน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาหาความเหลื่อมล้ำา ที่เกิดจากความแตกต่างกันระหว่างสิทธิรักษาพยาบาล โดยวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำ ทั้งในเชิงข้อกำหนดและกฎระเบียบ และความเหลื่อมล้ำ ในเชิงคุณภาพของการให้บริการ -
ต้นทุนการทำธุรกรรมของอุตสาหกรรมกองทุนรวมใน AEC
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
งานศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนการทาธุรกรรมของอุตสาหกรรมกองทุนรวม ในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (AEC) โดยได้แบ่งการศึกษา ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การศึกษาปัจจัยกำหนดค่าธรรมเนียมของกองทุนรวมใน AEC และ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าธรรมเนียมกับผลการดำเนินงานและการลงทุนของกองทุน รวมใน AEC เพื่อใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมกองทุนรวมของไทยเพื่อให้ พร้อมรับมือกับการเปิดเสรีซื้อขายกองทุนรวม -
ตัวคูณทวีการท่องเที่ยวและผลกระทบต่อการกระจายรายได้: หลักฐานเชิงประจักษ์จากข้อมูลโรงแรมของประเทศไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018);
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจและรายได้ของประเทศไทยเป็นอย่างมาก ก่อให้เกิดการจ้างงานและมีความเชื่อมโยงไปสู่อุตสาหกรรมอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมโรงแรม นอกจากนี้อุตสาหกรรมโรงแรมยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีการพึ่งพาธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจค้าส่งอย่างมาก จึงทำให้อุตสาหกรรมนี้สร้างรายได้และการจ้างงานเพิ่มขึ้นมากกว่าอุตสาหกรรมที่พักอาศัยประเภทอื่นๆ ดังนั้น โครงการวิจัยนี้จึงพยายามอธิบายผลกระทบของการท่องเที่ยวต่อการกระจายรายได้ผ่านอุตสาหกรรมโรงแรม ด้วยวิธีการตัวทวีคูณการท่องเที่ยว (Tourism Multiplier) และศึกษาหาปัจจัยที่จะส่งผลต่อผลกระท ... -
ประสิทธิผลของมาตรการกำกับการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของมาตรการกำกับการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยแบ่งเป็น มาตรการแคชบาลานซ์ ซึ่งใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2551 จนถึง 2557 และมาตรการเทรดดิ้ง อะเลิร์ท ซึ่งเริ่มใช้เมื่อต้น พ.ศ. 2558 การศึกษาได้วิเคราะห์ประเภทของหลักทรัพย์ โดยพิจารณาขนาดกลุ่มอุตสาหกรรม และระยะเวลาในการตดิ มาตรการซ้ำ และทำการวิเคราะห์ความมีประสิทธิผลของมาตรการ โดยมุ่งเน้นไปทคี่ วามสามารถในการควบคุมความผันผวนของราคาหลักทรัพย์รวมถึงอัตราการซื้อขายหมุนเวียน นอกจากนี้ ยังพิจารณาต่อเนื่องไปว่า เมื่อหลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายผิดไปจากสภาพปกติของ ... -
ประสิทธิภาพการระดมทุนขององค์กรไม่แสวงหากำไร กรณีองค์กรศาสนาในประเทศไทย
(สถาบันบัณพิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพสังคมอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะองค์กรศาสนาในประเทศไทยที่มีความสัมพันธ์กับคนไทยตั้งแต่ระดับบุคคล ชุมชนและสังคม จึงทำให้องค์กรศาสนาได้รับการบริจาคจากภาคบุคคลมากที่สุด ในงานศึกษานี้จึงได้ตรวจสอบประสิทธิภาพการระดมทุนจากภาคบุคคลขององค์กรศาสนาในประเทศไทย ด้วยวิธีการแบบจำลองขอบเขตการผลิตเชิงสุ่ม (Stochastic Frontier Analysis) รูปแบบฟังชั่นการผลิตทรานสล็อค (Translog) ผลการศึกษาพบว่าค่าประสิทธิภาพการระดมทุนขององค์กรศาสนายังมีค่าค่อนข้างต่ำและผู้บริจาคยังคำนึงถึงคุณภาพของการบริการ, ภาพลักษณ์, ความน่าเชื่อถือแล ... -
ประสิทธิภาพการระดมทุนขององค์กรไม่แสวงหาผลกำไร กรณีองค์กรศาสนาในประเทศไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพสังคมอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะองค์กรศาสนาในประเทศไทยที่มีความสัมพันธ์กับคนไทยตั้งแต่ระดับบุคคล ชุมชนและสังคม จึงทำให้องค์กรศาสนาได้รับการบริจาคจากภาคบุคคลมากที่สุด ในงานศึกษานี้จึงได้ตรวจสอบประสิทธิภาพการระดมทุนจากภาคบุคคลขององค์กรศาสนาในประเทศไทย ด้วยวิธีการแบบจำลองขอบเขตการผลิตเชิงสุ่ม (Stochastic Frontier Analysis) รูปแบบฟังก์ชั่นการผลิตทรานสล็อค (Translog) ผลการศึกษาพบว่าค่าประสิทธิภาพการระดมทุนขององค์กรศาสนายังมีค่าค่อนข้างต่ำและผู้บริจาคยังคำนึงถึงคุณภาพของการบริการ, ภาพลักษณ์, ความน่าเชื่อถือ ... -
ประสิทธิภาพของกองทุนรวมในประชาคมเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018);
บทความนี้ศึกษาการวัดประสิทธิภาพของกองทุนรวมในประชาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฉบับนี้ได้นำใช้วิธีการวัดประสิทธิภาพกองทุนรวมจากวิธี Data Envelopment Analysis (DEA) แทนการวัดประสิทธิภาพแบบดั้งเดิม (Traditional Index) โดยนำสัดส่วนค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมต่อสินทรัพย์สุทธิมาพิจารณาการวัดประสิทธิภาพของกองทุนรวมด้วย ซึ่งจากผลการศึกษา แสดงให้เห็นว่า กองทุนรวมในประเทศสิงคโปร์เป็นกองทุนรวมที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยที่มีกองทุนรวมจากประเทศมาเลเซียและประเทศไทยมีระดับประสิทธิภาพที่รองลงมาสลับกันไปในแต่ละปี และเมื่อพิจารณาประเภทของกองทุนรวมในแต่ละประเทศ พบว่า ... -
ประสิทธิภาพของกองทุนรวมในประชาคมเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(สถาบันบัณพิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018);
บทความนี้ศึกษาการวัดประสิทธิภาพของกองทุนรวมในประชาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฉบับนี้ ได้นำใช้วิธีการวัดประสิทธิภาพกองทุนรวมจากวิธีData Envelopment Analysis (DEA) แทนการวัด ประสิทธิภาพแบบดั้งเดิม (Traditional Index) โดยนำสัดส่วนค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมต่อสินทรัพย์สุทธิ มาพิจารณาการวัดประสิทธิภาพของกองทุนรวมด้วย ซึ่งจากผลการศึกษา แสดงให้เห็นว่า กองทุนรวมใน ประเทศสิงคโปร์เป็นกองทุนรวมที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยที่มีกองทุนรวมจากประเทศมาเลเซียและ ประเทศไทยมีระดับประสิทธิภาพที่รองลงมาสลับกันไปในแต่ละปีและเมื่อพิจารณาประเภทของกองทุน รวมในแต่ละประเทศ ... -
ประสิทธิภาพของกองทุนรวมในประชาคมเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(สถาบันบัณพิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018);
บทความนี้ศึกษาการวัดประสิทธิภาพของกองทุนรวมในประชาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฉบับนี้ ได้นำใช้วิธีการวัดประสิทธิภาพกองทุนรวมจากวิธีData Envelopment Analysis (DEA) แทนการวัด ประสิทธิภาพแบบดั้งเดิม (Traditional Index) โดยนำสัดส่วนค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมต่อสินทรัพย์สุทธิ มาพิจารณาการวัดประสิทธิภาพของกองทุนรวมด้วย ซึ่งจากผลการศึกษา แสดงให้เห็นว่า กองทุนรวมใน ประเทศสิงคโปร์เป็นกองทุนรวมที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยที่มีกองทุนรวมจากประเทศมาเลเซียและ ประเทศไทยมีระดับประสิทธิภาพที่รองลงมาสลับกันไปในแต่ละปีและเมื่อพิจารณาประเภทของกองทุน รวมในแต่ละประเทศ พบว่า ... -
ประสิทธิภาพและปัจจัยความสำเร็จของตลาดอนุพันธ์ทางการเงินในเอเชีย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015); -
ผลกระทบของกองทุนหมู่บ้านต่อสวัสดิการของครัวเรือนชนบทในประเทศไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018);
งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาว่าปัจจัยใดที่กำหนดอุปสงค์สินเชื่อ และประมาณการผลกระทบของกองทุนหมู่บ้านต่อสวัสดิการของครัวเรือน ในด้านรายได้ ค่าใช้จ่าย และความมั่งคั่งของครัวเรือน โดยใช้แบบจำลอง Household Fixed-effect และใช้ข้อมูล Townsend Thai dataset ตั้งแต่ปี 2541 - 2556 ใน 4 พื้นที่ ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ลพบุรี บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ ผลการประมาณค่าปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์สินเชื่อทั้งหมด พบว่า จำนวนปีการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน ส่งผลต่ออุปสงค์สินเชื่อทั้งหมดในเชิงบวก อายุของหัวหน้าครัวเรือนทำให้อุปสงค์สินเชื่อทั้งหมดเพิ่มขึ้นแต่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง ... -
ผลกระทบของการจัดเก็บภาษีมลพิษทางน้ำต่อราคาสินค้าและสวัสดิการสังคม
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016); -
ผลกระทบของการส่งออก การลงทุนโดยตรงและการลงทุนทางอ้อมจากต่างประเทศต่อการกระจายรายได้ของภาคครัวเรือนไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014);
การส่งออก การลงทุนโดยตรงและการลงทุนทางอ้อมจากต่างประเทศถือว่า เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเพราะเป็นปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นภาคผลิตให้มีการขยายตัวทำให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น เป็นการสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือนเจ้าของปัจจัยการผลิตต่างๆในที่สุดดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเปรียบเทียบผลกระทบของการส่งออก การลงทุนทางตรงและการลงทุนทางอ้อมจากต่างประเทศต่อการกระจายรายได้ของประเทศไทย โดยผลการศึกษาที่ได้เป็นประโยชน์ต่อผู้กำหนดนโยบายในการจัดสรรงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำ กัดในการกระตุ้นการส่งออก การลงทุนทางตรงและการลงทุนทางอ ... -
ผลกระทบจากความผันผวนของการค้าและการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศกับอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2009);