• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

LoginRegister

แนวทางในการกระจายอำนาจแบบจังหวัดจัดการตนเอง : ศึกษากรณี "ธรรมนูญประชาชนฅนอำนาจเจริญ พ.ศ. 2555"

by ณัฐวรรณ อารัมภ์วิโรจน์

Title:

แนวทางในการกระจายอำนาจแบบจังหวัดจัดการตนเอง : ศึกษากรณี "ธรรมนูญประชาชนฅนอำนาจเจริญ พ.ศ. 2555"

Other title(s):

Decentralization in the form of self-governing province : A study on "The Amnatcharoen Statute B.E. 2555"

Author(s):

ณัฐวรรณ อารัมภ์วิโรจน์

Advisor:

บรรเจิด สิงคะเนติ

Degree name:

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะนิติศาสตร์

Degree grantor:

คณะนิติศาสตร์

Issued date:

2014

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อความคิดว่าด้วยการกระจายอำนาจและการมี ส่วนร่วมของประชาชน 2) ศึกษาเปรียบเทียบการปกครองส่วนท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมของประชาชนใน ต่างประเทศกับประเทศไทย 3) ศึกษาสาเหตุของการจัดทำธรรมนูญประชาชนฅนอำนาจเจริญ แนวคิด จังหวัดจัดการตนเองและวิเคราะห์สถานะทางกฎหมายของธรรมนูญประชาชนฅนอำนาจเจริญ 4) ศึกษา การปรับโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินและตรากฎหมายระดับพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการให้ อำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดการตนเอง ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ผลการศึกษาพบว่า อำนาจเจริญมีปัญหาพื้นฐานในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมมา ตั้งแต่อดีตจนถึงการจัดตั้งขึ้นเป็นจังหวัดมากว่า 21 ปี ยังไม่ได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้นกว่าเดิม ยังคงมี ปัญหาความยากจน การมีรายได้น้อยและผลตอบแทนจากการผลิตในพื้นที่ต่ำ รัฐบาลส่งเสริม เกษตรกรรมสมัยใหม่เพื่อการค้า ทำให้เกษตรกรต้องลงทุนในการเพาะปลูกสูง แต่สินค้าเกษตรมีความ ผันผวน ถูกเอาเปรียบจากผู้ประกอบการ ประสบปัญหาขาดทุน จนกลายเป็นหนี้สินเรื้อรังและ ประชาชนไม่มีความมั่นคงในการถือครองที่ดิน อีกทั้งระบบการศึกษาถูกกำหนดจากส่วนกลาง ทำให้ เด็กและเยาวชนขาดการเรียนรู้และสืบทอดภูมิปัญญาของชุมชนท้องถิ่น จังหวัดอำนาจเจริญจึงมี แนวคิดในการปฏิรูปสำนึกหรือวิธีคิดของประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจถึงรากเหง้าของปัญหาที่ แท้จริง และคิดหาแนวทางแก้ไขปัญหาได้โดยการพึ่งพาตนเอง จึงได้จัดทำธรรมนูญประชาชนฅน อำนาจเจริญขึ้นเพื่อเป็นกรอบและทิศทางการพัฒนาที่สะท้อนถึงความต้องการของประชาชน และ ขับเคลื่อนให้จังหวัดอำนาจเจริญเป็นเมืองธรรมเกษตร จึงทำให้เกิดแนวคิดจังหวัดจัดการตนเองขึ้น โดยแนวคิดนี้เป็นกระบวนการที่มีกฎหมายรองรับ คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550) หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 78 (3) "รัฐต้องกระจายอำนาจให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการของท้องถิ่นได้เอง... รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อม ให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น" และ ในหมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรา 281 ก็ได้กำหนดให้ "ท้องถิ่นที่มีลักษณะที่จะ ปกครองตนเองได้ ย่อมมีสิทธิจัดตั้งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายกำหนด" แต่ ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ ที่จะมีผลใช้บังคับให้ท้องถิ่นที่มีความพร้อมในการ ปกครองตนเอง จัดตั้งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ปกครองตนเองได้ตามหลักการกระจายอำนาจ อย่างแท้จริงตามที่รัฐธรรมนูญฯ บัญญัติไว้เลย ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้เขียนเห็นว่าแนวทางในการกระจายอำนาจแบบจังหวัดจัดการตนเองที่ เหมาะสมกับจังหวัดอำนาจเจริญคือ การเป็นจังหวัดจัดการตนเองโดยอาศัยร่างพระราชบัญญัติการ บริหารจังหวัดปกครองตนเอง และธรรมนูญประชาชนฅนอำนาจเจริญ มีสถานะเป็นกฎหมายลำดับ รองของร่างพระราชบัญญัติการบริหารจังหวัดปกครองตนเอง เพื่อให้ธรรมนูญฯ ซึ่งเกิดจากการที่ ประชาชนในจังหวัดอำนาจเจริญได้ตกลงร่วมกันและยอมสละสิทธิและเสรีภาพของตนเพื่อปฏิบัติตาม กติกาที่ประชาชนได้ตกลงร่วมกันไว้ ให้มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายและเกิดการนำไปใช้ปฏิบัติอย่างเป็น รูปธรรม ตรงตามความต้องการของประชาชนฅนอำนาจเจริญอย่างแท้จริง ผู้เขียนจึงเสนอให้มีการ ตราร่างพระราชบัญญัติการบริหารจังหวัดปกครองตนเองฯ เพื่อให้รัฐธรรมนูญฯ มาตรา 281 มีผลใช้ บังคับ และการกระจายอำนาจให้จังหวัดจัดการตนเองเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะสามารถแก้ไขปัญหาที่ เกิดขึ้นในท้องถิ่นได้อย่างรวดเร็ว เบ็ดเสร็จและมีความยั่งยืน ตรงกับความต้องการของประชาชน มี งบประมาณเพียงพอ ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมและประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหาร จัดการ เมื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีขนาดใหญ่ขึ้น รัฐส่วนกลางก็สามารถกระจายอำนาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้มากขึ้น จึงทำให้รัฐส่วนกลางมีภารกิจลดน้อยลง และสามารถ ดำเนินการพัฒนาประเทศให้ทัดเทียมกับนานาชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Description:

วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์,2557.

Subject(s):

การปกครองท้องถิ่น--การมีส่วนร่วมของประชาชน

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

197 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Rights holder(s):

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3206
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
b185262.pdf ( 2,123.00 KB )

This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Theses [99]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

‹›×