มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเด็ก บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
Files
Publisher
Issued Date
2013
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
129 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b185195
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
พนิดา พูลสวัสดิ์ (2013). มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเด็ก บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3201.
Title
มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเด็ก บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
Alternative Title(s)
Legal protection of the child's personal information on the internet
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิเด็กกรณี
ข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิเด็ก พ.ศ. 2546
และศึกษาแนวทางการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของ
ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดารวมทั้งวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายและ
แนวทางเกี่ยวกับมาตรการในการคุ้มครองมูลส่วนบุคคลของเด็กบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
พระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิเด็ก พ.ศ. 2546 นี้มีบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิ เด็ก
ในด้านต่างๆ สอดคล้องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ซึ่งได้กาหนดให้รัฐมีหน้าที่ใน
การคุ้มครองสิทธิเด็กเพื่อให้เด็กได้มีชีวิตรอดและดารงชีวิตในสังคมได้อย่างปลอดภัยปราศจากการ
ปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม การละเมิดสิทธิเด็กและได้รับการพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา
แต่ในปัจจุบันปัญหาการละเมิดสิทธิเด็กจากบุคคลที่แสวงหาประโยชน์จากเด็ก ปัญหาเด็กถูกล่อลวงไป
ล่วงละเมิด ปัญหาการก่ออาชญากรรมขึ้นกับเด็กเป็นปัญหาที่ยังเกิดขึ้นในสังคมไทยโดยปัญหาต่างๆที่
เกิดขึ้นกับเด็กนั้นส่วนหนึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการเข้าถึงตัวเด็กซึ่ง
นับเป็นภยันตรายร้ายแรงสาหรับเด็กที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข
จากการศึกษาพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิเด็ก พ.ศ. 2546 ยังมีข้อจากัดเกี่ยวกับบทบัญญัติ
ของกฎหมายตามมาตรา 27 ในการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กซึ่งยังไม่ครอบคลุมถึง
ข้อมูลส่วนบุคคลบนอินเทอร์เน็ตทาให้เจ้าของเว็บไซต์หรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทาการจัดเก็บ
ประมวลผล นาไปใช้หรือเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กที่เข้าบริการอินเทอร์เน็ตโดยไม่ได้รับ
อนุญาตโดยกระทาในลักษณะที่อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อเด็กหรือเพื่อแสวงหาประโยชน์อันมิ
ชอบด้วยกฎหมาย โดยที่กฎหมายก็ไม่มีการกาหนดความรับผิดแก่ผู้กระทาการจัดเก็บประมวลผล
ข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไว้แต่โดยตรง อีกทั้งการใช้อานาจของพนักงาน
เจ้าหน้าที่ตามกฎหมายก็ยังไม่มีความชัดเจนไม่มีคณะกรรมการที่เข้ามาทาหน้าที่โดยตรงมีเพียง
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เท่านั้นที่รับผิดชอบการปฏิบัติตามกฎหมาย
มาตรการดังกล่าวจึงไม่มีความเหมาะสมที่จะนามาเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กบนเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต เมื่อกฎหมายมีมาตรการที่ไม่ครอบคลุมไม่มีความชัดเจนในการคุ้มครองสิทธิในข้อมูลส่วน
บุคคลของเด็กบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทาให้ข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กถูกจัดเก็บประมวลผล ถูก
นาไปใช้หรือเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นผลให้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับเด็กไม่ได้รับการแก้ไขและ
มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี ด้วยเหตุของการจัดเก็บประมวลผลดังกล่าว ผู้ศึกษาจึงเห็นควรจะปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ในส่วนหลักเกณฑ์และความรับผิดในมาตรา 27 เพื่อบังคับใช้ให้ครอบคลุมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กทั้งในส่วนข้อมูลทั่วไปและข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อให้เด็กได้รับความปลอดภัยและได้รับความคุ้มครองอย่างแท้จริง สุดท้ายเพื่อให้การนาบทบัญญัตินี้สามารถนำไป
ปรับใช้ให้เป็นไปในแนวทางและมาตรฐานเดียวกัน
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2556