การสร้างเครือข่ายและการจัดการเครือข่ายในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาของชุมชนบ้านพบธรรมนำสุข อำเภอทุ่งเสลี่่ยม จังหวัดสุโขทัย
by พระดาวเหนือ บุตรสีทา
ชื่อเรื่อง: | การสร้างเครือข่ายและการจัดการเครือข่ายในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาของชุมชนบ้านพบธรรมนำสุข อำเภอทุ่งเสลี่่ยม จังหวัดสุโขทัย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Forming and managing a network of a Buddhist community in Banpobthamnamsuk community, Thungsalieng District, Sukhothai |
ผู้แต่ง: | พระดาวเหนือ บุตรสีทา |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | สุพรรณี ไชยอำพร |
ชื่อปริญญา: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Master's |
สาขาวิชา: | การบริหารการพัฒนาสังคม |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบเครือข่ายทางสังคมในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ของชุมชนบ้านพบธรรมนำสุข 2) ศึกษาขั้นตอนในการสร้างเครือข่ายทางสังคมในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ของชุมชนบ้านพบธรรมนำสุข 3) ศึกษาการจัดการเครือข่ายทางสังคมในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของชุมชนบ้านพบธรรมนำสุข 4) ศึกษาปัญหาอุปสรรค และ ข้อเสนอแนะในจัดการเครือข่ายเผยแผ่พระพุทธศาสนา ของชุมชนบ้านพบธรรมนำสุข เป็นการศึกษาเฉพาะกรณี โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก ใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ 15 ราย ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบเครือข่ายของชุมชนบ้านพบธรรมนำสุข มี 2 รูปแบบ คือ 1) เครือข่ายระดับชุมชน/เครือข่ายเชิงพื้นที่ และเครือข่ายระดับบุคคล โดยมีการรวมกลุ่มกัน ของบุคคล กลุ่มบุคคลที่มีความสนใจมาทำกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง มีเป้าหมายเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาร่วมกัน และเสริมสร้างความรัก ความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชุมชน สำหรับขั้นตอนการสร้าง/ก่อรูปเครือข่ายนั้น 5 ขั้นตอน ดังนี้1) ตระหนักถึงปัญหาและสำนึกการรวมตัวเป็นเครือข่าย 2) มีปฏิสัมพันธ์อันดีต่อกัน 3) สร้างความไว้วางใจ 4) การแสวงหาแกนนำที่ดี 5) การสร้างแนวร่วมสมาชิกเครือข่าย แนวทางการจัดการเครือข่ายมีการจัดการใน 2 ขั้นตอน คือ ขั้นที่1) การสร้างความเป็นองค์การเครือข่ายและการทำให้เกิดความมั่น คง ประกอบด้วย (1) จัดบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในเครือข่าย (2) สร้างความรู้สึกร่วมในการทำงานร่วมกัน (3) จัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน (4) จัดระบบข้อมูลข่าวสารในการติดต่อข่าวสารและ ขั้นที่ 2) การรักษาความต่อเนื่องของการเป็นองค์การเครือข่าย ประกอบด้วย (1) มีการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง (2) สร้างความเสมอภาคและเท่าเทียม (3) รักษาสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกัน (4) การให้ความช่วยเหลือกันระหว่างเพื่อนสมาชิก ปัญหาและอุปสรรคสำคัญในการจัดการเครือข่าย ประกอบด้วย การขาดแคลนบุคลากรในการทำงาน สิ่งปลูกสร้างที่ใช้ในการฝึกอบรมไม่มีความมั่นคง งบประมาณในการสนับสนุนไม่เพียงพอ ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นของหน่วยงานภาครัฐ และน้ำท่วมสถานที่ทำกิจกรรม |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557. |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | กลุ่มสังคม
เครือข่ายสังคม -- ไทย -- สุโขทัย -- ทุ่งเสลี่ยม พุทธศาสนา -- ไทย -- สุโขทัย -- ทุ่งเสลี่ยม |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ความยาว: | 181 แผ่น |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
ผู้ครอบครองสิทธิ์: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3223 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู b185648.pdf ( 4,054.13 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
|