ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญาในอาเซียน
Files
Publisher
Issued Date
2013
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
104 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b185196
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
พีรพงศ์ เกิดมงคล (2013). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญาในอาเซียน. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3203.
Title
ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญาในอาเซียน
Alternative Title(s)
The ligal problem regarding international cooperation for criminal issues in ASEAN
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
สำหรับการศึกษาวิทยานิพนธ์เรื่อง “ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่าง
ประเทศในเรื่องทางอาญาในอาเซียน” ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวความคิดทั่วไปที่เกี่ยวข้อง
กับความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญาในอาเซียน เพื่อศึกษารูปแบบและหลักเกณฑ์
เกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญาระหว่างประเทศกับประเทศในกลุ่มอาเซียนทั้ง
ในรูปแบบพหุภาคีและทวิภาคี เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบรูปแบบและหลักเกณฑ์ความร่วมมือระหว่าง
ประเทศดังกล่าวกับสหภาพยุโรป ตลอดจน เพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความร่วมมือ
ระหว่างประเทศ
จากการศึกษาพบสภาพปัญหา คือ
1) ปัญหาความร่วมมือด้านการส่งผู้ร้ายข้ามแดนในภูมิภาคอาเซียน
(1) ปัญหาเรื่องข้อยกเว้นในการส่งคนชาติข้ามแดน
(2) ปัญหาข้อกฎหมายในการส่งผู้ร้ายข้ามแดน
(ก) ปัญหาความผิดทางการเมือง
(ข) ปัญหาข้อกฎหมายเรื่องสถานะพิเศษบางประการของผู้กระทาความผิด
2) ปัญหาความร่วมมืออื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องทางอาญาในภูมิภาคอาเซียน
สาหรับแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
1) ข้อเสนอทางกฎหมาย
ในการทาความตกลงร่วมกันแบบพหุภาคีเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างประเทศทางอาญาใน
ภูมิภาคอาเซียน จะเห็นได้ว่าปัญหาการส่งผู้ร้ายข้ามแดนซึ่งเป็นปัญหาสาคัญ และยังเป็นเพียงการตก
ลงร่วมกันในรูปแบบทวิภาคี ซึ่งประเทศไทยจึงยังขาดการทาข้อตกลงในสนธิสัญญากับประเทศต่าง ๆ
ในภูมิภาคอาเซียนอีก 5 ประเทศ ดังนั้น จึงถือว่าข้อตกลงทวิภาคีเกี่ยวกับการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ยังไม่
ตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาได้อย่างพอเพียง จึงจาเป็นต้องมีการกาหนดกลไก และหลักเกณฑ์เพื่อ
เสริมประสิทธิภาพให้แก่กระบวนการส่งผู้ร้ายข้ามแดนของประเทศไทยกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน
นอกจากนี้ ในส่วนของสนธิสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญาของภูมิภาคอาเซียน
(Mutual Legal Assistance in Criminal Matters Treaty) ยังมีข้อจากัดด้านอธิปไตยทางกฎหมายของ
แต่ละประเทศความแตกต่างในด้านฐานความผิด วิธีพิจารณาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
เพื่อเป็นการแก้ไขสภาพปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยได้ดาเนินการวิเคราะห์แนวทางแก้ไขปัญหาการ
ส่งผู้ร้ายข้ามแดนและความร่วมมือซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญาของภูมิภาคอาเซียน โดยใช้กลไกล
เครื่องมือและกระบวนการหมายจับอาเซียน โดยเปรียบเทียบกับหมายจับยุโรป ซึ่งผลที่คาดว่าจะ
ได้รับจากการดาเนินการ นั่นคือ สามารถแก้ไขปัญหาการส่งผู้ร้ายข้ามแดนในปัจจุบันของประเทศไทยกับประเทศในประชาคมอาเซียน ซึ่งปัญหาที่พบในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนในประชาคมอาเซียน นั่นคือ
ไม่มีแนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนระหว่างประเทศในการดาเนินการขอส่งผู้ร้ายข้ามแดน เหตุ
เพราะสนธิสัญญาที่ดาเนินการกันระหว่างประเทศถือเป็นทวิภาคี ปัญหาจากความร่วมมือระหว่าง
เจ้าหน้าที่ของแต่ละประเทศแตกต่างกัน จึงทาให้การประสานงานแตกต่างกัน บางครั้งทาให้ไม่ได้รับ
ความร่วมมือเหตุเพราะมีข้อกังวลในเรื่องการกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การบังคับใช้
หมายจับอาเซียน สาหรับการบังคับใช้นั้น จากการศึกษาในส่วนของหมายจับสหภาพยุโรปจะใช้กับ
กรณีดังต่อไปนี้กรณีโทษจาคุกหรือคาสั่งให้กักขังเป็นเวลาอย่างน้อย 4 เดือนนั้นถึงที่สุด กรณีความผิด
ที่สามารถลงโทษจาคุกหรือมีคาสั่งกักขังได้เป็นเวลาสูงสุดอย่างน้อย 1 ปี และหากบุคคลนั้นสามารถ
ได้รับโทษในประเทศสมาชิกซึ่งเป็นผู้กาหนดโทษจาคุกอย่างน้อย 3 ปี ในความผิดการก่อการร้าย
การค้ามนุษย์ การคอร์รัปชั่น การมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรม การปลอมแปลงเงินตรา การ
ฆาตกรรม การเหยียดเชื้อชาติ การข่มขืน การค้ายานพหานะที่ถูกขโมย การฉ้อโกงซึ่งรวมถึงการ
กระทาที่มีผลกระทบต่อผลประโยชน์ด้านการเงินของสหภาพยุโรป อาจให้มีการส่งมอบตัวโดยไม่ต้อง
ตรวจสอบว่าเป็นการกระทาครั้งเดียวซึ่งไม่ต้องรับโทษสองครั้งหรือไม่ สาหรับการกระทาความผิด
อาญา นอกเหนือจากที่กล่าวแล้ว การส่งมอบตัวอาจอยู่ภายใต้เงื่อนไขว่า การส่งมอบตัวนั้นเป็นการทา
ผิดครั้งเดียวแต่ต้องรับโทษสองครั้งตามกฎหมายของประเทศสมาชิกผู้จะต้องส่งมอบตัวหรือไม่ ผู้
ศึกษาเห็นว่า ในหลักการเบื้องต้นของหมายจับอาเซียน ควรกาหนดโทษโดยเฉพาะร่วมกัน คือ การก่อ
การร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ หรือในคดีความผิดอาญาร้ายแรงที่มีโทษจาคุก 10 ปีขึ้นไป เนื่องจาก
หากร้องขอหมายจับอาเซียนในทุกกรณี ความศักดิ์สิทธิ์ทางกฎหมายของหมายจับอาเซียน จะไม่คงไว้
ซึ่งความน่าเชื่อถือ เพราะในปัจจุบัน หากมีกรณีความผิดและมีการหลบหนีเข้าประเทศเพื่อนบ้าน ทาง
หน่วยงานตารวจหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะมีการร้องขอในลักษณะของความช่วยเหลือ โดยไม่อยู่
ในลักษณะของกฎหมาย แต่เป็นการช่วยเหลือในลักษณะของเพื่อนบ้านกันอยู่แล้ว ดังนั้น หมายจับ
อาเซียน จึงควรกาหนดฐานความผิดในการบังคับใช้ร่วมกัน คือ คดีการก่อการร้าย คดีอาชญากรรม
ข้ามชาติ และคดีความผิดอาญาร้ายแรงที่มีโทษจาคุก 10 ปีขึ้นไป
2) ข้อเสนออื่น ๆ
สาหรับในส่วนของกระบวนการ ตามกฎเกณฑ์ทั่วไป หมายจับอาเซียน เมื่อเปรียบเทียบกับ
หมายจับสหภาพยุโรป จะมุ่งเน้นที่องค์กรผู้ใช้อานาจตุลาการผู้ออกหมายจับจะส่งหมายจับให้องค์กร
ผู้ใช้อานาจตุลาการที่จะต้องปฏิบัติตามหมายจับโดยตรง มีการจัดทาหลักเกณฑ์เพื่อความร่วมมือด้วย
สาหรับในนิติสัมพันธ์ของหมายจับอาเซียน จะต้องมีระบบข้อมูลที่เชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างองค์กรใน
ประชาคมอาเซียนอย่างเป็นรูปธรรมเสียก่อน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสหภาพยุโรปซึ่งมีระบบข้อมูล
Schengen และ Interpol หากองค์กรผู้ใช้อานาจตุลาการที่จะต้องปฏิบัติตามหมายจับไม่ทราบ
องค์กรผู้ใช้อานาจตุลาการผู้ออกหมายจับจะได้รับความช่วยเหลือจากเครือข่ายศาลยุโรป (European
judicial network) นั่นแสดงให้เห็นถึง หากในอนาคตมีศาลอาเซียน และขยายเครือข่ายอย่างเป็น
ระบบ โดยมีเทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของตารวจสากล Interpol และเพื่อให้แผนการ
ขับเคลื่อนใน 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและ
ครอบคลุมในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะความร่วมมือทางอาญา ดังนั้น จึงควรมีการศึกษาเกี่ยวกับการ
จัดตั้งองค์กรกลาง ได้แก่ ศาลอาเซียนโดยเปรียบเทียบกับศาลยุโรป รวมทั้งระบบเทคโนโลยี
สารสนเทศของตารวจอาเซียน ให้ทัดเทียมเทียมกับตารวจสากล Interpol เพื่อให้สอดรับกับหมายจับ
อาเซียนที่จะมีการดาเนินการต่อไป
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2556