การเปิดเสรีในกรอบของอาเซียนด้านการท่องเที่ยวที่ไทยต้องเผชิญ: กรณีศึกษาผู้ประกอบการนำเที่ยวเเละวิชาชีพมุคคุเทศก์ในประเทศไทย
Publisher
Issued Date
2014
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
145 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
ba185723
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ดวงเดือน ตันติเวชกุล (2014). การเปิดเสรีในกรอบของอาเซียนด้านการท่องเที่ยวที่ไทยต้องเผชิญ: กรณีศึกษาผู้ประกอบการนำเที่ยวเเละวิชาชีพมุคคุเทศก์ในประเทศไทย. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3337.
Title
การเปิดเสรีในกรอบของอาเซียนด้านการท่องเที่ยวที่ไทยต้องเผชิญ: กรณีศึกษาผู้ประกอบการนำเที่ยวเเละวิชาชีพมุคคุเทศก์ในประเทศไทย
Alternative Title(s)
Liberalization in ASEAN framework agreement of tourism service Thailand has to face : a case study of tourism and tour guides professional entrepreneurs in Thailand
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ(General Agreement on Trade in services) ได้กำหนดให้ประเทศสมาชิดมีการเจรจา เพื่อลดหรือยกเลิกกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการเปิดเสรีการค้าบริการ ตามหลักการเปิดเสรีก้าวหน้าตามลำดับ(Progressive Liberalization)เเละกรอบความตกลงด้านการค้าบริการ หรือ ASEAN Framework Agreement on Service (AFAS) เป็นอีกกรอบกติกาเกี่ยวกับการเปิดเสรี เพื่อให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเปิดเสรีตามเป้าหมายให้เป็นไปตาม AEC Blueprint ที่ประเทศสมาชิกมีความเห็นชอบร่วมกัน
การที่ประเทศไทยมีการคมนาคมที่สะดวก มีภูมิประเทศที่สวยงามเเละมีอาณาเขตติดกับประเทศเพื่อนบ้าน จึงเป็นความได้เปรียบในด้านการท่องเที่ยว ไทยได้ผูกพันการเปิดเสรีกาาค้าบริการสาขาต่างๆ รวมถึงสาขาการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นสาขาเร่งรัดในขณะนี้ นอกจากนั้นการท่องเที่ยวถือเป็นการค้าบริการที่เป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้เป็นอันดับต้นๆของประเทศ เพราะการท่องเที่ยวก่อให้เกิดการจ้างงาน เเละเกี่ยวข้องกับธุรกิจบริการหลายสาขา เช่น ธุรกิจโรงเเรม ร้านอาหาร การขนส่ง โทรคมนาคมฯลฯ นับเป็นรายได้จำนวนมหาศาลให้แก่ประเทศไทย
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงพันธกรณีในการเกิดเสรีการค้าบริการ ภายในกรอบความตกลงว่าด้วยการค้าบริการของอาเซียน AFAS ตลอดจนกฎเกณฑ์ภายในของประเทศไทยเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจท่องเที่ยวของคนต่างด้าว เเละการให้คนต่างด้าวเข้ามาให้บริการเป็นมุคคุเทศก์อาชีพโดยเสรี ประเทศไทยได้ปฏิบัติตามพันธกรณีโดยเปิดโอกาสอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาประกอบธุรกิจท่องเที่ยวได้ เเละประเทศสมาชิดต่างๆได้มีการทยอยเปิดตลาดให้เเก่กันเป็นรอบๆซึ่งจะเปิดในระดับที่สูงขึ่้นโดยไม่มีการบังคับขึ้นอยู่กับความพร้อมเเละความสมัครใจของเเต่ละประเทศสมาชิกให้เป็นไปตามข้อตกลงยอมรับร่วมกันในคุณสมบัติ(Mutual recognition Arrangement : MRA)
จากการศึกษาถึงกฎเกณฑ์ภายในของประเทศไทยในการเปิดเสรีการค้าบริการสาขาการท่องเที่ยวตามความตกลงดังกล่าวนัี้น เป็นเพียงการเปิดตลาดแบบมีเงื่อนไข ดังนั้นนอกจากประเทศไทยจะต้องปฏิบัติตามพันธกรณีที่มีเเล้วนั้น ยังจะต้องมีการแก้ไขกฎหมายอีกด้วย เช่น แก้ไขพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวเเละมัคคุเทศก์ พ.ศ.2554 ในมาตรา 16 มาตรา 17 เเละมาตรา 50 ในส่วนของคุณสมบัติผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว เเละการเป็นมัคคุเทศก์ ประกอบกับพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพเเละวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ. 2522 ที่กำหนดให้อาชีพมัคคุเทศก์เป็นอาชีพสงวนสำหรับคนไทยเท่านั้น การแก้ไขพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 โดยอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาประกอบธุรกิจนำเที่ยวในประเทศไทยได้มากขึ้น เเละเนื่องจากประเทศไทยมีพันธกรณีในการเปิดเสรีการค้าบริการเพื่อให้เพิ่มมากขึ้นกว้าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันตามหลักการเปิดเสรีก้าวหนเาตามลำดับ การวางมาตรการยอมรับร่วมกันในคุณสมบัติ MRA ของผู้่ประกอบธุรกิจทำเที่ยวเเละวิชามัคคุเทศก์ เพื่อให้มีการควบคุมดูแลเเละใช้มาตรฐานที่ดีร่วมกันในอาเซียน มากกว่าที่จะสร้างเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาประกอบอาชีพในประเทศไทย โดยควรทำการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวทั้งศักยภาพด้านภาษาเเละมาตรฐานในการให้บริการ ตลอดจนพัฒนาคุณสมบัติด้านการศึกาาของผู้ประกอบวิชาชีพดังกล่าวให้มีความเป็นสากล
การที่ประเทศไทยมีการคมนาคมที่สะดวก มีภูมิประเทศที่สวยงามเเละมีอาณาเขตติดกับประเทศเพื่อนบ้าน จึงเป็นความได้เปรียบในด้านการท่องเที่ยว ไทยได้ผูกพันการเปิดเสรีกาาค้าบริการสาขาต่างๆ รวมถึงสาขาการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นสาขาเร่งรัดในขณะนี้ นอกจากนั้นการท่องเที่ยวถือเป็นการค้าบริการที่เป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้เป็นอันดับต้นๆของประเทศ เพราะการท่องเที่ยวก่อให้เกิดการจ้างงาน เเละเกี่ยวข้องกับธุรกิจบริการหลายสาขา เช่น ธุรกิจโรงเเรม ร้านอาหาร การขนส่ง โทรคมนาคมฯลฯ นับเป็นรายได้จำนวนมหาศาลให้แก่ประเทศไทย
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงพันธกรณีในการเกิดเสรีการค้าบริการ ภายในกรอบความตกลงว่าด้วยการค้าบริการของอาเซียน AFAS ตลอดจนกฎเกณฑ์ภายในของประเทศไทยเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจท่องเที่ยวของคนต่างด้าว เเละการให้คนต่างด้าวเข้ามาให้บริการเป็นมุคคุเทศก์อาชีพโดยเสรี ประเทศไทยได้ปฏิบัติตามพันธกรณีโดยเปิดโอกาสอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาประกอบธุรกิจท่องเที่ยวได้ เเละประเทศสมาชิดต่างๆได้มีการทยอยเปิดตลาดให้เเก่กันเป็นรอบๆซึ่งจะเปิดในระดับที่สูงขึ่้นโดยไม่มีการบังคับขึ้นอยู่กับความพร้อมเเละความสมัครใจของเเต่ละประเทศสมาชิกให้เป็นไปตามข้อตกลงยอมรับร่วมกันในคุณสมบัติ(Mutual recognition Arrangement : MRA)
จากการศึกษาถึงกฎเกณฑ์ภายในของประเทศไทยในการเปิดเสรีการค้าบริการสาขาการท่องเที่ยวตามความตกลงดังกล่าวนัี้น เป็นเพียงการเปิดตลาดแบบมีเงื่อนไข ดังนั้นนอกจากประเทศไทยจะต้องปฏิบัติตามพันธกรณีที่มีเเล้วนั้น ยังจะต้องมีการแก้ไขกฎหมายอีกด้วย เช่น แก้ไขพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวเเละมัคคุเทศก์ พ.ศ.2554 ในมาตรา 16 มาตรา 17 เเละมาตรา 50 ในส่วนของคุณสมบัติผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว เเละการเป็นมัคคุเทศก์ ประกอบกับพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพเเละวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ. 2522 ที่กำหนดให้อาชีพมัคคุเทศก์เป็นอาชีพสงวนสำหรับคนไทยเท่านั้น การแก้ไขพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 โดยอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาประกอบธุรกิจนำเที่ยวในประเทศไทยได้มากขึ้น เเละเนื่องจากประเทศไทยมีพันธกรณีในการเปิดเสรีการค้าบริการเพื่อให้เพิ่มมากขึ้นกว้าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันตามหลักการเปิดเสรีก้าวหนเาตามลำดับ การวางมาตรการยอมรับร่วมกันในคุณสมบัติ MRA ของผู้่ประกอบธุรกิจทำเที่ยวเเละวิชามัคคุเทศก์ เพื่อให้มีการควบคุมดูแลเเละใช้มาตรฐานที่ดีร่วมกันในอาเซียน มากกว่าที่จะสร้างเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาประกอบอาชีพในประเทศไทย โดยควรทำการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวทั้งศักยภาพด้านภาษาเเละมาตรฐานในการให้บริการ ตลอดจนพัฒนาคุณสมบัติด้านการศึกาาของผู้ประกอบวิชาชีพดังกล่าวให้มีความเป็นสากล
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557