• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

LoginRegister

สถานะทางกฎหมายของทรัพย์สินแผ่นดินของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

by ภัทร ไวยรัชพานิช

Title:

สถานะทางกฎหมายของทรัพย์สินแผ่นดินของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

Other title(s):

The legal status of the state property in procession of the autonomous university

Author(s):

ภัทร ไวยรัชพานิช

Advisor:

สุนทร มณีสวัสดิ์

Degree name:

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะนิติศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2014

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาสถานะทางกฎหมายของทรัพย์สินแผ่นดินของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดยศึกษาถึงแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสถานะทางกฎหมายของทรัพย์สินแผ่นดินของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ รวมไปถึงการจัดการทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยที่อยู่ในสังกัดของรัฐและมหาวิทยาลัยที่อยู่ในกำกับของรัฐ ทั้งนี้ เพื่อวิเคราะห์สถานะทางกฎหมายของทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ รวมถึงการจัดการทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยและคุ้มครองทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย ตลอดถึงเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่แล้วและกฎหมายที่จะบัญญัติขึ้นใหม่
การเปลี่ยนแปลงมหาวิทยาลัยซึ่งอยู่ในส่วนราชการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐนั้น ทำให้มหาวิทยาลัยมีความเป็นอิสระและความคล่องตัวในการบริหารมหาวิทยาลัยมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านของการจัดการทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมีอำนาจในการปกครองดูแลบำรุงรักษา ใช้ และจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน ทั้งในส่วนที่เป็นที่ราชพัสดุและในส่วนที่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัย โดยรายได้จากการใช้ที่ราชพัสดุดังกล่าวให้ถือเป็นรายได้ของมหาวิทยาลัยนอกจากนี้ ทรัพย์สินที่มหาวิทยาลัยได้มา หรือมีผู้ยกให้ หรือได้มาโดยการซื้อจากเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย ให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัย โดยมหาวิทยาลัยมีอำนาจในการใช้ ดูแล จำหน่ายแลกเปลี่ยน เพื่อประโยชน์ในทาการศึกษาได้
อย่างไรก็ตาม สถานะทางทรัพย์สินในส่วนที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐจะมีสถานะเช่นใด และมีขอบเขตมากน้อยเพียงใดในการจัดการและคุ้มครองทรัพย์สินดังกล่าวจากการศึกษา ผู้ศึกษาเห็นว่า ทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยทั้งในส่วนที่เป็นที่ราชพัสดุและในส่วนที่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัย มีสถานะทางทรัพย์สิน ทั้งที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินและทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดา โดยพิจารณาจากาการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินดังกล่าว และใช้ในขอบวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนั้นๆ ทั้งนี้ ยังพบว่า การจัดการทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยทั้งในส่วนที่เป็นที่เป็นที่ราชพัสดุและในส่วนที่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมีอำนาจในการจัดการทรัพย์สินตามที่พระราชบัญญัติของมหาวิทยาลัยนั้นๆ กำหนดไว้สำหรับการคุ้มครองทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวกับเรื่องอายุความ และการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย ทั้งในส่วนที่เป็นที่ราชพัสดุ และในส่วนที่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัย ทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยที่เป็นที่ราชพัสดุ ในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเอกชนย่อมไม่สามารถที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้กับมหาวิทยาลัย หรือบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยได้ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1306 และมาตรา 1307 แต่ในกรณีทรัพย์สินในส่วนที่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยย่อมได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนั้นๆ กำหนดไว้ โดยไม่ต้องพิจารณาว่าทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยจะได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชน์หรือไม่ เนื่องจากมีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะ
สำหรับทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยในส่วนที่มีสถานะเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดาพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้กำหนดห้ามมิให้เอกชนยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับมหาวิทยาลัยเฉพาะแต่ในกรณีที่มหาวิทยาลัยได้จัดการใช้ทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามขอบวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนั้นๆโดยสรุป ผู้ศึกษาเห็นว่า ควรแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยต่างๆ โดยระบุคำนิยามให้ชัดเจนทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับสถานะทางทรัพย์สิน วิธีการจัดการ รวมถึงการคุ้มครองทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจจะต้องตีความในอนาคตในกรณีที่มีข้อพิพาทในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย โดยปราศจากข้อสงสัย หรือข้อกังขา และสุดท้ายเพื่อให้การนำบทบัญญัตินี้สามารถนำไปปรับใช้ให้เป็นไปในแนวทางและมาตรฐานเดียวกัน

Description:

วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557

Subject(s):

มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ -- การเงิน

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

143 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Access rights:

สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเอกสารฉบับเต็ม เฉพาะ นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เท่านั้น

Rights holder(s):

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3314
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
ba185902.pdf ( 1,057.21 KB )

This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Theses [105]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

‹›×