Show simple item record

dc.contributor.advisorสุรสิทธิ์ วชิรขจรth
dc.contributor.authorพิศอำไพ สมความคิดth
dc.date.accessioned2017-02-15T04:53:57Z
dc.date.available2017-02-15T04:53:57Z
dc.date.issued2015th
dc.identifier.otherba185739th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3320th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558th
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับจิตสํานึกของประชาชน ในการป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชัน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับจิตสํานึกของ ประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชัน และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สามารถทํานายระดับจิตสํานึกของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชัน กลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชาชนที่อาสาสมัครเข้ามามีส่วนร่วมในการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันทั่วประเทศ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างจํานวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้ง นี้ คือแบบสอบถาม ( Questionnaire) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา เพื่อใช้ในการ วิเคราะห์ลักษณะเบื้องต้นของกลุ่มตัวอย่าง และสถิติอนุมาน เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร อิสระและตัวแปรตาม โดยวิเคราะห์สัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ( Pearson’s Productmoment Correlation)และสถิติการวิเคราะห์ควาความถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) เพื่อทดสอบความสามารถในการทํานายของตัวแปรอิสระที่มีต่อตัวแปรตาม ผล การศึกษา สรุปได้ดังนี้ จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยภายในตัวบุคคลที่ผลักดันให้เกิดจิตสํานึกในการป้องกันและ ปราบปรามคอร์รัปชันอยู่ในระดับมาก(ค่าเฉลี่ย4.22) ด้านอุดมการณ์โดยรวมของกลุ่มตัวอย่างอยู่ ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.38)ด้านความต้องการแก้ไขปัญหาสังคมอยู่ในระดับ มาก (ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.38) ด้านความเชื่ออํานาจภายในตนอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3. 73) ด้านเหตุผลเชิง จริยธรรมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4. 43) ปัจจัยภายนอกตัวบุคคลที่ผลักดันให้เกิดจิตสํานึก ในการป้องกันและปราบปรามคอร์รัปชันอยู่ในระดับมาก(ค่าเฉลี่ย4.20) ด้านการอบรมเลี้ยงดูอยู่ใน ระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.22)ด้านสถานการณ์ทางสังคมอยู่ในระดับ มาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.24) ด้านแบบอย่างจากบุคคลอื่นอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4 .25)และด้านการขัดเกลาทางสังคม อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.11) ปัจจัยระดับจิตสํานึกในการป้องกันและปราบปรามการ คอร์รัปชัน ระดับจิตสํานึกพึ่งตนเองอยู่ในระดับมาก(ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47) ระดับจิตสํานึกสาธารณะ อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4. 73) ระดับจิตสํานึกอาสาสมัครอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57) ระดับจิตสํานึกวีรชนอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.14) ระดับจิตโพธิสัตว์โดยรวมกลุ่ม ตัวอย่างเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61) ผลการศึกษายังพบอีกว่า ปัจจัยภายใน ได้แก่ อุดมการณ์ ความเชื่อใน อํานาจตน สามารถ ร่วมกันทํานาย จิตสํานึกของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชัน มีค่า สัมประสิทธิ์ของการตัดสินใจ ( R Square: R2 ) เท่ากับ 0.163 และปัจจัยภายนอก ได้แก่ แบบอย่าง จากบุคคลอื่น การขัดเกลาทางสังคม สถานการณ์ทางสังคม สามารถร่วมกันทํานาย จิตสํานึกของ ประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการคอรืรัปชัน มีค่าสัมประสิทธิ์ของการตัดสินใจ ( R Square: R2 ) เท่ากับ 0.268 สรุปได้ว่า ปัจจัยภายใน และกับปัจจัยภายนอก สามารถทํานาย จิตสํานึก ของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชันได้มากกว่าตัวแปรกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งตาม ลําพัง ข้อเสนอแนะเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการเสริมสร้างจิตสำนึกของประชาชนในการป้องกัน และปราบปรามการคอร์รัปชัน และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีจิตสำนึกในการป้องกันและ ปราบปรามการคอร์รัปชัน ดังนี้ 1) สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และสถาบันศาสนา เป็น สถาบันที่สำคัญ ในการทำหน้าที่อย่างจริงจังเพื่อ ถ่ายทอดวัฒนธรรมที่ดีงาม และถ่ายทอดความรู้ ที่ จำเป็นให้แก่เด็ก เยาวชน กล่อมเกลา ปลูกฝัง และสร้างจิตสำนึกที่ดีงาม ในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต ด้วยการขัดเก ลามาตั้งแต่ระดับเยาว์วัย 2 ) องค์กรทางสังคม ได้แก่ สถาบันปกครอง สถาบันทาง สื่อมวลชน ทำหน้าที่ร่วมกัน ส่งเสริม สนับสนุน และกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความรู้ ความเข้าใจ และกระตุ้นให้แสดงพฤติกรรม ที่เป็นรูปธรรม ในการป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชัน 3) ประชาชน เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่ม หรือรวม กลุ่มกันเป็นองค์กร แสดงพลัง ในการป้องกันและ ปราบปรามการคอร์รัปชัน 4) การผลิตซ้ำจิตสำนึกในการป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชัน ที่ เกิดขึ้นมาแล้วซ้ำอยู่เสมอ เพื่อ ป้องกันการเลือนหายหรือเปลี่ยนแปลง ทั้งยังเป็นการสร้างเสริม จิตสำนึกที่คงทน ยั่งยืน This research had 3 main objectives: 1) to examine people’s conscience in the prevention and suppression of corruption, 2) to identify the factors that more related to people’s conscience in the prevention and suppression of corruption, and 3) to find out the factors that could predict the level of people’s conscience in the prevention and suppression of corruption. The sampling group for this study consisted of 400 people from all over the country, who volunteered to be part of corruption prevention and suppression. They were selected by the stratified random sampling method. A questionnaire was used as the research instrument to collect the data. Descriptive statistics were used to analyze the data and inferential statistics to find out the relationship between independent and dependent variable – i.e., Pearson’s Correlation and Multiple Regression Analysis. The results of the research could be summarized as follow. It was found that individuals’ internal factors motivated their conscience in the prevention and suppression of corruption were at a high level ( X = 4.22). When each aspect was taken into consideration, it was found that ethical reasons motivated their conscience in the prevention and suppression of corruption most (X = 4.38), followed by individuals’ ideology (X = 4.38X) and desire to solve social problems (X = 4.38), and belief in their internal power (X = 3.73), respectively. Overall, individuals’ external factors motivated their conscience in the prevention and suppression of corruption at a high level (X = 4.20). When each aspect was taken into consideration, it was found that role model of others motivated their conscience most (X = 4.25), followed by social conditions (X= 4.24), their bringing-up (X = 4.22), and social refinement (X = 4.11), respectively. The conscience in the prevention and suppression of corruption was found to be high. When the level of conscience in each aspect was considered, the highest mean score belonged to public conscience (X = 4.73), followed by universal conscience (X = 4.61), voluntary conscience (X = 4.57), self-dependent conscience (X = 4.47), and heroic conscience (X = 4.14), respectively. It was also found that the internal factors, i.e., ideology and belief in the internal power could together predict the people's conscience in the prevention and suppression of corruption correctly (R2 = 0.163). The external factors, i.e., role model of others, social refinement, and social conditions, could together predict the people's conscience in the prevention and suppression of corruption correctly (R2 = 0.268). In fact, the afore-mentioned internal and external factors together could predict their conscience better than either internal or external factors alone. Recommendations for building public conscience in the prevention and suppression of corruption and for developing the human resource to have such conscience were as follows: 1. The family, academic institutions, and the religion should play an important role in transferring the culture and essential knowledge to children and the youth. They should discipline them and instill in them the conscience of integrity and honesty since their childhood. 2. Social organizations, i.e., administrative organizations and mass media should promote, support and encourage people to gain knowledge and understanding of corruption as well as motivate them to act against it seriously in order to prevent and suppress corruption. 3. People should form groups and each group should have an equal status. Or they may become part of people's organizations and show their united power in preventing and suppressing corruption. 4. People’s conscience in the prevention and suppression of corruption should be regularly boosted to prevent it from vanishing or changing. In other words, the conscience should be made lasting.th
dc.description.provenanceSubmitted by นักศึกษาฝึกงานมหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร_2560 (บุษกร แก้วพิทักษ์คุณ) (budsak.a@nida.ac.th) on 2017-02-15T04:53:57Z No. of bitstreams: 1 ba185739.pdf: 1205511 bytes, checksum: 485d19fcd1c2626390e1f4ef320628a8 (MD5)th
dc.description.provenanceMade available in DSpace on 2017-02-15T04:53:57Z (GMT). No. of bitstreams: 1 ba185739.pdf: 1205511 bytes, checksum: 485d19fcd1c2626390e1f4ef320628a8 (MD5)th
dc.format.extent196 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherการทุจริตและประพฤติมิชอบ.th
dc.subject.otherการสร้างจิตสำนึก.th
dc.titleจิตสํานึกของประชาชนในการปองกันและปราบปรามการคอรรัปชัน กรณีศึกษา ประชาชนที่อาสาสมัครเขามามีสวนรวม ในการปองกันและปราบปรามการคอรรัปชันth
dc.title.alternativePeople's conscience in the prevention and suppression of corruption : a case study of corruption prevention and suppression volunteersth
dc.typeTextth
mods.genreวิทยานิพนธ์th
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตth
thesis.degree.levelMaster'sth
thesis.degree.disciplineการบริหารการพัฒนาสังคมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record