การตอบสนองของผู้บริโภคที่มีต่อการตลาดแบบไวรัล เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ส เจเนอเรชั่นเอ็กซ์ และเจเนอเรชั่นวาย
by พรจันทร์ วงค์คุ้มสิน
Title: | การตอบสนองของผู้บริโภคที่มีต่อการตลาดแบบไวรัล เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ส เจเนอเรชั่นเอ็กซ์ และเจเนอเรชั่นวาย |
Other title(s): | Consumer responses towards viral marketing : a study of comparing baby boomer, generation x and generation y |
Author(s): | พรจันทร์ วงค์คุ้มสิน |
Advisor: | บุหงา ชัยสุวรรณ |
Degree name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม |
Degree department: | คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2014 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาการตอบสนองของผู้บริโภคที่มีต่อการตลาดแบบไวรัส (Viral Marketing) โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาดังต่อไปนี้ 1. เพื่อศึกษาการเปิ ดรับสื่อ Viral Marketing ของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ส เจเนอเรชั่นเอ็กซ์ และเจเนอเรชั่นวาย 2. เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ส เจเนอเรชั่นเอ็กซ์ และเจเนอเรชั่นวายที่มีต่อ Viral Marketing 3. เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ส เจเนอเรชั่นเอ็กซ์ และเจเนอเรชั่นวายที่มีต่อ Viral Marketing 4. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิ ดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ส เจเนอเรชั่นเอ็กซ์ และเจเนอเรชั่นวาย โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้วิธีการวิจัยเชิงสารวจ (Survey Research) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) เป็ นเครื่ องมือการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งคือประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีช่วงอายุ ระหว่าง 16 – 49 ปี ขึ้นไป แบ่งกลุ่มตามทฤษฎีเจเนอร์เรชั่น ได้แก่ กลุ่มเบบี้บูมเมอร์ส คือ 49 ปี ขึ้นไป กลุ่มเจนเนอร์เรชั่นเอ็กซ์ คือ 32 – 48 ปี และเจนเนอร์เรชั่นวาย ช่วงอายุ 16 – 31 ปี ซึ่งต้องเคยเห็นและรู้จักการทา การตลาดแบบ Viral Marketing จา นวนรวมทั้งหมด 400 คน ผลการวิจัยพบว่า เป็นชาย และหญิง กลุ่มละ 200 คน คิดร้อยละ 50 ต่อกลุ่มเท่ากัน ผู้ที่มีอายุมากที่สุดคือ 63 ปี และน้อยที่สุด 16 ปี กลุ่มตัวอย่างอายุเฉลี่ยที่ 38.36 ปี เป็นเจเนอร์ชั่นเอ็กซ์ 134 คน และเจเนอร์เรชั่นวาย และเบบี้บูมเมอร์ส กลุ่มละ 133 คน จำนวนเท่ากัน ระดับการศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับปริญญาตรี และเป็นพนักงานบริษัท รายได้ต่อเดือนส่วนใหญ่อยู่ที่ 20,001 – 30,000 บาท การเปิดรับสื่อ Viral Marketing ตามประเภทของสื่อภาพรวมมีการเปิดรับในระดับปานกลาง โดยสื่อ Facebook กับ Youtube เป็นสื่อที่มีการเปิดรับมากการเปิดรับสื่อ Viral Marketing ตามพฤติกรรมการเปิดรับ พบว่าภาพรวมมีการเปิดรับมาก ทัศนคติที่มีต่อการทา Viral Marketing พบว่าภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติเกี่ยวกับการทา Viral Marketing อยู่ในระดับดีมากแต่ทัศนคติของสินค้าที่ทา Viral Marketing พบว่าภาพรวมของกลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติกับสินค้าที่ทา Viral Marketing ปานกลางผลกระทบจาก Viral Marketing ต่อการตัดสินใจซื้อและบอกต่อ ของกลุ่มเป้ าหมายพบว่าภาพรวมนั้นมีผลกระทบอยู่ในระดับปานกลาง คือ มีทั้งกลุ่มที่ตัดสินใจซื้อและบอกต่อจา นวนเท่าๆ กัน จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดที่ได้รับสื่อ Viral Marketing |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557 |
Subject(s): | ผู้บริโภค
การตลาดแบบไวรัส |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 163 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3331 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|