บทบาทของประชาสังคมในการร่วมผลักดันมาตรการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรยาโดยรัฐ
Publisher
Issued Date
2012
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
145 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
a185731
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ยศกร วรรณวิจิตร (2012). บทบาทของประชาสังคมในการร่วมผลักดันมาตรการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรยาโดยรัฐ. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3269.
Title
บทบาทของประชาสังคมในการร่วมผลักดันมาตรการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรยาโดยรัฐ
Alternative Title(s)
Role of civil society in the advocacy of government use of compulsory licensing of Pharmaceutical Patent
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาในครังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของประชาสงคมในการร่วมผลักดันมาตรการใช้สิทธิโดยรัฐต่อยาที่มีสิทธิบัตรใน 3 ขั้นได้แก่ขั้นกำหนดปัญหาและวาระนโยบาย (Problem Identification and Agenda Setting) ขั้นก่อรูปนโยบาย (Policy Formulation) และขั้นนกําหนดนโยบาย (Policy Adoption) ช่วงเวลาในการศึกษาเริ่มตั้งแต่การเริ่มต้นเรียกร้องให้มีการ ประกาศใช้นโยบายการใช้สิทธิโดยรัฐต่อยาที่มีสิทธิบัตรนําโดยภาคประชาสังคมในปีพ.ศ. 2542 จนถึง เดือนมกราคม พ.ศ. 2550 ที่มีการประกาศใช้นโยบายการศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาวิเคราะห์ (Analytical Description) ผ่านแหล่งข้อมูล 3 ประเภท คือเอกสารชั้นปฐมภูมิเอกสารชั้นทุติยภูมิและข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จากการศึกษาพบว่า การรวมตัวกันของภาคประชาสังคม เป็นการรวมกลุ่มแบบไม่เป็น ทางการ มีความสัมพันธ์แบบหลวม ไม่มีสายบังคับบัญชาที่ชัดเจน ทุกคนคือเพื่อนกันมีอุดมการณ ์ ร่วมกันเข้ามาทํางานเพื่อจุดหมายเดียวกันคือการเข้าถึงยาของผู้ติดเชื้อเอชไอวี โดยภาคประชาสังคมมีบทบาทสําคัญในขั้นกำหนดปัญหาและวาระนโยบาย เป็นผู้ชี้ให้รัฐเห็นถึงปัญหายาราคา แพง และการเข้าไม่ถึงยาของผู้ป่วย ในขั้นกำหนดปัญหาและวาระนโยบายนี้กิจกรรมการ เคลื่อนไหวหลักของเครือข่ายภาคประชาสงคมคือการยื่นหนังสือและเข้าพบผู้มีอํานาจในการ ตัดสินใจเชิงนโยบาย การพึ่งศาลยุติธรรม การจัดชุมนุมประท้วงบริษัทยา และการสื่อสารกับ สาธารณะให้ตระหนักถึงปัญหา ในขั้นของการก่อรูปและพัฒนานโยบายจะพบว่ารัฐ โดยกระทรวงสาธารณสุขจะเป็น แกนกลางในการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการบงคับใช้สิทธิแต่ก็ยงเปิดโอกาสให้ภาคประชา สงคมเข้าไปมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาข้อเสนอนโยบาย และหาทางแก้ปัญหาร่วมกัน แนวทางแรกที่ กระทรวงสาธารณสุขใช้แก้ปัญหา คือการเจรจาเพื่อขอลดราคากับบริษัทยา ในขันกำหนดนโยบาย เป็นอํานาจของฝ่ายบริหารในการพิจารณาตัดสินใจ สิ่งที่ภาค ประชาสงคมทำได้คือการโน้มน้าวฝ่ายบริหารด้วยข้อมูลทางวิชาการให้เห็นด้วยกับข้อเรียกร้อง ของตน กล่าวโดยสรุป การบังคับใช้สิทธิต่อยาที่มีสิทธิบัตร มีบุคคลที่เกี่ยวข้องจาก 3 ภาคส่วน คือ ภาคประชาสังคม นักวิชาการจากมหาวิทยาลัย และผู้มีอํานาจจากภาครัฐ โดยภาคประชาสังคม ขับเคลื่อนรณรงค์โดยอาศัยฐานความรู้ที่เกิดจากการศึกษาวิจัยของนักวิชาการด้านเภสัชศาสตร์ และความรู้ด้านกฎหมายจากนักวิชาการด้านกฎหมาย นอกจากนั้นบุคลากรในกระทรวง สาธารณสุข ทั้งฝ่ายข้าราชการ และฝ่ายการเมือง คือกลไกสําคัญในการผลักดัน ให้มีการบังคับใช้ สิทธิการขับเคลื่อนพร้อมกันของทั้ง 3 ภาคส่วน จึงน่าจะเป็นกลไกสําคัญที่ทําให้ปัญหายาราคา แพง ได้รับการแก้ไขในรูปแบบของการบังคัชบใช้สิทธิ์โดยรัฐในที่สุด
ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาครังนี้ได้แก่ 1) รัฐควรส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มเป็น เครือข่ายระหว่างประชาชน เพื่อเป็นอีกกลไกหนึ่งที่จะเข้ามาร่วมมือกับรัฐและภาคส่วนอื่นในการ กําหนดนโยบายสาธารณะ 2) รัฐควรสนับสนุนงบประมาณเพื่อสร้างขุมนโยบายที่เป็นอิสระ (think tank) ที่ปลอดจากอํานาจทุน มีอิสระในการดําเนินงาน ปราศจากการแทรกแซงจากภาครัฐ 3) รัฐ ควรสนับสนุนให้มีการพัฒนาและวิจัยผลิตภัณฑ์ยาภายในประเทศ เพื่อลดการนําเข้า และการ บังคับใช้สิทธินอกจากนั้นควรมีการจัดตั้งหน่วยงานกลางในการควบคมราคายา เพื่อให้เกิดความ เป็นธรรมในสังคม 4) เมื่อประชาชนเสนอร่างพระราชบัญญัติต่อประธานรัฐสภาแล้ว ควรระบุวิธี ปฏิบัติและกรอบเวลาในการดําเนินการ เพื่อให้ร่างพระราชบัญญัติจากภาคประชาชนเข้าสู่การพิจารณาของฝ่ายนิติบัญญัติ 5) รัฐควรจดให้มีเวทีสาธารณะที่เปิดโอกาสให้ประชาชน เอ็นจีโอ นักวิชาการและตัวแทนภาครัฐพบปะกันเพื่ออภิปรายปัญหาสังคม สรุปแนวทางแก้ปัญหาเพื่อ เสนอต่อรัฐบาลในลําดับต่อไป
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2555