• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การแสดงออกถึงความเป็นพลเมืองของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

by ฐาลินี สังฆจันทร์

Title:

การแสดงออกถึงความเป็นพลเมืองของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Other title(s):

The expression of citizenship of people in local government

Author(s):

ฐาลินี สังฆจันทร์

Advisor:

อัชกรณ์ วงศ์ปรีดี

Degree name:

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2014

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

หัวใจสำคัญของการกระจายอำนาจคือ การสร้างประชาธิปไตยท้องถิ่น การบรรลุจุดมุ่งหมายของแนวคิดการกระจายอำนาจคือ การเปลี่ยนจากราษฎรเป็นพลเมือง หรือประชาชนผู้คอยแต่รับบริการจากภาครัฐมาเป็ นผู้ขับเคลื่อนกระบวนการเอง การศึกษาวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทาการศึกษาสภาพการแสดงออกถึงความเป็นพลเมืองของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วไป และศึกษาอิทธิพลของปัจจัยที่เกื้อหนุนหรือเป็นอุปสรรคต่อการแสดงออกความเป็นพลเมือง การศึกษาครั้งนี้เป็ นการวิจัยเชิงผสมระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ (Mixed Method) ด้วยการดำเนินการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเป็นอันดับแรกเพื่อศึกษาสภาพพื้นที่จริงอันนำมาสู่การออกแบบและลงรายละเอียดของข้อมูลในแบบสอบถามในการวิจัยเชิงปริมาณ ให้มีความเหมาะสมและสะท้อนข้อมูลภาพรวมจากสภาพพื้นที่จริงได้ ผลการศึกษาพบว่า ความเป็นพลเมืองของประชาชนในทั้งสองพื้นที่มีความแตกต่างกันโดยในการแสดงออกถึงความเป็นพลเมืองทางการเมือง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งได้รับรางวัลให้ความสำคัญกับสิทธิพลเมืองในการแสดงความคิดเห็นและสิทธิในการนับถือศาสนาขณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วไปให้ความสำคัญกับสิทธิในการอยู่อาศัยและสิทธิในการได้รับการศึกษา นอกจากนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งได้รับรางวัลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วไปให้ความสำคัญกับหน้าที่พลเมืองในด้านการปกป้องประเทศชาติ การเลือกตั้ง การติดตามข่าวสารบ้านเมือง โดยหน้าที่ในการเสียภาษีมีความสำคัญเป็นอันดับสุดท้ายในทั้งสองพื้นที่ การวิจัย ในด้านการรักษาสิทธิของผู้อื่นเพื่อการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลมีค่าเฉลี่ยการอนุญาตให้ผู้อื่นแสดงความคิดเห็นในเรื่องการเมืองมากกว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วไป ทั้งนี้ การแสดงออกถึงความอดทนเมื่อมีความเห็นทางการเมืองที่แตกต่างของทั้งสองพื้นที่การวิจัยคือ การแสดงออกโดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแสดงออกโดยอาการเฉยๆ และการแสดงออกโดยการพูดคุยชักจูงให้เห็นด้วยกับตนในการแสดงออกถึงความเป็นพลเมืองทางการบริหาร พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลมีความคาดหวัง การตระหนักถึงปัญหา แนวทางปฏิบัติในการแก้ไขปัญหา ด้วยความกระตือรือร้น อันเป็นผลจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานรัฐกับประชาชน โดยผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลพยายามสร้างและกระตุ้นให้ประชาชนได้เรียนรู้ในการแก้ไขและพัฒนาพื้นที่ด้วยตนเองผ่านระบบการมีส่วนร่วมแบบงบประมาณภายใต้การทาความเข้าใจระหว่างกันว่า ผู้บริหารมีช่วงเวลาที่จา กัด การพัฒนาหรือผลของการพัฒนาจำเป็นต้องดำเนินต่อเนื่องด้วยการขับเคลื่อนของภาคประชาชน ขณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วไปมองว่าประชาชนยังคงเป็ นเพียงผู้รับบริการเท่านั้น นอกจากนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลยังให้ความสำคัญกับตนเองในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาชุมชนมากกว่าคณะผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานรัฐ แตกต่างจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วไปที่ให้ความสำคัญกับคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานรัฐในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาชุมชนมากที่สุด ซึ่งผลการวิจัยยังพบอีกว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วไปมีความยึดติดในตัวผู้นำมากกว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลอีกด้วย การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะว่า การมีส่วนร่วมในงบประมาณ เป็นกระบวนการบริหารสำคัญที่ช่วยส่งเสริมและกระตุ้นให้ประชาชนแสดงออกถึงความเป็นพลเมืองได้เป็นอย่างดีในทางพฤติกรรมของหน่วยงานรัฐไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร หรือข้าราชการ และพฤติกรรมของประชาชนล้วนเป็นตัวกำหนดการแสดงบทบาทอย่างใดอย่างหนึ่งของสถานะความสัมพันธ์ที่มีระหว่างกันฉะนั้น เพื่อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานรัฐและภาคประชาชนที่ส่งเสริมความเป็ นพลเมือง หน่วยงานรัฐควรเริ่มปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์และมุมมองของผู้บริหารที่มีต่อประชาชนในพื้นที่ให้อยู่ในฐานะของเจ้าของทรัพยากร ตลอดจนในฐานะผู้มีบทบาทในการขับเคลื่อนการบริการสาธารณะ ขณะเดียวกัน ในด้านของประชาชนจา ต้องมองเห็นความสา คัญของตนเองมากยิ่งขึ้น ไม่ยึดติดในตัวของผู้นำหรือนักการเมือง ประชาชนผู้มีความเป็นพลเมืองต้องมีความมั่นใจในศักยภาพในการปกครองที่ตนเอง ทั้งยังมีความสามารถในการกำหนดระบบหรือเงื่อนไขในการปกครองตลอดจนการขับเคลื่อนระบบหรือเงื่อนไขดังกล่าวด้วยตนเองได้

Description:

วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557

Subject(s):

พลเมือง

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

156 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3304
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • ba185732.pdf ( 3,203.75 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [297]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×