• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

LoginRegister

การนำโทษปรับทางปกครองมาใช้กับกฎหมายภาษีโรงเรือนเเละที่ดิน

by ทวีสรรพ์ พัดทอง

Title:

การนำโทษปรับทางปกครองมาใช้กับกฎหมายภาษีโรงเรือนเเละที่ดิน

Other title(s):

Application of Administrative Fine on the Implementation for Building and Land Tax Law

Author(s):

ทวีสรรพ์ พัดทอง

Advisor:

บรรเจิด สิงคะเนติ

Degree name:

นิติศาสตร์มหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะนิติศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2014

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

โดยที่ภาษีโรงเรือนเเละที่ดินจัดเป็นรายได้ที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นภาษีที่ประเมินโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งกฎหมายได้กำหนดหน้าที่ให้ผู้รับประเมิน ผู้เช่า ผู้ครองทรัพย์สินมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี เเละการให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบเเละประเมินภาษี โดยมีบทลงโทษทางอาญาไว้ลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือไม่ให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก โดยมีอัตราโทษต่ำมาก คือ โทษปรับสูงสุดกำหนดให้ปรับได้ไม่เกิน 200 บาท หรือ 500 บาท จึงไม่ก่อให้เกิดความเกรงกลัวเเละเป็นเหตุให้มีการหลีกเลี่ยงการประเมินภาษีหรือเพื่อที่จะได้ชำระต่ำกว่าที่ควรจะต้องเสีย ประกอบกับการจะลงโทษตามกฎหมายภาษีโรงเรือนเเละที่ดินไม่ได้ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่เปรียบเทียบคดีได้เอง ต้องส่งให้พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบคดี เเละหากไม่ชำระค่าปรับก็ต้องดำเนินการฟ้องคดีเพื่อมให้ศาลมีคำพิพากษา ซึ่งมีขั้นตอนที่ยุ่งยากต้องใช้เวลาในการพิจารณาลงโทษผู้กระทำผิดล่าช้าเกินสมควร ในทางปฏิบัติหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่จัดเก็บภาษีโรงเรือนเเละที่ดินเลือกที่จะไม่นำโทษอาญามาบังคับใช้ ทำให้การบังคับใช้กฎหมายขาดประสิทธิภาพ ปัจจุบันได้มีการนำโทษปรับทางปกครองมาใช้ลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือละเลยหรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดหรือตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ทั้งในระบบกฎหมายต่างประเทศ เเละในระบบกฎหมายไทย เนื่องจากมีกระบวนการขั้นตอนที่เรียบง่าย มีผลบังคับใช้ทันที โดยให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองมีอำนาจลงโืทษผู้กระทำผิดไ้ด้เองเพื่อประโยชน์แห่งการจัดเก็บภาษี
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอเเนวทางการทำโทษปรับทางปกครองมาใช้กับกฎหมายภาษีโรงเรือนเเละที่ดิน เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายในการประเมินเเละจัดเก็บภาษีโรงเรือนเเละที่ดินมีประสิทธิภาพเเละประสิทธิผลมากขึ้น โดยการนำโทษปรับทางปกครองมาใช้แทนโทษอาญาสำหรับการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายชัดเจน รวมทั้งกำหนดเพิ่มโทษปรับรายวันตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ละเลยหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายได้รับการลงโทษโดยทันทีที่กระทำความผิด เกิดความเกรงกลัว เเละไม่ฝ่าฝืนกฎหมาย ทำให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถนำมาตรการบังคับทางปกครองโดยยึด อายัด เเละขายทอดตลาดทรัพย์สินตามกฎหมาย วิธีปฏิบัติราชการทางการปกครองมาใช้บังคับได้ด้วย โดยการบัญญัติเพิ่มบทลงโทษผู้รับประเมิน ผู้เช่า หรือผู้ครองทรัพย์สินที่ไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่้อเสียภาษีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 19 ต้องระวางโทษปรับทางปกครองไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท เเละปรับอีกวันละไม่เกินห้าร้อบบาทตลอด เวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง โดยให้เป็นอำนาจของผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งผู้บริหารท้องถิ่นมอบหมายในการกำหนดค่าปรับ เเละการเปลี่ยนโทษทาญาเป็นโทษปรับทางปกครอง กรณีผู้รับประเมิน ผู้เช่า หรือผู้ครองทรัพย์สินที่ละเลยไม่กรอกรายการในแบบพิมพ์ตามมาตรา 20 หรือไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกตามมาตรา 22 ต้ีองระวางโทษปรับทางปกครองไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท เเละปรับอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง โดยให้เป็นอำนาจของผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งผู้บริหารท้องถิ่นมอบหมายในการกำหนดค่าปรับ เพื่อมิให้มีการฝ่าฝืนกฎหมายหรือยินยอมที่จะปฏิบัติให้ถูกต้องโดยเร็ว โดยมีข้อเสนอในการพิจารณาเพื่อให้การออกคำสั่งลงโทษปรับทางปกครองจะต้องเป็นผู้ที่มีอำนาจในการลงโทษปรับทางปกครอง เเละต้องดำเนินการเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องครบถ้วน ว่ามีการฝ่าฝืนกฎหมายภาษีโรงเรือนเเละที่ดินที่มีโทษปรับทางปกครอง โดยคำสั่งลงโทษปรับทางปกครองควรทำเป็นหนังสือ เเละปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 36 เเละมาตรา 37 เเละการกำหนดค่าปรับทางปกครองต้องสมควรแก่เหตุโดยคำนึงถึงความเสียหายฐานะ รายได้ เเละพฤติการณ์แห่งกรณี นอกจากนี้ควรต้องเตรียมความพร้อม เพื่อให้การบังคับใช้โทษปรับทางปกครองมีประสิทธิภาพ เเละเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยการสัมมาเกี่ยวกับแนวทางการกำหนดโทษให้เหมาะสมเเละได้สัดส่วนกับผู้กระทำความผิด การจัดอบรมเกี่ยวกับการพิจารณาโทษปรับทางปกครอง เเละจัดตั้งหน่วยงานที่มีอำนาจในการปรับเเละการบังคับโทษปรับทางปกครองให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เเละการเสนอให้คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการปกครองออกระเบียบกลางว่าด้วยการปรับ เเละการบังคับโทษปรับทางปกครอง เพื่อให้หน่วยงานใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน

Description:

วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557

Subject(s):

กฎหมายที่ดิน
ภาษี

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

152 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Access rights:

สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเอกสารฉบับเต็ม เฉพาะ นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เท่านั้น

Rights holder(s):

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3332
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
ba185713.pdf ( 8,400.03 KB )

This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Theses [98]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

‹›×